วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

เผยแพร่ผลงานวิชาการเรื่องรายงานการสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


ชื่อเรื่อง         รายงานการสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน
                     ตรีโกณมิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน       นางขวัญยืน อธิศิริกุล
ตำแหน่ง         ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานศึกษา    โรงเรียนคำเพิ่มพิทยา
สังกัด            สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต
23
ปีที่พิมพ์         2556

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า (1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ 75/75 และค่าดัชนีประสิทธิผล มากกว่าร้อยละ 50   (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนคำเพิ่มพิทยา ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 จำนวน 10 ชุด (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
(3) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการศึกษาค้นคว้าด้วย t-test dependent




ผลการศึกษาพบว่า
1.  แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.55/75.42 และค่า
ดัชนีประสิทธิผล มากกว่าร้อยละ 50
2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่ามีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.  ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก







เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เรื่องการสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


ชื่อเรื่อง         การสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษ
                   เบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน       นายประภาษ สมยาภักดี
ตำแหน่ง        ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ถานศึกษา      โรงเรียนคำเพิ่มพิทยา
สังกัด            สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
ปีที่พิมพ์         2556

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า (1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ
เพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 ให้มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์
80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลมากกว่าร้อยละ 50 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนคำเพิ่มพิทยา ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง
(Purposive Sampling) จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 เล่ม
(2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ
4 ตัวเลือก จำนนวน 30 ข้อ (3) แบบวัดความพึงพอใจ
ที่มีต่อการเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้น
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการศึกษาค้นคว้าด้วย t-test
dependent


ผลการศึกษาพบว่า
          1. แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่
3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.04/80.17 และค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6648 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.48
          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ความพึงพอใจ
อยู่ในระดับ มาก





วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทุจริตสอบครู 2556 ว12


"เสริมศักดิ์" เตรียมเสนอ ก.ค.ศ.ยกเลิกสอบครูผู้ช่วยรายบุคคล

"เสริมศักดิ์"เตรียมเสนอ ก.ค.ศ.ยกเลิกสอบครูผู้ช่วยรายบุคคล ไม่ขอวิเคราะห์ว่าเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ.หรือไม่เพราะผลการสอบสนยังไม่จบ


วันนี้ ( 20 มี.ค.) นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการกล่าวว่า ในวันที่ 22 มี.ค. ที่จะมีการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) จะนำเสนอผลการสอบสวนของดีเอสไอที่เสนอให้ยกเลิกการสอบเป็นบุคคลใน สพป.ขอนแก่น เขต 3 สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.ยโสธร เขต 1และสพป.นครราชสีมา เขต 2 รวมมีผู้ทุจริตจำนวน 6 คน นอกจากนี้อาจจะนำเสนอให้ยกเลิกการสอบที่ สพป.นครปฐมเขต 1อีก 1 รายด้วย ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดต้องให้ทางที่ประชุมก.ค.ศ.เป็นผู้พิจารณากันต่อไป 
นอกจากนี้ตนจะให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( สพฐ.) ไปพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาที่ดีเอสไอเสนอให้ยกเลิกการสอบต่อไป ส่วน 486 รายที่ผ่านการสอบคัดเลือกและคะแนนสูงผิดปกติจะต้องมีการสอบกันต่อไป อาจจะยังไม่เสนอให้ที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณายกเลิกเพราะเห็นใจว่ากระบวนการตรงนี้กว้าง ขวางสลับซับซ้อนและมีการจัดการที่ค่อนข้างละเอียดจะต้องตรวจสอบให้ละเอียด ส่วนคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดที่นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการศึกษาธิการเป็นประธาน ก็ยังจะให้ทำหน้าที่ช่วยตรวจสอบข้อมูลกันต่อไป เพราะเป็นเรื่องที่กว้างมาก นอกจากนี้จะให้ผู้ชำนาญการด้านคะแนนมาดูคะแนนที่สูงผิดปกติว่าคนกลุ่มนี้จะ ถือว่าทุจริตหรือไม่ อย่างไรก็ตามกรณีของ486 รายจะต้องให้ทางดีเอสไอได้สอบกันต่อไปและเมื่อตรวจสอบเสร็จก็จะได้ทยอยให้กระทรวงนำเสนอที่ประชุมก.ค.ศ.ได้พิจารณายกเลิกผลการสอบต่อไป


ผู้สื่อข่าวถามว่า ผลการสรุปของดีเอสไอมีความเชื่อมกับผู้บริหารระดับสูง สพฐ.หรือไม่ นายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า ทางดีเอสไอยังไม่ได้ระบุชัดว่าเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูงเพียงแค่บอกว่าเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง ตนเข้าใจว่ายังมีการสอบสวนไม่หมดจึงยังไม่ได้มีการวิเคราะห์เรื่องนี้ ฉะนั้นเมื่อผลออกมาแบบนี้คงจะยังไม่พิจารณาการโยกย้ายใครต้องดูให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม

