วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิธีทดสอบความเก๋าของ Anti-Virus ในเครื่อง

วิธีทดสอบความเก๋าของ Anti-Virus ในเครื่อง
1. เปิดโปรแกรม NotePad ขึ้นมา (ไว้ที่หน้าจอ Desktop จะสะดวกสุด)
2. Copy โค้ดด้านล่างไปใส่ใน NotePad
X5O!P%@AP[4\PZX54(P^)7CC)7}$EICAR-STANDARD-ANTIVIRUS-TEST-FILE!$H+H*
3. Save เป็นชื่อ virus.com
ถ้าใคร Save แล้วโปรแกรม Anti-Virus คุณเตือนแสดงว่า "ยังเก๋า" อยู่
4. แล้วลองรันดู
ถ้า Anti-Virus ไม่แจ้งว่าเป็นไวรัสก็แสดงว่า ถึงเวลาเปลี่ยน Anti-Virus เพราะว่ามันไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการตรวจจับ

ปล. วิธีนี้ไม่มีอันตรายกับเครื่องครับ เพราะมันเป็นวิธีทดสอบ Anti-Virus ของ เราเท่านั้น ไม่ใช่ไวรัสจริงๆ

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Blog 4/3

นายเทพปรีชา  นนท์สะเกตุ
นายประธาน   ประเสริฐศิริ
นางสาวจันทร์ฉาย  นามบรรหา
นางสาวสุลัดา  โยนอก
นายกฤษณะ   ถานโอฬาร
นายบุญชัย   ศักดิ์ดา
นายอาทิตย์   งามแสง
นายอดิศักดิ์   หมู่แสนกอ
นางสาวชรินรัตน์  สิงห์วงค์  http://charinrut.blogspot.com/
นางสาวพัชรา  นารถชมสา
นางสาวสงกรานต์  พรมภักดิ์
นายอานนท์   คะแก้ว
นางสาวกันทิมา  วงศ์บุราณ
นายพงศธร    พิมพ์ลุน
นางสาวจีระยา  แตงชัยภูมิ
นางสาวปิยนันท์  สอนสูญ
นางสาวมนทิรา  ลามทุม
นางสาววรรณภา  เพชรนาค
นางสาวรุ่งนภา  บุตรดา http://runghapha.blogspot.com/
นายคำรณ  เหล่านายอ
นายชัยโย  เพียรภายลุน
นายนันทวัฒน์  ปราศัยงาม
นายพงศ์ดนัย  กิ่งพรมภู
นายวรชน  ตาลทรัพย์
นายวรพจน์   ศักดิ์ดา
นายศักดาวุธ  ลมพัด
นายศักดิ์สิทธิ์  คนขำ
นายศิริศักดิ์   ทับส่ง
นายสถาพร   แก้วอุดร
นายสุระศักดิ์    จานศรีเพ็ง
นายอดุลวิทย์   ตรงดี
นางสาวนฤมล  ชาวหา http://fasai0807539076.blogspot.com/
นางสาวเวนุการ์  จันทองพะเนาว์
นางสาวณฤทัย  นาศิริ
นางสาวอริสา   ชะนะบุตร
นางสาววิภาภรณ์  ทับทิม

Blog 4/2

นายอัครพล  สุมาลี
นางสาวสุธิดา ชาศรี
นางสาวอรัญญา  คันธารส
นางสาวรุ่งระวี  โสมประโคน
นายพันธ์ศักดิ์  แก้วศรี
นายอัฐพล  คำผาย
นางสาวเด่นนภา  พรประทาน  http://domonpopplaygmailcom.blogspot.com/
นางสาวปรารถนา โทรัตน์  http://www.bowling-023enhotmailcom.blogspot.com/
นายสมพร   มนทะการ
นางสาวปิยพร  จันผาย
นางสาวลัดดาพร  น้ำแก้ว
นางสาวชาลีรัตน์  เลิศล้ำ http://do47.blogspot.com/
นางสาวทิพย์เกษร  เทียมกลาง  http://domonteenedragon.blogspot.com/
นายคาลวี  แสนสุริวงศ์
นายสันติภาพ  พลเยี่ยม
นายอุทัย  สีงาม  http://uthai-pong.blogspot.com/
นางสาวกรรณิการ์  อรกุล
นางสาวจันทร์จิรา  ลามทุม
นางสาวจันทร์ทะนา  ฮังโยธา  http://cat4944.blogspot.com/
นางสาวจิรภา      เตโซ
นางสาวจุฑาพร  น้อยสุวรรณ http://fern-25531.blogspot.com/
นางสาวจุฬา  นารถชมสา
นางสาวตะวันฉาย  ชมชื่น http://tawanshinegoonggi.blogspot.com/
นางสาวนิชนันทน์  ชีด้าม http://nichanan38.blogspot.com/
นางสาวพรศิริ  หลินภู
นางสาวภัสวรรณ  ยอแสง
นางสาวมนฤดี  กาวี http://monruedee83-monruedee83.blogspot.com/
นางสาวรัชนีกร  ดวงปากดี  http://domedan.blogspot.com/
นางสาววาสนา  หลินภู
นางสาววิภาวรรณ  วงเวียน
นางสาววีนัส  ชมพูวิเศษ
นางสาวศุภารัตน์  เชียงพรม
นางสาวสาวิตรี  สุวรรณ์นคร http://sawitree15hotmailcom.blogspot.com/
นางสาวสุดาวัลย์  วรรณเสน
นางสาวสุภัคษร  โถคำนาม  http://tonaor16.blogspot.com/
นางสาวสุมิตรา  หลินภู
นางสาวอรอุมา  ชีแพง  http://aonuma444.blogspot.com/
นางสาวอัญชาณา  แสงมืด

วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Blog 4/1

นายยุทธชัย หาไชย http://mememejung.blogspot.com
นายสุดที่รัก โพพนม www.tiruk15.blogspot.com
นางสาวกรรณิการ์ ฤทธฺิรุ่ง www.Jukkaduy.blogspot.com
นางสาวนิตยา ศรีสิงห์ www.tangnaruk13.blogspot.com
นางสาวนุสบา ครุฑสุวรรณ www.nutsba.blogspot.com
นางสาวปัทมวรรณ ชีด้าม www.Patama13.blogspot.com
นางสาวพลับพลึง สังสนา www.newyear7139.blogspot.com
นางสาวสุชาดา โจ๊ะประโคน www.Dajung2010.blogspot.com
นางสาวอรุณรัตน์ ใหมคำ www.poopae678.blogspot.com
นายอภิลักษณ์ หม่อมพะเนาว์ www.Zoo-Ruk.blogspot.com
นางสาวกลรัตน์ เมืองศรี www.korhyper52.blogspot.com

นางสาวประภัสสร ยาทองไชย www.praputson2.blogspot.com
นางสาวพรวิมล นามโต www.Namtho999.blogspot.com
นางสาววาสนา สันทัน www.Santan9899.blogspot.com
นางสาวเสาวลักษณ์ คำผุย www.Swlkkhampui.blogspot.com
นายอภิสิทธฺิ์์์์ บัวชิต www.apisit-loveyou.blogspot.com
นางสาวจันทร์มณี จรัสแสง www.Koonstitchclub.blogspot.com
นางสาวจิตหทัย แดนรักษ์ www.Thaicok.blogspot.com
นางสาวประภัสสร งามแสง www.Tungtonnalove.blogspot.com
นางสาวพิมพ์ภัค ไกรเกียรติสกุล www.Pimpakk486.blogspot.com
นางสาวสุภาพร เพ็ชรไชย www.petchai222.blogspot.com
นางสาวสุภาลัย วงไชยา www.kimhyonjung.blogspot.com
นางสาวสุรัสวดี โมครัตน์ www.surut16.blogspot.com
นางสาววรรณพร ตั้งซุยยัง http://forgetmenot-fernway.blogspot.com/
นางสาวเกวลิน ศรีทิน www.sorry-lin.blogspot.com
นางสาวมินตรา ชีด้าม www.Mintra-abnormal.blogspot.com
นางสาวเสาวลักษณ์ หาไชย www.DowandMak.blogspot.com
นางสาวอารดา แฮนหลุน www.Cheesekra.blogspot.com

นางสาวสุภาพร โถชัยคำ http://www.aeandtomo.blogspot.com/
นางสาวขวัญใจ พรหมพิมพ์ www.pigredclub14.blogspot.com
นางสาวปฏิญญา แฮนหลุน http://piew88.blogspot.com/
นางสาวกัญญาวีร์ หลินภู www.tukinpo.blogspot.com
นางสาวจริยา ซีด้าม www.Toulex.blogspot.com
นางสาวณัฐพร ลอยพิลา www.loypila.blogspot.com
นางสาวสมพร เรืองจรัส http://www.kapuknang.blogspot.com/
นางสาวอมรรัตน์ วรพงษ์ http://may-rrhung.blogspot.com/
นายอธิวัฒน์ เปล่งศรี www.Bigbody11.blogspot.com

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เที่ยวเขื่อน::เขื่อนคอนกรีตบดอัดยาวที่สุดในประเทศไทยและในโลก



เขื่อนขุนด่านปราการชล
เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากที่เกิดกับประชาชนชาวนครนายก
และจังหวัดใกล้เคียง
ตัวเขื่อน ประกอบด้วยเขื่อนหลักและเขื่อนรองสร้างด้วยคอนกรีตบดอัด ปัจจุบันเป็น เขื่อนคอนกรีตบดอัดที่มีความยาว
ที่สุดในโลก มีความยาวรวม 2,593 เมตร ความสูง ( สูงสุด ) 93 เมตร

รับน้ำที่ไหลจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผ่านน้ำตกเหวนรกลงสู่อ่างเก็บน้ำมีความจุ 224 ล้าน ลบม.
ประโยชน์ มีน้ำในการทำเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค แก้ปัญหาดินเปรี้ยว เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และบรรเทาอุทกภัย
เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนครนายก นักท่องเที่ยวสามารถชมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้จากบริเวณสันเขื่อน จะเห็นทิวทัศน์ด้านหน้าเขื่อน และชมทิวทัศน์เมืองนครนายกด้านหลังเขื่อน
คุณค่า เขื่อนขุนด่าน ฯ สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเป็นสิ่งก่อสร้างหนึ่งที่แสดงถึง พระมหากรุณาธิคุณ ที่มีต่อพสกนิกรชาวนครนายกและชาวไทย
โครงการแก่งเทียมเพื่อการท่องเที่ยวและกีฬา และเป็นสนามสลาลอมนานาชาติ
เป็นแห่งเดียวในภูมิภาคนี้ สร้างกิจกรรมท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบกา ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครนายก เพิ่มขึ้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
งานประชาสัมพันธ์สำนักงานก่อสร้าง 5 (โครงการท่าด่าน) (แผนที่ไปเขื่อน)
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพ ฯ ( ทางหลวงหมายเลข 305 หรือ 33) – นครนายก – (น้ำตกนางรองใช้ถนนหมายเลข 3049) – ผ่านอุทยานวังตะไคร้ – เลี้ยวขวาเข้าถนนสู่ตัวเขื่อน
รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพ ฯ – นครนายก มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (ถนนกำแพงเพชร 2) ทุกวัน สอบถามได้ที่ โทร .0-2936-3660, 0-2936-3666
เปิดให้ขึ้นชมบริเวณสันเขื่อนตั้งแต่เดือนเมษายน 48
เขื่อนขุนด่านฯ ตู้ ปณ. 4 ต.หินตั้ง อ.เมือง นครนายก 26000
โทรศัพท์ 0 3738 4208-9 โทรสาร 0 3738 4210

เขื่อนขุนด่านปราการชล
เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2549 ครบรอบ 5 ปี วางศิลาฤกษ์เขื่อนคลองท่าด่านและวโรกาส
ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทาน ชื่อเขื่อนคลองท่าด่าน “ เขื่อนขุนด่านปราการชล ”
กับมีพระกระแสให้ติดป้ายโลหะจารึกประวัติของขุนหาญพิทักษ์ไพรวัน ณ บริเวณเขื่อน เพื่อเชิดชูเกียรติคุณ
ให้ปรากฏนับเป็น พระมหากรุณาธิคุณยิ่งแก่กรมชลประทาน และชาวจังหวัดนครนายก ขอพระองค์ทรงมี
พระชนม์พรรษายิ่งยืนนาน ป็นมิ่งขวัญของปวงประชาตลอดกาล
เขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นชื่อพระราชทานที่ได้นำตำนานเจ้าพ่อขุนด่านในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา
แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อพม่าบุกไทยชาวเขมรลักเสบียง รังแกคนไทย หัวหน้าที่ชาวบ้านเรียกว่าขุนด่าน
จะใช้ม้าเร็วรับส่งข่าวรายงานไปยังกรุงศรีอยุธยา
ภายหลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศอิสรภาพจากพม่าพระยาละแวกตีตลบ หลังไทยกวาดต้อน
ขนทรัพย์สินมีค่าไปเมืองเขมร ขุนหาญพิทักษ์ไพรวันหรือขุนด่านทราบข่าวกองทัพเขมรจะตีนครนายก
ได้รวบรวมคนไทยซุ่มรอคอยโจมตี ทัพพระยาละแวกอย่างห้าวหาญ จนทัพเขมรแตกพ่ายไป
ต่อมาเมื่อขุนด่านถึงแก่อนิจกรรม ชาวบ้านได้ร่วมใจสร้างศาลาประดิษฐานอัฐิไว้ ณ บริเวณเขาชะโงก
ตำบลพรหมณี อ.เมือง จ.นครนายก ปัจจุบันเป็นโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ
เกียรติคุณขุนด่านที่เล่าขานกันตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาจะจารึกไว้ในความทรงจำชั่วลูกหลานให้ระลึกถึง
คุณงามความดีของท่านตราบนานเท่านานไว้ที่เขื่อนขุนด่านปราการชล เสมือนเป็นกำแพงคอนกรีต
ปรากฏการมหึมา ความยาว 2549 เมตร สูง 93 เมตร ขวางกั้นลำคลองท่าด่านที่มีน้ำไหลเข้ามา
เก็บกักได้ถึง 224 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อการชลประทานให้กับการเกษตรกรรมใน พื้นที่ 185 ,000 ไร่
และการท่องเที่ยว ซึ่งในอนาคต เศรษฐกิจของจังหวัดนครนายกจะรุ่งเรืองเจริญก้าวหน้า สร้างรายได้
แก่ชุมชน มีชื่อเสียงแพร่กระจายเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

"ฮาร์วาร์ด" ซิวแชมป์มหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลก "ไทย" ชวดไม่ติด 500 อันดับแรก

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า รายงานการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลกประจำปี 2010 (ARWU) ระบุว่า มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ยังคงครองแชมป์มหาวิทยาลัยของโลก เป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ  แต่ก็แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยของจีนกำลังปรับตัวดีขึ้น


แอนเนนเบิร์ก ฮอลล์, มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด

รายงาน ARWU ซึ่งมีการเผยแพร่ โดยศูนย์การประเมินมหาวิทยาลัยระดับโลกของมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียวถง นับตั้งแต่ปี 2003 ระบุว่า สหรัฐฯ มีจำนวนมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับโลกมากที่สุด โดยมีมหาวิทยาลัย 8 แห่ง ติดอันดับท็อปเท็น และอีก 54 แห่ง อยู่ใน 100 อันดับแรก
มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ที่ติด 10 อันดับแรกของมหาวิทยาลัยโลก นอกเหนือจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์, สแตนฟอร์ด, สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซ็ตต์, สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย, พรินซ์ตัน, โคลัมเบีย และชิคาโก ส่วนมหาวิทยาลัยเยล อยู่ในอันดับที่ 11


มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยของอังกฤษที่ติดอันดับที่ดีที่สุดคือ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งหล่นจากอันดับ 4 เมื่อปีที่แล้ว มาอยู่ที่อันดับ 5 ในปีนี้ และอ็อกซ์ฟอร์ดยังคงครองอันดับ 10 ขณะที่โดยรวมแล้วมหาวิทยาลัยของอังกฤษที่ติดอันดับ 500 อันดับแรกของโลก มีจำนวนลดลงมาอยู่ที่ 38 แห่ง จากเดิม 40 แห่ง
แต่จากการจัดอันดับดังกล่าว แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยในเอเชียได้ติดอันดับโลกมากขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัย 106 แห่ง จากภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค ที่ติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก 500 อันดับแรก
ขณะที่วิธีการจัดอันดับยังคงเหมือนเดิมนั้น มหาวิทยาลัยของจีนที่อยู่ในกลุ่ม 500 อันดับแรก ก็มีจำนวนสูงถึง 34 แห่งในปีนี้ ซึ่งมากกว่าเดิม 2 เท่าจากปี 2004 ซึ่งมีเพียงแค่ 16 แห่ง มหาวิทยาลัยเจียวถง ระบุในแถลงการณ์ฉบับหนึ่ง
มหาวิทยาลัยของจีนที่อยู่ใน 200 อันดับแรก ได้รวมถึง มหาวิทยาลัยปักกิ่ง, ซิงหัว และมหาวิทยาลัยไชนีส ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ฮ่องกง โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ก็ติดใน 200 อันดับด้วย