ที่มา เดลินิวส์ วันพุธที่ 20 มีนาคม 2556


ดีเอสไอแถลงผลสอบทุจริตสอบ "ครูผู้ช่วย" เสนอเลิก 4 เขตพื้นที่ ชี้เครือข่ายแบ่งงานกัน ชงเป็นคดีพิเศษ
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 20 มีนาคม ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ พร้อมด้วยนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แถลงข่าวข่าวคดีการทุจริตสอบครูผู้ช่วยว่า โดยนายธาริต กล่าวว่า ในวันนี้ดีเอสไอได้สรุปรายงานผลการสืบสวนกรณีทุจริตการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) โดยผลการสืบสวนพบพยานหลักฐานปรากฏดังนี้ คือ 1.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)ขอนแก่น เขต 3 มีบุคคลเข้าสอบแทน 2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)ขอนแก่น เขต 3 ผู้เข้าสอบได้เฉลยข้อสอบมาทั้ง 4 วิชา โดยมีการส่งข้อความมาทาง SMS แต่ผู้เข้าสอบไม่ได้นำเข้าไปในห้องสอบ แต่ใช้วิธีท่องจำเข้าไป 3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) อุดรธานี เขต 3 ผู้เข้าสอบได้นำเครื่องมือ สื่อสารเพื่อใช้ส่งสัญญาณเฉลยข้อสอบ และมีการนำเฉลยข้อสอบเข้าห้องสอบ 4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.) ยโสธร เขต 1 ผู้เข้าสอบนำเฉลยข้อสอบเข้าไปในห้องสอบ 5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)นครราชสีมา เขต 2 ผู้เข้าสอบได้เฉลยข้อสอบมาทั้ง 4 วิชา แต่ไม่ได้นำเข้าไปในห้องสอบ ใช้วิธีการท่องจำเข้าไป 6. จากการตรวจสอบคะแนนผู้ที่สอบได้ในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ปรากฏว่าผลการสอบมีผู้ที่ทำคะแนนสอบได้สูงผิดปกติ จำนวน 486 ราย จากผู้ที่สอบผ่านการคัดเลือกทั้งสิ้น 9,242 ราย แต่สามารถบรรจุได้ จำนวน 2,161 ราย

นายธาริต กล่าวว่า จากพยานหลักฐานดังกล่าวข้างต้น เชื่อว่าการสอบคัดเลือกเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2556 มีการทุจริตจริง ดังนั้น ดีเอสไอจึงขอเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการยกเลิกการสอบเฉพาะ พื้นที่ที่พบทุจริตชัดเจนดังกล่าว ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยโสธร เขต 1 , สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 3 พร้อมกันนี้ยังขอให้กระทรวงศึกษาธิการควรจะต้องพิจารณาคะแนนของผู้ที่ว่ามีคะแนนสูงผิดปกติหรือไม่ เพื่อประอบการยกเลิกต่อไปด้วย

นายธาริต ยังกล่าว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ เชื่อว่าการทุจริตสอบครูผู้ช่วยในครั้งนี้ มีการกระทำเป็นขบวนการระหว่าง เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและผู้เข้าสอบ และมีการเตรียมการมาตั้งแต่ต้น ทั้งในส่วน เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและผู้เข้าสอบ โดยมีการเตรียมการมาตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ เพื่อให้มีอำนาจในการสอบสวนเชิงลึกดีเอสไอจะเสนอให้คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) เพื่อมีมติให้กรณีทุจริตการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ของสพฐ. เป็นคดีพิเศษ ในวันที่ 27 มี.ค.นี้ เมื่อรับเป็นคดีพิเศษเพื่อดำเนินคดีอาญาได้อย่างเต็มที่แล้วดีเอสไอจะแจ้งให้กระทรวงศึกษาเข้าร้องทุกข์อย่างเป็นทางการด้วย โดยการดำเนินคดีอาญาไม่จำเป็นต้องรอผลการตรวจสอบทางวินัย

ด้านนายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า เดินทางมาขอรับผลการสืบสวนตามที่เคยร้องขอให้ตรวจสอบ เนื่องจากในวันที่ 22 มี.ค.นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ซึ่งจะนำผลสอบของดีเอสไอไปประกอบการพิจารณากับข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อดูว่าใน 4 เขตนั้นมีการทุจริต ตรงกันหรือไม่ แต่เบื้องต้นข้อมูลทั้ง 4 เขตของดีเอสไอและกระทรวงศึกษาธิการตรงกัน แต่การพิจารณาว่าจะยกเลิกทั้งเขตหรือไม่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

เมื่อถามถึงกรณีตรวจสอบข้อสอบรั่ว นายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า เบื้องต้นยังไม่มีสรุปแน่นอน แต่ข้อสอบรั่วมีแน่ เพราะครั้งนี้เป็นตำแหน่งวิชาเอก 30 วิชา วิชาร่วมมี 3 วิชา ดังนั้น การที่ข้อสอบจะคงรั่วหลายเขต

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556



DSI แถลงผลสืบสวนทุจริตการสอบคัดเลือกครูผู้ช่วย
๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖ - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ร่วมกันแถลงผลการสืบสวนกรณีการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งได้สอบคัดเลือกเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖
ผลการสืบสวน พบพยานหลักฐาน ดังนี้

๑. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๓ มีบุคคลอื่นเข้าอบแทน
๒. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๓ ผู้เข้าสอบได้เฉลยข้อสอบมาทั้ง ๔ วิชา โดยมีการส่งข้อความมาทาง SMS แต่ผู้เข้าสอบไม่ได้นำเข้าไปในห้องสอบ แต่ใช้วิธีการท่องจำเข้าไป
๓. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓ ผู้เข้าสอบได้นำเครื่องมือสื่อสาร เพื่อใช้ส่งสัญญาณเฉลยข้อสอบ และมีการนำเฉลยข้อสอบ เข้าไปในห้องสอบ
๔. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ผู้เข้าสอบนำเฉลยข้อสอบเข้าไปในห้องสอบ
๕. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๒ ผู้เข้าสอบได้เฉลยข้อสอบมาทั้ง ๔ วิชา แต่ไม่ได้นำเข้าไปในห้องสอบ แต่ใช้วิธีการท่องจำเข้าไป
๖. จากการตรวจสอบคะแนนผู้ที่สอบได้ในเขตพื้นที่ต่างๆ ปรากฏว่าผลการสอบมีผู้ที่ทำคะแนนสอบได้สูงผิดปกติ จำนวน ๔๘๖ ราย จากผู้ที่สอบผ่านการคัดเลือกทั้งสิ้น ๙,๒๔๒ ราย แต่สามารถบรรจุได้จำนวน ๒,๑๖๑ ราย 
จากพยานหลักฐานดังกล่าวข้างต้น เชื่อว่าการสอบคัดเลือก เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖ มีการทุจริตจริง ดังนั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงขอให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณายกเลิกการสอบ เฉพาะพื้นที่ที่พบการทุจริตที่ชัดเจนดังกล่าว ได้แก่

๑) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๓
๒) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓
๓) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑
๔) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๒