มหาวิทยาลัยปักกิ่ง

ทั้งนี้ ARWU ได้ใช้ปัจจัยชี้วัด 6 ประการ ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก ซึ่งรวมถึง จำนวนศิษย์เก่า และบุคลากรที่ได้รับรางวัลโนเบล, จำนวนนักวิจัยที่มีชื่อเสียง, จำนวนบทความที่มีการเผยแพร่และได้รับการระบุถึงในวารสารชั้นนำ และผลการเรียนต่อคนเทียบกับขนาดของมหาวิทยาลัย
การจัดอันดับดังกล่าว ซึ่งมีการประเมินมหาวิทยาลัยกว่า 1,000 แห่งในแต่ละปีนั้น จะให้ความสนใจอย่างมากต่อความสำเร็จในการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์


มหาวิทยาลัยโตเกียว

สำหรับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค มหาวิทยาลัยโตเกียวมีความโดดเด่นเช่นเคย โดยได้ครองอันดับที่ 20 อีกครั้ง ตามด้วยมหาวิทยาลัยเกียวโต ในอันดับที่ 24 อย่างไรก็ตาม การปรับตัวโดยรวมของญี่ปุ่นนับว่าแย่ลง โดยมีมหาวิทยาลัยเพียง 25 แห่ง ที่ติด 500 อันดับแรก ซึ่งลดลงจาก 31 แห่งในปีที่แล้ว
จากผลการสำรวจ ไม่พบว่ามหาวิทยาลัยใดๆของไทยติดอยู่ใน 500 อันดับแรกแต่อย่างใด

มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก 10 อันดับแรก

อันดับ            มหาวิทยาลัย                               ประเทศ

1                มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด                          สหรัฐอเมริกา
2                มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์        สหรัฐอเมริกา
3                มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด                       สหรัฐอเมริกา
4                สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซ็ตต์            สหรัฐอเมริกา
5                มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์                          สหราชอาณาจักร
6                สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย               สหรัฐอเมริกา
7                มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน                           สหรัฐอเมริกา
8                มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย                           สหรัฐอเมริกา
9                มหาวิทยาลัยชิคาโก                              สหรัฐอเมริกา
10              มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด                       สหราชอาณาจักร

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ด้วงกว่าง or แมงคาม


ลักษณะทางกายภาพ

แมลงกว่างหรือด้วงกว่างเป็น แมลงปีกแข็ง ตัวค่อนข้างใหญ่ ลักษณะคล้ายด้วงแรดมะพร้าว ลำตัวแข็งและนูน สีดำเป็นมัน รูปร่างรูปไข่ ขามีปล้องเล็กๆ 5 ปล้อง หนวดเป็นแบบแผ่นใบไม้ มี 3-4 ปล้อง ปล้องสุดท้ายมีลักษณะคล้ายใบไม้ 3-4 แผ่น รวม กันกลายเป็นลูกกลม จำนวนปล้องหนวดมีทั้งหมด 8 – 11 ปล้อง และตามผิวมีส่วนที่เป็นหนามใหญ่ ตัวผู้มีเขาใหญ่ยื่นตรงออกมาจากหัว ใช้สำหรับต่อสู้ศัตรู เมื่อพบศัตรู ซึ่งมักเป็นกว่างตัวผู้ด้วยกัน ก็จะเดินเข้าหากันใช้เขาดันกันไปมา ตัวไหนสู้ไม่ได้ก็ถอยไป ถือว่าเป็นฝ่ายแพ้ตัวอ่อน หรือตัวหนอน สีขาวตัวอ้วน ตัวงอเป็นรูปเหมือนตาขอ

แหล่งที่พบ

ด้วงกว่างอาศัยอยู่ในดิน กินมูลของซากพืชหรือซากสัตว์ ตัวหนอนด้วงอาศัยอยู่ในดิน ระยะแรกก็อยู่ตามเศษซากพืชทับถมในบริเวณที่ร่มที่มีความชื้นสูง ระยะถัดมาขุดดินฝังตัวอยู่ลึกประมาณ 7.5 – 15.0 เซนติเมตร ระยะหนอนด้วงใช้เวลาประมาณ 58 – 95 วัน มี 3 ระยะ คือ ระยะก่อนเข้าดักแด้ 3 – 6 วัน แล้วจึงลอกคราบเปลี่ยนเป็นดักแด้ ซึ่งในระยะนี้ใช้เวลา 11 – 14 วัน ต่อมาก็ออกเป็นตัวเต็มวัย ออกหากินในเวลาตั้งพลบค่ำเป็นต้นไป และพบมากในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันก็หลบซ่อนตัวอยู่ในดินมากกว่าที่อื่น ระยะตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียประมาณ 18 และ 28 วัน ตามลำดับ
ประโยชน์และความสำคัญ
ส่วนมากชาวบ้านนิยมนำด้วงกว่างมารับประทานโดยการจี่ ให้ด้วงกว่างมีความกรอบ แล้วนำมารับประทานกับข้าวเหนียว จ้ำน้ำพริก

วงจรชีวิตของกว่าง

กว่าง มีวงจรชีวิตประมาณ 1 ปี คือช่วงต้นฤดูฝน ในระยะที่เป็นตัวหนอนหรือ ตัวด้วงจะมีสีขาว ตัวโต มีความยาวประมาณ 5 - 6 เซนติเมตร และเส้นรอบวง ประมาณ 1 นิ้ว ในช่วงนี้จะอยู่ในดินชอบกินเศษใบไม้ผุ ตอไม้ หรือต้นไม้ที่ผุ เป็นการช่วยธรรมชาติใ นการย่อยสลายใบไม้ ต้นไม้ ให้กลายเป็นปุ๋ยแก่ดินได้เป็นอย่างดี

ต่อมากลายเป็นดักแด้ และตัวเต็มวัยเป็นวัยเจริญพันธุ์พร้อมสืบเผ่าพันธุ์ได้ ในช่วงที่เป็นตัวหนอนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 1 - 2 เดือน ก่อนที่จะถึงฤดูฝน เมื่อฝนตกลงมาทำให้ดินอ่อน ด้วงกว่างที่เจริญเติบโตเต็มที่ก็จะดันดินออกมาสู่โลกภายนอก เพื่อหาแหล่งอาหารใหม่ และเพื่อการผสมพันธุ์ กว่างตัวผู้ที่แข็งแรงเท่านั้นที่มีโอกาสรอดเพื่อการผสมพันธุ์ โดยกว่างจะต่อสู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย และฝ่ายที่ชนะก็จะได้รับรางวัลได้ผสมพันธุ์กับตัวเมีย เป็นการคัดเลือกสายพันธ์ที่ดีตามธรรมชาติ ใช้วงจรชีวิตช่วงนี้ประมาณ 4 เดือน พอเข้าในฤดูหนาว กว่างตัวเมียหลังจากผสมพันธุ์ ก็จะขุดดินแล้ววางไข่ ส่วนตัวเองก็จะตาย ไข่ก็ฟักเป็นตัวหนอน เป็นดักแด้อาศัยอยู่ใต้ผิวดิน จนถึงต้นฤดูฝนก็จะขุดดินขึ้นมาผสมพันธุ์ดำรงชีวิตสืบลูกหลานต่อไป

ข้อมูลการเลี้ยง
วัสดุอุปกรณ์การเลี้ยง 
1.กล่องพลาสติกหรือตู้ปลาเก่าๆสภาพพอใช้ที่มีฝาปิดสักหนึ่งใบ (ควรสูงอย่างน้อย1ฟุตและกว้างอย่างน้อย6นิ้วกำลังดี)
2.
ดินก้ามปู หรือจะใช้ไม้บดสูตรเฉพาะสำหรับเพาะด้วงกว่างซึ่งผลิตขึ้นจากวัตถุดิบจากธรรมชาติซึ่งตรงนี้ทางเว็ปของเรามีบริการท่านอยู่ 
3.
ท่อนไม้หรือเปลือกไม้ชิ้นเล็กๆสักอันไว้ให้ด้วงเกาะ(หากด้วงหงายตัวไม่ได้ก็จะดิ้นจนตาย)  
 
 

ขั้นตอนการเพาะ
1.
นำดินก้ามปูหรือ วัสดุรองพื้นมาผสมน้ำเล็กน้อย เอาให้ชื้นให้แฉะเพียงเล็กน้อย
2.
แบ่งตู้เพาะเลี้ยงเป็น2ชั้น โดยชั้นแรกให้อัดวัสดุปูพื้นจนแน่นให้หนาประมาณ8 - 10 เซนติเมตร และชั้นที่2ก็ปูวัสดุปูพื้นตามปกติโดยให้สูง3 - 4 นิ้ว 
3.
นำเปลือกหรือขอนไม้มาวางไว้ตรงส่วนกลางของตู้เพื่อให้ด้วงเกาะ
4 .
จากนั้นจึงปล่อยพ่อ - แม่พันธุ์ลงไป
5. 
จากนั้นคอยสังเกตดูทุกๆ17 - 25 วันรอดูว่ามีหนอนตัวเล็กๆอยู่ในตู้หรือไม่โดยปกติแล้วพวกหนอนจะอาศัยกินวัสดุปูพื้นหรือไม้บดอยู่บริเวณส่วนล่างสุดของตู้เพาะ    
 

การให้อาหาร 
     โดยปกติแล้วจะให้อ้อยแต่การปลอกอ้อยที่ดีนั้นผมเองผมแนะนำว่าให้ตัดแค่หัวกับปลายเท่านั้นเพราะถ้าปลอกหมดมดขึ้นแน่หรือไม่ก็เก็บไว้ได้ไม่นานเพราะโดยปกติแล้วสังเกตุไหมครับว่าแค่ปลอกทิ้งไว้5วัน จะมีสีส้มๆหรือราขึ้นแต่วิธีตัดหัวกับปลายจะช่วยประหยัดอาหารไปอีกนิดหน่อย แต่ก็ถือว่าเป็นการดีเพราะถึงจะยืดเวลาการใช้อ้อยจากเดิมไปได้ไม่นานก็จริง แต่!!! ก็ลดเงินค่าอาหารด้วงไปได้อีกเยอะพอสมควร           
 

เลี้ยงแบบเรียนรู้ทำได้อย่างไร 
การเลี้ยงด้วงที่ดีผู้เลี้ยงควรมีการจดบันทึกระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงของวงจรชีวิตด้วงตั้งแต่ 
ระยะตัวเต็มวัย > ไข่ตัวหนอน > ดักแด้ > ตัวเต็มวัยรุ่นต่อไป 

ข้อควรจำสำหรับการเลี้ยงด้วง
1.การได้หนอนของมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยเป็นตัวกำหนด เช่น สภาพอากาศ อุณหภูมิ วิธีการเลี้ยงดู
2.ด้วงที่เกิดจากครอกเดียวกันไม่ควรนำมาผสมซ้ำกันเกิน2รุ่น เพราะหากยิ่งใช้รุ่นเดียวกันผสมกันไปหลายรุ่นยีนส์ด้อยจะยิ่งเด่นชัดมากขึ้น เท่านั้น 



วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นิทานสีขาว...ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา

> > มีร้านค้าแห่งหนึ่งติดประกาศขายลูกสุนัข
> > ๗ ตัว เมื่อรู้ข่าว
> > ก็มีเด็กๆ
> > แวะเวียนเข้ามาเล่น
> > มาชมลูกสุนัขทุกวัน
> > แต่ก็ยังไม่มีใครตกลงใจซื้อ
> > เพราะเป็นสุนัขพันธุ์ดี
> > มีราคาค่อนข้างแพง
> >
> >
> >
> >
> > วันหนึ่ง
> > ขณะที่เจ้าของร้านกำลังยุ่งอยู่กับการขายของอื่นๆ
> > ให้แก่ลูกค้าในร้าน
> > เด็กชายหน้าตาน่าเอ็นดูคนหนึ่งก็มากระตุกชายเสื้อเขา
> > เขาก้มลงมอง
> > และถามว่ามีอะไรให้ช่วยหรือไม่
> >
> >
> >
> >
> >
> >
> > เพื่อนของผมบอกว่าที่ร้านของคุณอามีลูกหมาขาย
> > ผมอยากเลี้ยงลูกหมาสักตัว
> > พ่อแม่ก็อนุญาตแล้ว
> > ขอผมดูลูกหมาของคุณอาหน่อยได้ไหมครับ?
> > เด็กบอกอย่างสุภาพ
> >
> >
> >
> >
> >
> >
> > อ๋อ ได้สิหนู พวกมันกำลังนอนเล่นอยู่หลังร้านน่ะ
> > เจ้าของร้านกล่าวอย่างยินดีแล้วผิวปากเรียกสุนัขทั้งเจ็ดออกมา
> > เด็กชายยิ้มร่าเมื่อเห็นลูกสุนัขวิ่งตุ้ยนุ้ยออกมาทีละตัวเขานับ...แต่ก็มีแค่หกตัวเท่านั้น
> >
> >
> > ไหนว่ามีเจ็ดตัว
> > มีคนซื้อไปตัวหนึ่งแล้วหรือครับ?
> > เด็กชายถาม
> >
> >
> >
> >
> >
> >
> > เจ้าของร้านตอบว่า
> > อ๋อ เปล่าหรอกหนู
> > ยังไม่มีใครซื้อไปเลยสักตัว
> > เพียงแต่ตัวสุดท้ายขาหลังเขาไม่ดี
> > มันก็เลยต้องคลานออกมา
> > วิ่งมาพร้อมกับพี่ๆ
> > ของมันไม่ได้
> >
> >
> >
> >
> >
> >
> > สิ้นคำเจ้าของร้าน
> > ลูกสุนัขตัวที่เจ็ดก็คลานออกมา
> > ขาหลังทั้งคู่ของมันลีบเหลือนิดเดียว
> > มันต้องใช้ขาหน้าลากพาร่างกายออกมาจากหลังร้าน
> >
> >
> >
> >
> >
> >
> > ลูกสุนัขมองมาทางเด็กชายแล้วครางงี้ดๆ
> > เห็นได้ชัดว่ามันพยายามคลานมาหาเขา
> > หางของมันกระดิกดุ๊กดิ๊กๆ
> > อยู่ตลอดเวลา
> > มันคลานเข้าไปเลียรองเท้าของเด็กชาย
> > ท่าทางจะชอบเขามาก
> >
> >
> >
> >
> >
> > เด็กชายหัวเราะแล้วอุ้มมันขึ้นมา
> > ก่อนจะถามเจ้าของร้านว่า
> > หมาตัวนี้ราคาเท่าไรครับ?
> >
> >
> >
> >
> >
> > ปกติ
> > อาบอกขายอยู่ตัวละสองพันบาทนะ
> > เจ้าของร้านตอบ
> > เด็กชายนิ่งอึ้งไปก่อนจะล้วงกระเป๋าหยิบเงินออกมานับเขามีเงินอยู่เพียงสี่ร้อยห้าสิบบาทเท่านั้น
> >
> >
> >
> >
> >
> > ผมมีเงินไม่พอซื้อหมาตัวนี้
> > เด็กชายพึมพำอย่างเศร้าใจ
> > เจ้าของร้านรีบบอกทันทีว่า
> >
> >
> >
> >
> >
> > โอ๊ะ! หนู ถ้าหนูอยากได้หมาตัวนี้ไปก็เอาไปเถอะ
> > ไม่ต้องจ่ายเงินหรอก
> > อายกให้หนูฟรีๆ
> > ไปเลย
> > เด็กชายฟังเจ้าของร้านแล้วชะงักไป
> > ก่อนจะถามกลับไปอย่างไม่พอใจว่า
> >
> >
> >
> >
> >
> > ทำไมครับ ทำไมถึงบอกว่าไม่ต้องจ่ายเงินถ้าจะซื้อหมาตัวนี้?
> >
> >
> >
> >
> >
> > ก็อย่างที่หนูเห็นอย่างไรล่ะ
> > ลูกหมาตัวนี้มันติดมาพร้อมๆ
> > พี่ๆ
> > น้องๆ ของมัน
> > และอาก็ไม่คิดว่าจะขายมันอยู่แล้ว
> > เพราะมันพิการ วิ่งก็ไม่ได้
> > กระโดดก็ไม่ได้ ความจริง
> > อาไม่อยากให้หนูได้ของมีตำหนิอย่างนี้ไปนะ
> > ลองดูตัวอื่นดีไหม?
> >
> >
> >
> >
> >
> >
> > เด็กชายเม้มปากแน่นก่อนจะพูดว่า
> > คุณอาดูอะไรนี่สิครับ
> > ว่าแล้วเขาก็ดึงขากางเกงทั้งสองข้างขึ้น
> >
> > เจ้าของร้านจึงได้เห็นว่าขาของเด็กชายคนนี้เล็กลีบเช่นเดียวกับขาหลังของลูกสุนัข
> > แต่ที่ทำให้เขายืนอยู่ได้
> > ก็เพราะมีขาเทียมช่วยพยุงเอาไว้
> >
> >
> >
> >
> >
> >
> > คุณอาครับ
> > ขาของผมก็ลีบใช้การอะไรไม่ได้เหมือนกัน
> > ผมเดินช้ากว่าเพื่อนคนอื่นๆ
> > วิ่งก็ไม่ได้
> > กระโดดก็ไม่ได้
> > อย่างนี้ผมก็เป็นคนไร้คุณค่าหรือเปล่าครับ?
> >
> >
> >
> >
> > เจ้าของร้านนิ่งอึ้งไป
> > ความรู้สึกผิดแล่นปราดเข้าสู่หัวใจของเขา
> > เด็กชายปล่อยขากางเกงลงแล้วพูดต่อว่า
> > ผมจะซื้อสุนัขตัวนี้ในราคาสองพันบาทเท่ากับลูกหมาตัวอื่นๆ
> > แต่ว่าผมมีเงินไม่พอ
> > ถ้าผมจะอ้อนวอนคุณอา
> > ขอผ่อนราคาของลูกหมาตัวนี้เดือนละหนึ่งร้อยบาททุกเดือน
> > จนครบสองพันบาท
> > คุณอาจะว่าอย่างไรครับ?
> >
> >
> >
> >
> > เจ้าของร้านน้ำตาไหลริน
> > ทรุดตัวลงตรงหน้าเด็กชาย
> > และกอดเขาไว้ด้วยความประทับใจ
> > พลางกล่าวขอโทษขอโพยในสิ่งที่ตนได้ทำผิดพลาดไป
> > เขาบอกว่าไม่ขัดข้องที่จะให้เด็กชายผ่อนค่าตัวของลูกสุนัขตัวนี้
> > และกล่าวว่าถ้าสุนัขทุกตัวมีเจ้านายที่จิตใจดีอย่างเด็กชาย
> > พวกมันก็คงจะมีชีวิตที่เป็นสุขอย่างมาก.
> >
> >
> >
> >
> >
> >
> >
> >
> >
> >
> >
> >
> > ....................................................................................
> >
> >
> >
> > นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
> >
> >
> > อย่าตัดสินคุณค่าจากรูปลักษณ์ภายนอก
> >
> > ที่มา : FW MAIL
> > นิทานสีขาว
> > เล่าโดย
> > ดร.อาจอง ชุมสาย
> > ณ อยุธยา