แต่ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ควรจะต้องพิจารณาคะแนนของผู้ที่สอบว่ามีผลคะแนนสูงผิดปกติหรือไม่ ประกอบอีกด้วย

สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นๆ ที่มีผู้เข้าสอบและมีผลคะแนนสอบสูงผิดปกติ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น ๔๘๖ ราย กระทรวงศึกษาธิการและกรมสอบสวนคดีพิเศษ จะได้ร่วมกันตรวจสอบ หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีบุคคลหรือพยานหลักฐานชัดเจนว่ามีการทุจริตในการสอบดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ. สามารถดำเนินการ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๒๐๖.๖/ว ๑๒ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๕ ข้อ ๖ ซึ่งกำหนดไว้ว่า "การดำเนินการคัดเลือก หากปรากฏว่ามีการทุจริตหรือส่อไปในทางไม่สุจริตหรือดำเนินการผิดพลาดอันอาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาแก้ไขหรือยกเลิกการคัดเลือกในครั้งนั้นได้" และกรมสอบสวนคดีพิเศษจะได้ดำเนินคดีอาญากับผู้ที่กระทำการทุจริตต่อไป

อย่างไรก็ดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ เชื่อว่าการทุจริตสอบครูผู้ช่วยในครั้งนี้ มีการกระทำเป็นกระบวนการ ระหว่างเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และผู้เข้าสอบ และมีการเตรียมการมาตั้งแต่ต้น โดยมีพยานหลักฐาน ดังนี้

๑. มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการโดยกำหนดให้ส่วนราชการ สพฐ. เป็นผู้ดำเนินการออกข้อสอบ ซึ่งเดิมสำนักงานเขตพื้นที่จะเป็นผู้ดำเนินการออกข้อสอบและจัดสอบเอง
๒. มีการจัดทำข้อสอบ โดยจ้างบริษัท จันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด เป็นผู้จัดพิมพ์
๓. มีการจัดส่งข้อสอบ โดยจ้างบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ซึ่งเดิมสำนักงานเขตพื้นที่จะมารับข้อสอบเอง
๔. มีการสั่งให้บุคคลไปสมัครสอบต่างพื้นที่และยังให้ไปสมัครในพื้นที่อื่นอีกก่อนที่จะมีการสอบ (วันที่ ๖-๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ)
๕. มีการจัดผังที่นั่งสอบใหม่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ที่เข้าสอบ
๖. มีการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือ(โทรศัพท์) ก่อนมีการสอบ ๒ วัน (วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๖)
๗. มีการส่งเฉลยข้อสอบมาให้ก่อนวันสอบ ๑ วัน (คืนวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๖)
๘. มีการให้จดเฉลยข้อสอบเพื่อท่องเข้าไปในห้องสอบโดยได้เฉลยก่อนวันสอบ ๑ วัน (วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๖)
๙. มีการจดเฉลยข้อสอบเข้าไปในห้องสอบ (วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๖)

อนึ่ง เนื่องจากลักษณะการกระทำความผิดดังกล่าวไม่อยู่ในบัญชีท้ายแห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงจะได้เสนอคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) เพื่อมีมติให้คดีความผิด กรณีทุจริตการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นคดีพิเศษ ในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๖

ทั้งนี้ สื่อมวลชนได้สอบถามผลการสืบสวนดังกล่าวของ DSI ว่ามีความเชื่อมโยงกับผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ.หรือไม่ โดย รมช.ศธ. ได้กล่าวว่า DSI ยังไม่ได้ระบุชัดว่าเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูง เพียงแต่บอกว่าเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง ซึ่งเข้าใจว่ายังมีการสืบสวนไม่เสร็จสิ้น จึงยังไม่ได้มีการวิเคราะห์เรื่องนี้ ดังนั้นเมื่อผลออกมาแบบนี้คงจะยังไม่พิจารณาการโยกย้ายใคร เพราะต้องดูหลักฐานให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม 