ค้นหาตัวตน

"บางครั้งชีวิตอาจทำคุณเจ็บ แต่จงอย่าสูญเสียศรัทธาและความเชื่อมั่น
สิ่งเดียวที่ทำให้ผมยืนหยัดอยู่ได้คือ ผมรักในสิ่งที่ทำ
พวกคุณจะต้องค้นหาสิ่งที่รักให้เจอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือความรัก
โดยเฉพาะเรื่องงาน มันกินเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตคุณ
และทางเดียวที่จะสร้างผลงานยอดเยี่ยมได้ก็คือ คุณจะต้องรักในสิ่งที่คุณทำจริงๆ
ไม่ใช่ปล่อยเวลาผ่านไปวันๆ ถ้าคุณยังค้นหาตัวเองไม่เจอ ก็จงค้นหาต่อไป อย่าหยุดยั้ง
และเมื่อเจอสิ่งที่เรียกว่าใช่แล้ว....คุณจะรู้ได้เอง"

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กติกาแบดมินตัน

กติกาแบดมินตัน

กติกาแบดมินตัน
                กติกาแบดมินตันของสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ปี  ค.ศ.  1998  ซึ่งแปลโดยนายสุนทร  สุภาพันธ์  ประธานสภากรรมการผู้ตัดสินสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  กติกาฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  1  สิงหาคม  2541  เป็นต้นไป  โดยมีรายละเอียดดังนี้
                คำนิยาม
                               ผู้เล่น                  บุคคลใดก็ตามที่เล่นแบดมินตัน
                               แมทซ์                ฐานแข่งขันกีฬาแบดมินตันระหว่างฝ่ายตรงข้ามฝ่ายละ  1  หรือ  2  คน
                                เดี่ยว                  การแข่งขันที่มีผู้เล่นหนึ่งคนของแต่ละฝ่ายตรงข้าม
                                คู่                       การแข่งขันที่มีผู้เล่นสองคนของแต่ละฝ่ายตรงข้าม
                                ฝ่ายส่งลูก          ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่งลูก
                                ฝ่ายรับลูก          ฝ่ายตรงข้ามกับฝ่ายส่งลูก
1.       สนามและอุปกรณ์สนาม
1.1         สนามจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากำกับด้วยเส้นกว้าง  40  มิลลิเมตร ตามภาพผัง  ก.
1.2         เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด  และควรทาสีขาวหรือสีเหลือง
1.3         เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้
1.4     เสาตาข่ายจะต้องสูง  1.55  เมตร  จากพื้นสนาม  และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึงตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  1.10  โดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้าไปในสนาม
1.5     เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ตามที่ได้แสดงไว้ในภาพสนามผัง  ก.  โดยไม่ต้องคำนึงว่า  จะเล่นเดี่ยวหรือเล่นคู่
1.6         ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม  และมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า  15  มิลลิเมตร  และไม่เกิน  20  มิลลิเมตร
1.7         ตาข่ายต้องมีความกว้าง  760  มิลลิเมตร   และความยาวอย่างน้อย  6.1  เมตร
1.8     สุดขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสองขนาดกว้าง  75  มิลลิเมตร  ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว
1.9         เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับหัวเสา
1.10     สุดขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นตรงกึ่งกลางสนาม  1.524  เมตร  และ  1.55  เมตรหรือเส้นเขตข้างของประเภทคู่
1.11     ต้องไม่มีช่องว่างสุดปลายตาข่ายกับเสา  ถ้าจำเป็น  ต้องผูกสุดปลายตาข่ายของส่วนกว้างทั้งหมดกับเสา
                                                                       ภาพผัง  ก.
 
2.       ลูกขนไก่
2.1     ลูกขนไก่อาจทำจากวัสดุธรรมชาติ  และ/หรือ  วัสดุสังเคราะห์  ไม่ว่าลูกนั้นจะทำจากวัสดุชนิดใดก็ตาม  ลักษณะวิถีวิ่งทั่วไป  จะต้องเหมือนกับลูกซึ่งทำจากขนบธรรมชาติโดยมีคอร์กเป็นฐานหุ้มด้วยหนังบาง
2.2         ลูกขนไก่ต้องมี  16  อันปักอยู่บนฐาน
2.3     ขนจะวัดจากปลายจนถึงปลายสุดของฐาน  และความยาวของขนในแต่ละลูกจะเท่ากันหมดระหว่าง  62  มม.  และ  70  มม.
2.4         ปลายขนแผ่เป็นรูปวงกลม  มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง  58  มม.  ถึง  68  มม.
2.5         ขนต้องมัดให้แน่นด้วยเส้นด้ายหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม
2.6         ฐานของลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง  25    มม.  ถึง  28  มม.  และส่วนล่างมนกลม 
2.7         ลูกขนไก่จะมีน้ำหนักตั้งแต่  4.74  ถึง  5.50  กรัม 
2.8         ลูกขนไก่ที่ไม่ใช้ขนธรรมชาติ
                                    2.8.1  ขอบประกบโคนหรือขนปลอม  ทำจากวัสดุสังเคราะห์แทนขนธรรมชาติ
                                    2.8.2  ฐานลูก  ดังที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  2.6
                                    2.8.3  ขนาดและน้ำหนักของลูกต้องไปตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  2.3,  2.4  และข้อ  2.7  อย่างไรก็ตามความแตกต่างของความถ่วงจำเพาะ  และคุณสมบัติของวัสดุสังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบกับขนธรรมชาติย่อมให้มีความแตกต่างได้ถึง  10%
2.9     เนื่องจากมิได้กำหนดความแตกต่างในเรื่องลักษณะทั่วไป  ความเร็วและวิถีวิ่งของลูกอาจมีการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นได้โดยการอนุมัติจากองค์กรแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง
                                    2.9.1  ในที่ซึ่งสภาพความกดความสูงหรือสภาพดินฟ้าอากาศ  เป็นเหตุให้ลูกขนไก่ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม  หรือ
                                    2.9.2  ในสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ  ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพื่อประโยชน์ของเกม
3.       การทดสอบความเร็วของลูก
3.1     การทดสอบ  ให้ยืนเหนือเส้นเขตหลังแล้วตีลูกใต้มืออย่างสุดแรง  โดยจุดสัมผัสลูกอยู่เหนือเส้นเขตหลังลูกจะพุ่งเป็นมุมสูง  และอยู่ในวงแนวขนานกับเส้นเขตข้าง
3.2     ลูกที่มีความเร็วถูกต้อง  จะตกห่างจากเส้นเขตหลังของอีกด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า  530  มม.  และไม่มากกว่า  990  มม.  (ภาพผัง  ข.)