ชงโละผล"ครูผช." 5 เขต

'ธาริต'เลื่อนสรุปผลสอบทุจริตครูผู้ช่วยเป็น 20 มี.ค. พร้อมแถลงร่วมกับ'รมช.ศธ.' ก่อนชง'กคพ.'รับเป็นคดีพิเศษ 27 มี.ค. หวังลุยเปิดโปงทั้งแก๊ง 
ความคืบหน้ากรณีนายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีปัญหาการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ว12 ชุดที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. แต่งตั้ง เตรียมนำผลวิเคราะห์ข้อมูลผู้สอบคัดเลือกครูผู้ช่วยที่มี คะแนนสูงผิดปกติ 514 คน ซึ่งชัดเจนว่าส่อ ทุจริต เสนอนายเสริมศักดิ์ เพื่อนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในวันที่ 22 มีนาคม นี้นั้น 
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม นายเสริมศักดิ์เปิดเผยว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ยังไม่ได้ส่งข้อมูลผลการสอบสวนทุจริตสอบบรรจุครูผู้ช่วยมาให้ตามที่ตกลงกันไว้ เพราะต้องการเสนอให้อธิบดีดีเอสไอพิจารณาก่อน และคาดว่าวันที่ 19 มีนาคม ดีเอสไอจะส่งข้อมูลมาให้ อย่างไรก็ตาม ทราบเบื้องต้นว่าดีเอสไอได้วิเคราะห์ข้อมูลว่ามีผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 2 ราย น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ ซึ่งถ้าผลสอบของดีเอสไอชี้ชัดว่ามีใครเข้าไปเกี่ยวข้องบ้าง จะต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย และต้องให้ผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ.ทั้ง 2 ราย ออกจากตำแหน่งเดิมด้วย ไม่ว่า จะอยู่ในตำแหน่งใด ถ้าเป็นผู้บริหารระดับสูงมากก็ให้ไปช่วยราชการชั่วคราวที่สำนักนายก รัฐมนตรีได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ผลการสอบสวนออกมาโปร่งใส 
นายเสริมศักดิ์กล่าวต่อว่า กรณีของผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและมีคะแนนสูงผิดปกติ 514 รายนั้น จะเสนอให้ที่ประชุม ก.ค.ศ.ตัดสินในวันที่ 22 มีนาคมนี้ โดยจะนำข้อมูลของดีเอสไอมาเสนอประกอบการพิจารณาด้วย ซึ่งตนและนาย พงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ยึดหลักกฎหมายด้วยความเที่ยงธรรม ไม่กลั่นแกล้งใคร ฉะนั้น คนที่ทำผิดจะต้องได้รับการพิจารณาด้วยความถูกต้องเที่ยงธรรม ส่วนคนที่ไม่ผิดและถือเป็นผู้บริสุทธิ์ คงไม่ยกเลิกผลการสอบของคนด้วยความถูกต้องเที่ยงธรรม ส่วนคนที่ไม่ผิดและถือเป็นผู้บริสุทธิ์ คงไม่ยกเลิกผลการสอบของคนกลุ่มนี้แน่นอน 
"ดีเอสไอได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ขอนแก่น เขต 3, สพป.ยโสธร เขต 1 และ สพป.อุดรธานี เขต 1 ได้ข้อสรุปว่ามีการทุจริตจริง แต่การจะยกเลิกผลสอบจะต้องดูรายละเอียด ซึ่งผมได้ขอให้ ก.ค.ศ.ช่วยดูว่ามีกฎหมายอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการสอบ เช่น กรณีเขตพื้นที่ฯมีอัตราบรรจุครู ผู้ช่วย 5 คน และมีทุจริตการสอบ 3 คน ถามว่าจะต้องยกเลิกผลสอบ 3 คน ส่วนอีก 2 คนที่เหลือที่ไม่ผิดจะทำอย่างไร หรือจะเลื่อนผู้ที่สอบได้ในลำดับถัดไปขึ้นมาแทนคนที่ถูกยกเลิกได้หรือไม่ ทั้งหมดนี้ได้ให้ ก.ค.ศ.ช่วยดูอยู่ ทั้งนี้ การตรวจสอบทุจริตครั้งนี้เฉพาะกรณี 514 ราย ที่มีคะแนนสูงผิดปกติ ขั้นตอนต่อไปอาจจะต้องตรวจสอบกลุ่มที่ได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 90 ลงมาถึงร้อยละ 80 เพราะอาจเป็นไปได้ว่ากลุ่มเหล่านี้อาจจะทุจริตด้วย" นายเสริมศักดิ์กล่าว 
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 19 มีนาคม จะเสนอโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. 2 รายดังกล่าวหรือไม่ นายเสริมศักดิ์กล่าวว่า คงยังไม่เสนอ เพราะต้องรอดูข้อมูลดีเอสไอก่อน 
เมื่อถามว่า กรณีมีกระแสข่าวว่ามีผู้บริหารใน ศธ.บางคนวิ่งเต้นเพื่อให้หลุดจากข้อกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในขบวนการทุจริต โดยขอให้นักการเมืองในพรรครัฐบาลช่วย นอกจากนี้ มีกระแสข่าวมีนักการเมืองระดับชาติที่มีชื่ออยู่ใน ขบวนการทุจริตกำลังหาทางให้นายพงศ์เทพ และนายเสริมศักดิ์พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีใน ศธ. และจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ศธ.เอง เพื่อไม่ให้ผู้มีรายชื่ออยู่ในขบวนการทุจริตต้องถูกดำเนินการ นายเสริมศักดิ์กล่าวว่า ไม่เป็นไร ต้องยึดความ ถูกต้อง 
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สัปดาห์นี้ดีเอสไอจะเสนอผลการตรวจสอบเรื่องนี้ให้ ศธ.พิจารณาดำเนินการต่อไป ส่วน สพฐ.จะรวบรวมข้อมูลและรายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุม ก.ค.ศ.ในวันที่ 22 มีนาคมนี้ด้วย 
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้เตรียมการจัดสอบใหม่หรือไม่ นายชินภัทรกล่าวว่า ยังไม่มี คงต้องรอฟังก่อนว่า ก.ค.ศ.จะมีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้อย่างไร และยังไม่ทราบด้วยว่าข้อสรุปของดีเอสไอจะให้ยกเลิกเป็นเขตพื้นที่ฯ หรือรายบุคคล 
นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ที่นายเสริมศักดิ์ระบุว่ามีผู้ที่ผ่านการคัดเลือก และได้รับการบรรจุบางคนได้คะแนนในภาพรวมอันดับที่ 800 กว่า และได้คะแนนศูนย์ในบางชุดวิชา แต่กลับผ่านการคัดเลือกนั้น ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะมี เพราะวิชาเอกที่มีผู้เข้าสอบมากสุดมี 2 วิชาเอก ซึ่งจำนวนมากสุดอยู่ที่ 400 กว่าคน ส่วนการประกาศคะแนนจำแนกเป็นสาขาวิชาเอก ฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่คนในลำดับ 800 กว่าจะได้รับการเรียกบรรจุ ถ้ามีจริงๆ ก็เป็นความผิดพลาดของเขตพื้นที่ฯ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ สพฐ.ได้ พยายามทำดีที่สุดแล้ว 
"สพฐ.ได้ทำเต็มที่แล้ว หากจะถูกย้ายก็แล้วแต่ จะทำอย่างไรได้ ในเมื่อทำเต็มที่แล้ว ถือเป็นเรื่องปกติของราชการ แต่ผมยืนยันได้ว่าตัวเองไม่ได้เกี่ยวข้องกับขบวนการทุริตแน่นอน ไม่เคยเห็นข้อสอบหรือตัวเฉลย ยืนยันว่าทุกขั้นตอนทำอย่างรอบคอบ รัดกุม ให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกคนมากที่สุดแล้ว แต่หากผลสอบของดีเอสไอพบว่ามีคนจากส่วนกลางเข้าไปเกี่ยวข้อง ก็ว่ากันไปตามข้อเท็จจริง ถ้าดีเอสไอสาวไปถึงใครก็ไม่ควรละเว้น ใครทำผิดก็สมควรถูกลงโทษ" นายอนันต์ กล่าว 
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า ได้ประชุมเบื้องต้นกับพนักงานสอบสวนกรณีการทุจริตสอบบรรจุครู ผู้ช่วย พบว่ายังมีเอกสารบางส่วนที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม เพื่อความรอบคอบ ดังนั้น ผลการสรุปคงยังไม่สามารถส่งไปยัง ศธ.ได้ภายในวันที่ 19 มีนาคม คาดว่าจะสรุปผลและแถลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มีนาคม และในวันเดียวกันนั้นทางการในวันที่ 20 มีนาคม และในวันเดียวกันนั้นจะส่งสรุปอย่างเป็นทางการไปยัง ศธ.พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป 
นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามทุจริต ดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าชุดพนักงานสอบสวนกรณีการทุจริตสอบบรรจุครูผู้ช่วย กล่าวว่า พนักงานสอบสวนจะสรุปผลเพื่อส่งให้ ศธ.ในวันที่ 20 มีนาคม และ ในวันเดียวกันนั้นได้เชิญนายเสริมศักดิ์มาร่วมแถลงผลการสอบสวนกรณีการทุจริตสอบบรรจุครูผู้ช่วยกับดีเอสไอด้วย ซึ่งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นชัดเจนว่าสามารถประกาศยกเลิกผลการสอบได้บางเขตพื้นที่ประมาณ 5 เขตพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะมีหลักฐานการทุจริตชัดเจน ส่วนการถอดถอนการบรรจุกลุ่มต้องสงสัย จำนวน 486 ราย ที่ได้คะแนนสูงผิดปกติ ทางดีเอสไอเสนอให้มีการตรวจสอบภายหลังจากเสนอเป็นคดีพิเศษให้คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ลงมติในวันที่ 27 มีนาคมนี้ ซึ่งทั้งหมดจะถูกเรียกมาสอบปากคำอย่างละเอียด หากรายใดปรากฏหลักฐานว่าทุจริต ดีเอสไอจะเสนอให้ สพฐ.ปลดออกจากราชการตามระเบียบ ทั้งนี้ หาก กคพ.อนุมัติเป็นคดีพิเศษ ทางดีเอสไอก็จะใช้อำนาจตามกฎหมายดีเอสไอ เต็มรูปแบบลงไปสอบสวนเชิงลึกการทุจริตทั้งขบวนการ 
รายงานข่าวแจ้งว่า ดีเอสไอจะสรุปเรื่องเสนอ กคพ.อนุมัติรับเป็นคดีพิเศษ โดยจะเชื่อมโยงให้เห็นว่ากรณีนี้มีกลุ่มเครือข่ายเชื่อมโยงกับกลุ่มคนหลายกลุ่ม และมีการปฏิบัติการเป็นขบวนการ ซึ่งจากการสอบปากคำพยานหลายปากพบว่ามีข้าราชการระดับสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น ดีเอสไอต้องรวบรวมหลักฐานและความเชื่อมโยงให้ กคพ.เห็นลักษณะการทุจริตเป็นภาพรวมทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน


ดีเอสไอมีชื่อแก๊งค์ทุจริตครูแล้ว มีทั้งขรก.ระดับล่าง-สูง

ดีเอสไอแย้มแก๊งทุจริตสอบครู มีทั้งขรก.ระดับล่าง-สูง
"ธาริต" เผย ดีเอสไอสรุปผลสอบขบวนการทุจริตสอบครูผู้ช่วยเบื้องต้นวันนี้ มีพฤติการณ์ 3 รูปแบบ คือ การให้ข้อสอบก่อน, ใช้เครื่องมือสื่อสาร และจัดคนเข้าสอบแทน มีรายชื่อ ขรก.ทั้งระดับล่าง-สูง เกี่ยวข้อง โดย "เสริมศักดิ์" รมช.ศธ.จะเป็นผู้แถลงรายละเอียดในวันที่ 20 มี.ค. ระบุจะเสนอให้เป็นคดีพิเศษด้วย...

เมื่อวันที่ 19  มี.ค. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยความคืบหน้าการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วย ว่า ดีเอสไอจะสรุปผลสอบเบื้องต้นวันนี้ (19 มี.ค.) ซึ่งมีความชัดเจนแล้วว่า การทุจริต มีพฤติการณ์ 3 รูปแบบ คือ การให้ข้อสอบก่อน การใช้เครื่องมือสื่อสาร และการจัดคนเข้าสอบแทน

นายธาริต กล่าวต่อว่า จะเสนอผลสอบไปให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีคำสั่งยกเลิกการสอบเป็นรายเขต เบื้องต้นมี 4-5 แห่ง ส่วนผู้เกี่ยวข้องพบมีหลายระดับ เป็นขบวนการ ซึ่งดีเอสไอมีรายชื่อเชื่อมโยงทั้งเจ้าหน้าที่ระดับล่างและระดับสูง แต่ต้องให้ความเป็นธรรม จึงขอให้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้แถลงต่อสื่อมวลชนที่ดีเอสไอ ในวันพรุ่งนี้ (20 มี.ค.) โดยคณะพนักงานสอบสวนที่ลงพื้นที่สอบในเรื่องนี้จะร่วมให้ข้อมูลด้วย

อย่างไรก็ตาม หลังจากมอบข้อมูลให้กระทรวงศึกษาธิการแล้ว ดีเอสไอจะเสนอคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ให้เป็นคดีพิเศษ เพื่อใช้มาตรการพิเศษ ในการสืบสวน สะกดรอยเชิงลึกต่อไป.


ที่มา ไทยรัฐ วันที่ 19 มีนาคม 2556, 12:33 น.