 
4.       ไม้แร็กเก็ต
4.1         ส่วนต่าง ๆ ของไม้แร็กเก็ตได้อธิบายไว้ในกติกาข้อ  4.11  ถึง  4.17  และได้แสดงไว้ในภาพผัง  ค.
                                    4.1.1  ส่วนสำคัญของไม้แร็กเก็ตคือ  ด้าม, พื้นที่ขึงเอ็น, หัว, ก้าน, คอและเฟรม
                                    4.1.2  ด้ามจับ  เป็นส่วนของไม้แร็กเก็ตที่ผู้เล่นใช้จับ
                                    4.1.3  พื้นที่ขึงเอ็น  เป็นส่วนของไม้แร็กเก็ตที่ผู้เล่นใช้ตีลูก
                                    4.1.4  หัว  บริเวณที่ใช้ขึงเอ็น
                                    4.1.5  ก้าน  ต่อจากด้ามถึงหัว  (ขึ้นอยู่กับกติกาข้อ  4.1.6)
                                    4.1.6  คอ  (ถ้ามี)  ต่อก้านกับขอบหัวตอนล่าง
                                    4.1.7  เฟรม  เป็นชื่อเรียกรวมของ  หัว, คอ, ก้านและด้ามจับของไม้แร็กเก็ต
4.2         เฟรมของไม้แร็กเก็ตยาวทั้งหมดไม่เกิน  680  มม.  และกว้างทั้งหมดไม่เกิน  230  มม.
                                                                      ภาพผัง  ค.
 
4.3         พื้นที่ขึงเอ็น
                                    4.3.1  พื้นที่ขึงเอ็นต้องแบนราบ  การร้อยเอ็นเส้นขวางร้อยขัดกับเส้นยืนแบบการขึงเอ็นโดยทั่วไป  และโดยพื้นที่ตอนกลาง  ไม่ควรทึบน้อยกว่าตอนอื่น ๆ
                                    4.3.2  พื้นที่ขึงเอ็นต้องยาวทั้งหมดไม่เกิน  280  มม.  และกว้างทั้งหมดไม่เกิน  220  มม.
                                    4.3.3  อย่างไรก็ตาม  อาจขึงไปถึงคอเฟรมหากความกว้างที่เพิ่มของพื้นที่ขึงเอ็นนั้นไม่เกิน  35  มม.  และความยาวทั้งหมดของพื้นที่ขึงเอ็นต้องไม่เกิน  330  มม.
4.4         ไม้แร็กเก็ต
                                    4.4.1  ต้องปราศจากวัตถุอื่นติดอยู่  หรือยื่นออกมานอกเหนือจากส่วนที่เจาะจงใช้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะหรือเป็นพิเศษ  เพื่อจำกัดหรือป้องกันการชำรุดเสียหายหรือการสั่นสะเทือน  หรือการกระจายน้ำหนัก  หรือการพันด้ามให้กระชัยมือผู้เล่นและมีความเหมาะสมทั้งขนาด  และการติดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว  และ
                                    4.4.2  ต้องปราศจากสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้เล่นเปลี่ยนรูปทรงของไม้แร็กเก็ต
5.       การยอมรับอุปกรณ์
สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ  จะกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับปัญหาเกี่ยวกับไม้แร็กเก็ต  ลูกขนไก่  หรืออุปกรณ์ต้นแบบ  ซึ่งใช้ในการเล่นแบดมินตันให้เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ กฎเกณฑ์ดังกล่าวอาจเป็นการริเริ่มของสหพันธ์เอง  หรือจากการยื่นความจำนงของคณะบุคคลที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างแท้จริงกับผู้เล่น  ผู้ผลิต  หรือองค์กรแห่งชาติ  หรือสมาชิกขององค์การนั้น ๆ
6.       การเสี่ยง
6.1  ก่อนเริ่มเล่น  จะต้องทำการเสี่ยง  ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์เลือกตามกติกาไม่ว่าจะเป็นข้อ  6.1.1  หรือ  6.1.2
6.1.1  ส่งลูกหรือรับลูกก่อน
6.1.2  เริ่มเล่นจากสนามข้างใดข้างหนึ่ง
6.2  ฝ่ายที่แพ้การเสี่ยง  มีสิทธิ์ที่เหลือจากการเลือก
7.       ระบบการนับคะแนน
7.1  แมทซ์หนึ่ง  ต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน  3  เกม  เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
7.2  ในประเภทคู่และประเภทชายเดี่ยว  ฝ่ายที่ได้  15  คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น  ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  7.4 
7.3  ในประเภทหญิงเดี่ยว  ฝ่ายที่ได้  11  คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น  ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  7.4
7.4  ถ้าได้  14  คะแนนเท่ากัน  (10  คะแนนเท่ากันในประเภทหญิงเดี่ยว)  ฝ่ายที่ได้  14  (10)  คะแนนก่อนมีสิทธิ์เลือกในกติกาข้อ  7.4.1  หรือ  7.4.2
7.4.1  ต่อเกมนั้นถึง  15  (11)  คะแนน,  กล่าวคือ  ไม่เล่นต่อ  ในเกมนั้น  หรือ
7.4.2  เล่นต่อ  เกมนั้นถึง  17  (13)  คะแนน
7.5  ฝ่ายชนะ  เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมต่อไป
7.6  ฝ่ายส่งลูกก่อนเป็นฝ่ายได้คะแนน  (ดูกติกาข้อ  10.3  หรือ  11.4)
8.       การเปลี่ยนข้าง
8.1    ผู้เล่นจะเปลี่ยนข้าง
8.1.1          หลังจากจบเกมที่  1
8.1.2          ก่อนเริ่มเล่นเกมที่  3  (ถ้ามี)  และ
8.1.3          ในเกมที่  3  หรือในการแข่งขันเกมเดียว  เมื่อคะแนนนำถึง
-  6  คะแนน  สำหรับเกม  11  คะแนน
-  8  คะแนน  สำหรับเกม  15  คะแนน
8.2  ถ้ามีผู้เล่นลืมเปลี่ยนข้างตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ  8.1  ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้ตัวและลูกไม่อยู่ในการเล่น  และให้นับคะแนนต่อจากคะแนนที่ได้ในขณะนั้น
9.       การส่งลูก
9.1    ในการส่งลูกที่ถูกต้อง
9.1.1  ทั้งสองฝ่ายต้องไม่ประวิงเวลาให้เกิดความล่าช้าในการส่งลูกทันที่ที่ผู้ส่งลูกและรับลูกอยู่ในท่าพร้อมแล้ว
9.1.2  ผู้ส่งลูกและผู้รับลูก  ต้องยืนในสนามส่งลูกทแยงลูกมุมตรงข้ามโดยเท้าไม่เหยียบเส้นเขตของสนามส่งลูก
9.1.3  บางส่วนของเท้าทั้งสองของผู้ส่งลูกและผู้รับลูกต้องแตะพื้นสนามในท่านิ่งตั้งแต่เริ่มส่งลูก  (กติกาข้อ  9.4)  จนกว่าส่งลูกแล้ว  (กติกาข้อ  9.6)
9.1.4  จุดสัมผัสแรกของไม้แร็กเก็ตผู้ส่งต้องตีที่ฐานของลูก
9.1.5  ทุกส่วนของลูกจะอยู่ต่ำกว่าเอวของผู้ส่งลูกขณะที่ไม้แร็กเก็ตสัมผัสลูก
9.1.6  ก้านไม้แร็กเก็ตของผู้ส่งลูกในขณะตีลูก  ต้องชี้ลงต่ำจนเห็นได้ชัดว่า  ส่วนหัวทั้งหมดของไม้แร็กเก็ตอยู่ต่ำกว่าทุกส่วนของมือที่จับไม้แร็กเก็ตของผู้ส่งลูก  (ภาพผัง  ง.)
9.1.7  การเคลื่อนไม้แร็กเก็ตของผู้ส่งลูกไปข้างหน้า  ต้องต่อเนื่องจากการเริ่มส่งลูก  (กติกาข้อ  9.4)  จนกระทั่งได้ส่งลูกแล้ว  และ
9.1.8  วิถีลูกจะพุ่งขึ้นจากไม้แร็กเก็ตของผู้ส่งลูกข้ามตาข่ายและถ้าปราสจากการสกัดกั้นลูกจะตกลงพื้นสนามส่งลูกของผู้รับลูก  (กล่าวคือ  บนหรือภายในเส้นเขต)
9.2   ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้องตามกติกาข้อ  9.1.1  ถึง  9.1.8  ถือว่าฝ่ายทำผิด  เสีย  (กติกาข้อ  13)
9.3   ถือว่า  เสีย  ถ้าผู้ส่งลูกพยายามจะส่งถูก  โดยตีไม่ถูกลูก
9.4   เมื่อผู้เล่นอยู่ในท่าพร้อมแล้ว  การเคลื่อนไม้แร็กเก็ตไปข้างหน้าของผู้ส่งลูกถือว่า  เริ่มส่งลูก
9.5   ผู้ส่งลูกจะส่งลูกไม่ได้ถ้าผู้รับลูกยังไม่พร้อม  แต่ถือว่า  ผู้รับลูกพร้อมแล้วถ้าพยายามตีลูกที่ส่งมากลับไป
9.6   ถือว่าได้ส่งลูกแล้ว  (กติกาข้อ  9.4)  ถ้าไม้แร็กเก็ตของผู้ส่งสัมผัสลูกหรือพยายามส่งลูก  แต่ตีไม่ถูกลูก
9.7   ในประเภทคู่  คู่ขาจะยืน  ณ  ที่ใดก็ได้  โดยไม่บังผู้ส่งลูกและผู้รับลูก
 10.   ประเภทเดี่ยว
10.1  สนามส่งลูก
10.1.1  ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านขวา  เมื่อผู้ส่งลูกทำคะแนนไม่ได้  หรือคะแนนที่ได้เป็นเลขคู่ในเกมนั้น
10.1.2  ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านซ้าย  เมื่อผู้ส่งลูกได้คะแนนเป็นเลขคี่ในเกมนั้น
10.2  ผู้ส่งลูกและผู้รับลูกจะตีโต้ถูกจนกว่าจะเกิด  เฮีย  หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น
10.3  คะแนนและการส่งลูก
10.3.1  ถ้าผู้รับลูกทำ  เฮีย  หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้รับลูกผู้ส่งลูกได้  1  คะแนน  ผู้ส่งลูกยังได้ส่งลูกต่อไปในสนามส่งลูกอีกข้างหนึ่ง
10.3.2  ถ้าผู้ส่งลูกทำ  เฮีย  หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้ส่งลูกผู้ส่งลูกหมดสิทธิ์ส่งลูก และผู้รับลูกก็จะได้เป็น ผู้ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน
11.   ประเภทคู่
11.1  เมื่อเริ่มเล่นแต่ละครั้ง  ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่งลุกต้องเริ่มส่งลูกจากสนามส่งลูกด้านขวา
11.2  ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป  ถ้าลูกถูกตัวหรือคู่ขาของผู้รับลูกถือว่า  เฮีย  ผู้ส่งลูกได้  1  คะแนน
11.3  ลำดับการเล่นและตำแหน่งยืนในสนาม
11.3.1  หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว  ผู้เล่นของฝ่ายส่งลูกคนหนึ่งคนใดตีลูกกลับไป  และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายรับลูกโต้ตอบกลับมา  เป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าลูกไม่อยู่ในการเล่น
11.3.2  หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว  ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจะตีโต้ลูกจากที่ใดก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น
11.4  คะแนนและการส่งลูก
11.4.1  ถ้าฝ่ายรับลูกทำ  เสีย  หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น  เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายรับลูก  ฝ่ายส่งลูกได้  1  คะแนน  และผู้ส่งลูกยังคงได้ส่งลูกต่ออีก
11.4.2  ถ้าฝ่ายส่งลูกทำ  เสีย  หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น  เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายส่งลูก  ผู้ส่งลูกหมดสิทธิ์ส่งลูก  โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน
11.5  สนามส่งลูกและรับลูก
11.5.1  ผู้เล่นมีสิทธิ์ส่งลูกตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม  จะส่งลูกหรือรับลูกในสนามส่งลูกด้านขวาเมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน  หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่  และในสนามส่งด้านซ้ายมือเมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
11.5.2  ผู้เล่นที่เป็นผู้รับลูกตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม  จะรับลูกหรือส่งลูกในสนามส่งลูกด้านขวาเมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน  หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่  และในสนามส่งด้านซ้ายมือเมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
11.5.3  ให้คู่ขาของผู้เล่นปฏิบัติในทางกลับกัน
11.6  การส่งลูกทุกครั้ง  ต้องส่งจากสนามส่งลูกทแยงมุมตรงข้าม  ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  12  และ  14
11.7  ในการเริ่มต้นเกมใดก็ตาม  ผู้ มีสิทธิ์ส่งลูกคนแรกส่งลูกจากสนามด้านขวาไปยังผู้รับลูกคนแรกและจากนั้นไป ยังคู่ขาของผู้รับลูกตามลำดับไปจนกระทั่งเสียสิทธิ์และเปลี่ยนส่งไปให้ฝ่าย ตรงข้ามที่จะต้องเริ่มส่งจากสนามด้านขวา  (กติกาข้อ  11.5)  จากนั้นจะให้คู่ขาส่ง  จะเป็นเช่นนี้ตลอด
11.8  ห้ามผู้เล่นส่งลูกก่อนถึงเวลาตนเป็นผู้ส่ง  หรือรับลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้รับ  หรือรับลูกติดต่อกันสองครั้งในเกมเดียวกัน  ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  12 และ  14