ดีเอสไอแย้มผลสอบทุจริตสอบครูผู้ช่วยส่อยกเลิกเฉพาะอีสาน 4-5 แห่ง

เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ ผอ.ศูนย์ป้องกันและปราบปรามทุจริต กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบทุจริตครูผู้ช่วยว่า ในวันนี้ศูนย์ป้องกันและปราบปรามทุจริตได้ประชุมเพื่อตรวจสอบและประมวลหลักฐานที่ได้จากการลงพื้นที่สอบปากคำพยานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัด ขณะนี้ได้รายละเอียดมาแล้วระดับหนึ่ง หลังจากนี้จะเสนอเป็นรายงานให้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ รับทราบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น 4-5 แห่ง เฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอาจเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการยกเลิกการสอบเป็นบางพื้นที่ อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้ขณะนี้ยังเป็นเพียงการสืบสวนเท่านั้น เนื่องจากดีเอสไอไม่มีอำนาจสอบสวนคดีทุจริตสอบจึงมีความจำเป็นต้องเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ(กคพ.) มีมติรับเป็นคดีพิเศษก่อน อย่างไรก็ตาม อำนาจการชี้ขาดเป็นของกระทรวงศึกษาธิการ โดยในวันที่ 20 มี.ค.นี้ดีเอสไอได้เชิญนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมแถลงข่าวถึงผลสอบเบื้องต้นอย่างเป็นทางการต่อไป


นายธาริตกล่าวว่า ในวันที่ 19 มี.ค. ศูนย์ป้องกันและปราบปรามทุจริตจะเสนอรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวกับตน เบื้องต้นยืนยันว่าการตรวจสอบของดีเอสไอพบการทุจริตเพียงบางพื้นที่ประมาณ 4-5 แห่งเท่านั้น โดยจะเสนอข้อมูลต่อนายเสริมศักดิ์ และจะมีการแถลงข่าวร่วมกันอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ทีดีเอไสอจะเสนอให้กคพ.รับเป็นคดีพิเศษในการประชุมกคพ.ในวันที่ 27 มี.ค.นี้. 

ที่มา เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2556

สรุปผลสอบ "514 ครูผช." ชี้ทุจริตชัด! ยื่นก.ค.ศ.ลงดาบ 22 มี.ค. ดีเอสไอฟันธงผิด 3 กระทง


ชง'เสริมศักดิ์'ผู้สอบครูช่วย 514 คนทุจริตชัด เผยผลวิเคราะห์เก่งเหลือเชื่อ วิชาสุดหิน 'พละ-อังกฤษ'ยังได้เต็ม 
การตรวจสอบกรณีทุจริตสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ว12 เมื่อวันที่ 13 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งปรากฏรูปแบบพฤติการณ์การโกงในหลายรูปแบบ และอยู่ระหว่างกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ทำการสอบสวนและรวบรวมข้อมูล โดยจะนำข้อสรุปเสนอกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อพิจารณายกเลิกการสอบเป็นรายเขตพื้นที่ฯ ในวันที่ 18 มีนาคม ขณะที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. จะประมวลผลการสอบสวนของดีเอสไอและหารือกับนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ก่อนพิจารณาว่าจำเป็นต้องโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงใน สพฐ.ออกจาก สพฐ. เพื่อเปิดทางการสอบสวนหรือไม่นั้น 
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการ ศธ. ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีปัญหาการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว12 ชุดที่นายเสริมศักดิ์ แต่งตั้ง เปิดเผยว่า หลังจากสรุปข้อมูลให้ดีเอสไอและนายเสริมศักดิ์หมดแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯก็จะยุติบทบาท ยกเว้นนายเสริมศักดิ์จะมอบหมายให้ดำเนินการต่อในบางสอบข้อเท็จจริงฯก็จะยุติบทบาท ยกเว้นนายเสริมศักดิ์จะมอบหมายให้ดำเนินการต่อในบางเรื่อง ซึ่งในประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) วันที่ 22 มีนาคม ซึ่งจะมีการพิจารณายกเลิกการสอบเป็นรายเขตพื้นที่ฯ ก็พร้อมจะเข้าไปให้ข้อมูลต่อที่ประชุมด้วย 
นายพิษณุกล่าวต่อว่า ในวันที่ 18 มีนาคม จะนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลผู้สอบคัดเลือกครูผู้ช่วยที่มีคะแนนสูงผิดปกติ 514 คนให้กับนายเสริมศักดิ์ ซึ่งมีความชัดเจนว่า ทั้ง 514 คนมีการทุจริตแน่นอน แต่ต้องให้ ที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณาตัดสินว่าจะมีมติ ออกมาเช่นไร 
ผู้ที่ได้คะแนนสูงผิดปกติกลุ่มนี้ เมื่อวิเคราะห์ตามสถิติข้อมูล ไม่น่าเป็นไปได้ที่จะได้คะแนนสอบในภาค ก เต็มใน 4 ชุดวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น บางคนได้คะแนนใน 4 ชุดวิชา 48-49- 50-50 คะแนน แม้คนที่เรียนเก่งมากๆ ก็คงไม่สามารถทำคะแนนได้มากขนาดนี้ และที่น่าสงสัยในบางวิชาเอก เช่น พลศึกษาซึ่งเป็นสาขาวิชาที่เน้นการปฏิบัติและยากมากที่จะมีผู้สอบได้คะแนนเต็ม แต่ครั้งนี้มีผู้ที่ได้คะแนนเต็ม หรือแม้แต่วิชาเอกภาษาอังกฤษก็มีคนได้คะแนนเต็มด้วย นอกจากนี้เมื่อมาดูความยากง่ายของข้อสอบแต่ละฉบับ สพฐ.เคยระบุว่ามีความยากง่ายสลับกันไป ฉะนั้นจึงไม่น่าได้คะแนนเต็มมากขนาดนี้ 
นายพิษณุกล่าว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ที่สอบบรรจุได้ด้วยตนเอง จะได้คะแนนในแต่ละชุดวิชา 30 กว่าคะแนนเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีใครได้มากกว่า 40 คะแนนหรือได้คะแนนในแต่ละชุดวิชา 30 กว่าคะแนนเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีใครได้มากกว่า 40 คะแนนหรือได้คะแนนเต็มเลย และเมื่อรวมคะแนนใน 4 ชุดวิชาจะได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไป แต่จะไม่เกินร้อยละ 80 ดังนั้น เมื่อเทียบคะแนนของผู้สอบได้ปกติกับกลุ่ม 514 คนที่เชื่อว่าทุจริต คะแนนจะแตกต่างกันมาก และเมื่อพิจารณาในภาพรวมของการสอบบรรจุครูผู้ช่วยครั้งนี้ ซึ่งมีตำแหน่งว่างบรรจุได้ประมาณ 2,400 ตำแหน่ง น่าจะมีผู้ที่ทุจริตสอบบรรจุได้ประมาณร้อยละ 25 
ผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ภายหลังผู้สมัครสอบครูผู้ช่วยที่ยอมจ่ายเงิน ร่วมมือในการให้ข้อมูลกับดีเอสไอเพื่อแลกกับการกันเป็นพยาน เพื่อไม่ต้องถูกดำเนินคดี ทำให้ขณะนี้กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตสอบวิตกกังวลใจอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ขอนแก่น เขต 4 และ สพป.ขอนแก่น เขต 3 มีระดับผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่ฯ 1 คน และผู้อำนวยการโรงเรียนหลายคน โดยมีเจ้าหน้าที่ในสพป.คนหนึ่งทำหน้าที่หาลูกค้าที่เป็นพนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง ทำให้การสอบที่ผ่านมามีพนักงานราชการ ครูอัตราจ้างของหลายโรงเรียนใน จ.ขอนแก่น สอบได้ยกโรงเรียน เช่น โรงเรียนบ้านคำแมด กิ่งอำเภอซำสูง สอบได้ทั้งหมด 2 คน โรงเรียนทุ่งใหญ่รัตนศึกษา สอบได้ 6 คน และโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม อ.กระนวน สอบได้หมด 2 คน 
"มีพนักงานราชการในโรงเรียนคนหนึ่งทำงานมา 10 กว่าปี สอบกี่ครั้งก็ไม่ผ่าน แต่คราวนี้สอบผ่าน เพราะไปจ่ายเงินมา 4 แสนกว่าบาท เจ้าตัวมาพูดเอง ส่วนพนักงานราชการที่ไปเสียเงินให้กับขบวนการทุจริต พอได้เฉลยคำตอบมาก็นำไปขายต่อให้กับคนอื่น แต่ก็สอบบรรจุในคราวนี้ไม่ได้ เพราะไปชนกับคนที่ได้เฉลยมาเหมือนกัน" ผู้อำนวยการโรงเรียนคนเดิมกล่าว 
นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีนายเสริมศักดิ์ระบุว่าเคยมอบหมายให้ไปตรวจสอบข่าวลือก่อนหน้านี้ว่า จะมีการทุจริต โดยยอมรับ นายเสริมศักดิ์ สั่งการจริงและได้ไปตรวจสอบแล้ว แต่ไม่พบการทุจริต อาจเป็นเพราะไม่มีแหล่งข้อมูล เชิงลึก ดังนั้นหากจะกล่าวหา สพฐ.ว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คงไม่ได้ เพราะได้ทำตามหน้าที่ และให้เกิดความเป็นธรรมอย่างดีที่สุดแล้ว หน้าที่ และให้เกิดความเป็นธรรมอย่างดีที่สุดแล้ว 
"จะหาว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างไร ในเมื่อคำว่า ละเว้น หมายถึงมีหน้าที่ แต่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ แต่ในที่นี้ หน้าที่ของ สพฐ.คือ ออกข้อสอบ ตรวจกระดาษคำตอบ ประมวลผลการสอบ หากปรากฏว่ามีการทุจริตหรือส่อไปในทางไม่สุจริต ให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาแก้ไขหรือยกเลิกการคัดเลือกในครั้งนั้นได้ ถามว่า สพฐ.จะละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อย่างไร ในเมื่อหน้าที่การยกเลิกเป็นของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ไม่ใช่ของ สพฐ." รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว 
นายอนันต์กล่าวด้วยว่า เชื่อมั่นว่าข้อสอบไม่ได้รั่วมาจากส่วนกลาง เพราะไม่ได้เห็นข้อสอบ เห็นแต่รหัส แล้วตัวเฉลยก็ทำขึ้นหลังจากการที่ส่งข้อสอบไปยังเขตพื้นที่ฯแล้ว 2 วัน ส่วนว่าจะรั่วทางไหน คงต้องไปตรวจสอบว่าจุดไหนที่จะเป็นไปได้ 
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีบัตรสนเท่ห์โจมตีผู้อำนวยการสำนักฯใน สพฐ.คนหนึ่ง ระบุว่าเมื่อต้นเดือนมีนาคม นำเงินสด 2 ล้านบาทไปชำระหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา ที่กู้ยืมเงินก่อนดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักฯ ถ้าดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษแล้วลงมาตรวจสอบเส้นทางการเงินของผู้บริหารส่วนกลางทุกคน พร้อมให้ตรวจสอบหรือไม่ นายอนันต์กล่าวยืนยันว่า พร้อมให้ตรวจสอบทุกบัญชี และให้ตรวจย้อนหลัง 2-3 ปีด้วย เพราะมั่นใจในความบริสุทธิ์ว่าไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการทุจริตแน่นอน 
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้มีบัตรสนเท่ห์ส่งถึงสื่อมวลชน ระบุว่า เมื่อต้นเดือนมีนาคม มีผู้อำนวยการสำนักฯสพฐ. คนหนึ่ง หอบเงินสด 2 ล้านบาทมาใช้หนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา ที่กู้ยืมไปช่วงก่อนการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักฯ 
ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า ในวันที่ 18 มีนาคม ดีเอสไอจะไอ กล่าวว่า ในวันที่ 18 มีนาคม ดีเอสไอจะสามารถส่งผลสรุปการสอบสวนถึงกระทรวงศึกษาธิการได้ตามที่รับปากไว้ โดยพบว่ามีการทุจริตด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ 1.มีการเฉลยข้อสอบก่อนทำการสอบให้แก่ผู้สอบที่จ่ายเงิน 2.มีการใช้เครื่องมือสื่อสารเฉลยข้อสอบขณะนั่งสอบ 3.มีการสอบแทนกัน ดีเอสไอจะไม่เสนอให้มีการยกเลิกการสอบทั้งหมด แต่เสนอยกเลิกเฉพาะพื้นที่ที่ทุจริตชัดเจน หรืออาจเสนอให้เพิกถอนผู้กระทำความผิดที่ได้รับการบรรจุเป็นรายคน ส่วนใครที่ยังสอบสวนไปยังไม่พบความผิดก็จะดำเนินการต่อไป เมื่อพบความผิดก็สามารถเสนอให้มีการเพิกถอนผลการสอบรายบุคคลในอนาคต 
ที่ จ.นครราชสีมา นายอดิศร เนาวนนท์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาฐานะประธานคณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กล่าวว่า การทุจริตสอบครูที่เกิดขึ้นมิใช่เป็นครั้งแรก ดังนั้น รัฐบาลต้องเอาจริงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีพยานหลักฐานชัดเจน หากไม่สามารถเอาผิดกับบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีตำแหน่งใน สพฐ. และอยู่เบื้องหลังขบวนการทุจริตได้ สังคมจะหมดศรัทธากับอาชีพครู จึงขอฝากความหวังกับดีเอสไอเอาผิดกับขบวนการทำลายความเชื่อมั่นของอาชีพครู เป็นอันตรายต่อสังคมและประเทศชาติ