11.9  ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายชนะ  จะเป็นผู้ส่งลูกก่อนในเกมต่อไปก็ได้และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายแพ้จะเป็นผู้รับลูกก่อนก็ได้
12.   ความผิดในสนามส่งลูก
12.1  ความผิดในสนามส่งลูกเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่น
12.1.1  ส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง
12.1.2  ส่งลูกจากสนามส่งลูกที่ผิด  หรือ
12.1.3  ยืนผิดสนามและได้เตรียมพร้อมที่จะรับลูกที่ส่งมา
12.2  ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกหลังจากได้ส่งลูกครั้งต่อไปแล้วจะไม่มีการแก้ไขความผิดนั้น
12.3  ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกก่อนส่งลูกครั้งต่อไป
12.3.1  หากทั้งสองฝ่ายทำความผิดด้วยกัน  ให้  เอาใหม่
12.3.2  หากฝ่ายหนึ่งทำความผิดและชนะในการตีโต้ให้  เอาใหม่
12.3.3  หากฝ่ายหนึ่งทำความผิดและแพ้ในการตีโต้  ไม่มีการแก้ไขความผิด
12.4  ถ้ามีการ  เอาใหม่  เพราะความผิดในสนามส่งลูก  ให้เล่นใหม่พร้อมกับแก้ไข
12.5  ถ้าไม่มีการแก้ไขความผิดในสนามส่งลูก  ให้เล่นต่อไปโดยไม่มีการเปลี่ยนสนามส่งลูกใหม่ของผู้เล่น  (ให้เปลี่ยนลำดับใหม่ของการส่งลูกในกรณีเดียวกัน)
13.   การทำ  เสีย
ถือว่า  เสีย
13.1  ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง  (กติกาข้อ  9.1)  หรือตามกติกาข้อ  9.3  หรือ  11.2
13.2  ถ้าในขณะเล่น  ลูกขนไก่
13.2.1  ตกลงบนพื้นสนามนอกเส้นเขตสนาม  (กล่าวคือ  ไม่อยู่บนหรือภายในเส้นเขตสนาม)
13.2.2  ลอดผ่านหรือลอดใต้ตาข่าย
13.2.3  ไม้ข้ามตาข่าย
13.2.4  ถูกเพดาน  หรือฝาผนัง
13.2.5  ถูกตัวผู้เล่น  หรือเครื่องแต่งกายผู้เล่น
13.2.6  ถูกวัสดุหรือตัวบุคคลภายนอกที่อยู่ใกล้เคียงล้อมรอบสนาม  (ในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวอาคาร  ผู้มีอำนาจเกี่ยวกับแบดมินตันท้องถิ่น  อาจวางกฎเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกถูกสิ่งกีดขวางได้  ทั้งนี้  ย่อมแล้วแต่สิทธิความเห็นชอบของภาคีสมาชิก)
13.3  ถ้าในระหว่างการเล่น  ผู้เล่นตีถูกลูกก่อนที่ลูกข้ามตาข่ายมาในเขตสนามของตัวเอง  (อย่างไรก็ดี  ผู้ตีอาจใช้ไม้แร็กเก็ตตามลูกข้ามตาข่ายในระหว่างตีลูก)
13.4  ถ้าลูกอยู่ในระหว่างการเล่น  ผู้เล่น
13.4.1  ถูกตาข่ายหรืออุปกรณ์ที่ขึง  ด้วยไม้แร็กเก็ต  ด้วยตัว  หรือด้วยเครื่องแต่งกาย
13.4.2  ล้ำบนตาข่ายเขาไปในเขตสนามของคู่แข่งขัน  ด้วยไม้แร็กเก็ตด้วยตัว  ยกเว้นตามที่อนุญาตไว้ในกติกาข้อ  13.3
13.4.3  ล้ำใต้ตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่แข่งขันด้วยไม้แร็กเก็ตหรือด้วยตัวจนเป็นการกีดขวางหรือทำลายสมาธิคู่แข่งขัน
13.4.4  กีดขวางคู่แข่งขัน  กล่าวคือ  กันไม่ให้คู่แข่งขันตีลูกที่ข้ามตาข่ายมาอย่างถูกต้องตามกติกา
13.5  ถ้าในระหว่างการเล่น  ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจงใจทำลายสมาธิคู่แข่งขันด้วยการกระทำต่าง ๆ เช่น  ร้องตะโกน  หรือแสดงท่าทาง
13.6  ถ้าระหว่างการเล่น  ลูกขนไก่
13.6.1  ติดอยู่ในไม้แร็กเก็ต  แล้วถูกเหวี่ยงออกไปในระหว่างตีลูก
13.6.2  ถูกตีสองครั้งติดต่อกันโดยผู้เล่นคนเดียวกัน
13.6.3  ถูกตีโดยผู้เล่นคนหนึ่ง  และคู่ขาของผู้เล่นคนนั้นติดต่อกันหรือ
13.6.4  ถูกไม้แร็กเก็ตของผู้เล่นคนหนึ่ง  แล้วลอยไปทางท้ายสนามด้านหลังของผู้เล่นคนนั้น
13.7  ถ้าผู้เล่นทำผิดอย่างโจ่งแจ้ง  ซ้ำแล้วซ้ำอีก  หรือผิดอยู่ตลอด  ตามกติกาข้อ  16.
13.8  ถ้าหลังจากส่งลูกแล้ว  ลูกไปติดแล้วค้างอยู่บนตาข่าย  หรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่าย
14.   การ  เอาใหม่
14.1  การ  เอาใหม่  จะขานโดยกรรมการผู้ตัดสิน  หรือโดยผู้เล่น  (ถ้าไม่มีกรรมการผู้ตัดสิน)  ขานให้หยุดเล่น
14.2  ให้  เอาใหม่  สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน  หรือโดยบังเอิญ
14.3  ให้  เอาใหม่  ถ้าลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่าย  หรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดข้างอยู่ในตาข่ายยกเว้นในการส่งลูก
14.4  ให้  เอาใหม่  ถ้าในระหว่างการส่งลูก  ผู้รับลูกและผู้ส่งลูก  เสีย  พร้อมกันทั้งสองฝ่ายในเวลาเดียวกัน
14.5  ให้  เอาใหม่  ถ้าผู้ส่งลูก  ส่งลูกโดยที่ผู้รับลูกยังไม่พร้อม
14.6  ให้  เอาใหม่  ถ้าในระหว่างการเล่น  ลูกขนไก่แตกแยกเป็นส่วน ๆ และฐานแยกออกจากส่วนที่เหลือของลูกโดยสิ้นเชิง
14.7  ให้  เอาใหม่  ถ้ากรรมการผู้กำกับเส้นมองไม่เห็น  และกรรมการผู้ตัดสินไม่สามารถตัดสินใจได้
14.8  การ  เอาใหม่  อาจมีขึ้นโดยสืบเนื่องจากความผิดในการส่งลูกถูกกติกาข้อ  12.3
14.8  เมื่อมีการ  เอาใหม่  การเล่นหลังจากการส่งลูกครั้งสุดท้ายถือเป็นโมฆะ  และผู้เล่นที่ส่งลูกจะได้ส่งลูกอีกครั้งหนึ่ง  ยกเว้นหากเป็นไปตามกติกาข้อ  12.
15.   ลูกไม่อยู่ในการเล่น
ลูกไม่อยู่ในการเล่น  เมื่อ
15.1  ลูกชนตาข่ายแล้วติดอยู่ที่ตาข่าย  หรือค้างอยู่บนขอบตาข่าย
15.2  ลูกชนตาข่ายหรือเสาตาข่ายแล้วตกลงบนพื้นสนามในด้านของผู้ตีลูก
15.3  ลูกถูกพื้นสนาม  หรือ
15.4  เกิดการ  เสีย  หรือการ  เอาใหม่
16.   การเล่นต่อเนื่อง  เสีย  หรือการ  เอาใหม่
16.1  การเล่นต้องต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มส่งลูกครั้งแรกจนสิ้นสุดการแข่งขัน  ยกเว้นตามที่ได้อนุญาตไว้ในกติกาข้อ  16.2  และ  16.3
16.2  พักระหว่างจบเกมที่  1  และเริ่มเกมที่  2  ได้ไม่เกิน  90 วินาที  และไม่เกิน  5  นาที  ระหว่างจบเกมที่  2  และเริ่มเกมที่  3  อนุญาตสำหรับทุกแมทช์ของการแข่งขันดังต่อไปนี้
16.2.1  ในการแข่งขันระหว่างชาติ
16.2.2  ในการแข่งขันที่ได้อนุมัติรับรองโดยสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ  และ
16.2.3  ในการแข่งขันอื่น ๆ (ถ้าหากภาคีสมาชิกได้ประกาศการตัดสินใจแจ้งก่อนการแข่งขันว่าจะไม่พักตามกติกา)  (ในการแข่งขันที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์กรรมการผู้ชี้ขาดอาจตัดสินใจก่อนเริ่มการแข่งขันว่า  การพักตามกติกาข้อ  16.2  อยู่ในอาณัติและเวลากำหนด)
16.3  พักการเล่น
16.3.1  เมื่อ มีความจำเป็นจากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่นกรรมการ ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่นชั่วคราวตามที่กรรมการผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าจำ เป็น
16.3.2  ภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ  กรรมการผู้ชี้ขาดอาจสั่งให้กรรมการผู้ตัดสินพักการแล่น
16.3.3  ถ้ามีการพักการเล่น  คะแนนที่ได้จะอยู่คงเดิม  และจะเริ่มใหม่จากคะแนนนั้น
16.4  ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น  ห้ามถ่วงเวลาการเล่นเพื่อให้ผู้เล่นฟื้นคืนกำลังหรือหายเหนื่อย
16.5  คำแนะนำและการออกนอกสนาม
16.5.1  ห้ามมิให้ผู้เล่นรับคำแนะนำระหว่างการแข่งขัน  ยกเว้นการพักตามกติกาข้อ  16.2  และ  16.3
16.5.2  ห้ามผู้เล่นเดินออกจากนอกสนามระหว่างการแข่งขันโดยมิได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสิน  ยกเว้นระหว่างพัก  5  นาที  ตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  16.2 
16.6  กรรมการผู้ตัดสินจะวินิจฉัยความล่าช้าในการเล่นแต่เพียงผู้เดียว
16.7  ผู้เล่นต้องไม่
16.7.1  จงใจถ่วงเวลา  หรือพักการเล่น
16.7.2  จงใจแปลงหรือทำลายลูกเพื่อเปลี่ยนความเร็วและวิถี
16.7.3  แสดงกิริยาก้าวร้าว  หรือ
16.7.4  กระทำผิดนอกเหนือกติกา
16.8  กรรมการผู้ตัดสินจะต้องดำเนินการกับความผิดตามกติกาข้อ  16.4, 16.5 หรือ 16.7  โดย
17.1  กรรมการผู้ชี้ขาดเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการแข่งขันทั้งหมด
17.2  กรรมการผู้ตัดสิน  หากมีความแต่งตั้ง  มีหน้าที่ควบคุมการแข่งขันสนาม  และสิ่งแวดล้อมกรรมการผู้ตัดสินต้องรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาด
17.3  กรรมการผู้กำกับการส่งลูกเป็นผู้ขาน  เสีย  สำหรับการส่งลูกที่ผู้ส่งลูกเป็นผู้กระทำ  (กติกาข้อ  9)
17.4  กรรมการผู้กำกับเส้นเป็นผู้ขานลูก  ดี  หรือ  ออก  ในเส้นเขตที่ได้มอบหมาย
17.5  การตัดสินใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั้งหมดของกรรมการสนามที่รับผิดชอบถือว่าสิ้นสุด
17.6  กรรมการผู้ตัดสินจะต้อง
17.6.1  ควบคุมการแข่งขันให้ดำเนินไปภายใต้กฎกติกาอย่างเคร่งครัด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาน  เสีย  หรือ  เอาใหม่  เมื่อมีกรณีเกิดขึ้น
17.6.2  ตัดสินคำอุทธรณ์เกี่ยวกับการโต้แย้ง  ซึ่งมีขึ้นก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป
17.6.3  แน่ใจว่า  ผู้เล่นและผู้ชมได้ทราบถึงความคืบหน้าของการแข่งขัน
17.6.4  แต่งตั้งหรือถอยถอนกรรมการผู้กำกับเส้น  หรือกรรมการผู้กำกับการส่งลูก  หลังจากได้ปรึกษากับกรรมการผู้ชี้ขาดแล้ว
17.6.5  หากไม่มีการแต่งตั้งกรรมการสนามคนอื่น  จะต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นให้เรียบร้อย
17.6.6  หากกรรมการสนามที่ได้รับการแต่งตั้งมองไม่เห็น  ต้องดำเนินการในหน้าที่ของกรรมการนั้น  หรือให้  เอาใหม่
17.6.7  บันทึกและรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาดทุกเรื่องที่เกี่ยวกับกติกาข้อ  16  และ
17.6.8  เสนอคำอุทธรณ์ที่ไม่พึงพอใจในปัญหาเกี่ยวกับกติกาเท่านั้นต่อกรรมการผู้ชี้ขาด  (คำอุทธรณ์ดังกล่าวจะต้องเสนอก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป  หรือเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงก่อนที่ฝ่ายอุทธรณ์จะเดินออกจากสนาม)
อ้างอิงจาก : http://blog.eduzones.com/phobanthit/33849