"เสริมศักดิ์" ขอเวลาสอบต่อ สาวถึงต้นตอทุจริตสอบครูผู้ช่วย


นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เตรียมนำผลการสอบสวนเบื้องต้นจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วยในวันที่ 18 มีนาคมนี้ มาพิจารณาเพิ่มเติมจากที่กระทรวงศึกษาธิการได้สืบสวน โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พิจารณาระเบียบกฏหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น หากยกเลิกผลการสอบครูผู้ช่วยในบางพื้นที่ ซึ่งพื้นที่นั้นผู้ที่สอบบรรจุได้อาจไม่ได้ทุจริตทั้งหมด จะสามารถคุ้มครองผู้ไม่ได้ทุจริตอย่างไร การเลื่อนลำดับผู้มีสิทธิที่มีคะแนนรองลงมา ซึ่งต้องมีการพิจารณาแล้วว่าผู้ที่มีคะแนนรองลงมานั้น ไม่เกี่ยวข้องกับขบวนการทุริตดังกล่าว

ส่วนการโยกย้ายผู้บริหารระดับผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษานั้น ถือเป็นเรื่องการอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบ ซึ่งหลังจากนี้ต้องให้เวลาทั้ง ศธ.และดีเอสไอ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในอีกหลายประเด็น ทั้งที่มีผู้ได้คะแนนสอบสูงผิดปกติเป็นจำนวนมาก พฤติการณ์ของส่วนกลางที่ดำเนินการเกินหน้าที่ เช่น การให้แต่ละเขตพื้นที่ ยื่นผลคะแนนภาค ข ซึ่งเป็นคะแนนเฉพาะตัวบุคคล มาที่ส่วนกลาง ทั้งที่ปกติ ส่วนกลางมีหน้าที่ตรวจข้อสอบภาค ก ส่งให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษารวมคะแนนเอง จึงอาจเป็นไปได้ว่านำคะแนนดังกล่าวไปใช้ประเมินผลคะแนนรวมของผู้ที่จะสามารถสอบบรรจุได้ มีการแจ้งจากส่วนกลางให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาไม่ต้องเข้ามารับข้อสอบ แต่จะมีการส่งไปรษณีย์ไปให้ การเพิกเฉยหลังพบการทุจริตนำโพยและเครื่องมือเข้าห้องสอบใน จ.อุดรธานี และยโสธร และยื่นเรื่องมาให้ส่วนกลางแล้ว

ทั้งนี้ นายเสริมศักดิ์ยืนยันว่า จะต้องสอบสวนไปถึงต้นตอของขบวนการทุจริตดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย.



DSIพบโกงสอบครู 3 แบบชง ศธ. ยกเลิกพื้นที่ผิดชัด,รายคน



อธิบดีดีเอสไอ เผย คืบคดีทุจริตสอบบรรครูผู้ช่วย สรุปผลการสอบให้ ศธ. พรุ่งนี้ จะเสนอยกเลิกบางพื้นที่ ที่กระทำความผิดเท่านั้น
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ กล่าวถึงความคืบหน้า การตรวจสอบทุจริตครูผู้ช่วย ว่า เมื่อสัปดาห์ก่อน ดีเอสไอ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ ที่ได้รับการร้องเรียน พบว่า มีความผิดชัดเจนใน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย การเฉลยข้อสอบก่อนเข้าสอบ ให้ผู้ที่จ่ายเงินในการเข้าสอบ, มีการใช้เครื่องมือสื่อสารเข้าไปในห้องสอบ และการเข้าสอบแทนกัน

ทั้งนี้ ดีเอสไอ จะประชุมสรุปผลการตรวจสอบ ให้กระทรวงศึกษาธิการ ในวันพรุ่งนี้ (18 มี.ค. 56) โดยในเบื้องต้น ดีเอสไอ จะไม่เสนอให้ กระทรวงศึกษาธิการ ยกเลิกการสอบในทุกพื้นที่ แต่จะเสนอให้ยกเลิกการสอบเฉพาะพื้นที่ ที่พบการกระทำผิดชัดเจน และเพิกถอนการกระทำผิดเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ การที่ไม่ยกเลิกการสอบทุกพื้นที่แบบเหมาเข่ง เพื่อไม่ให้ผู้ที่ทำการสอบอย่างสุจริตต้องได้รับความเดือดร้อนไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ดีเอสไอ จะมีการประชุมกันในวันพรุ่งนี้ (18 มี.ค. 56) ว่า มีพื้นที่ใดบ้างที่พบความผิดชัดเจนก่อนจะสรุปข้อมูลส่งให้ กระทรวงศึกษาธิการต่อไป 



การศึกษา มติชนสุดสัปดาห์ 
ลุ้นผลสอบทุจริต "ครูผู้ช่วย" โยง "นักการเมือง-บิ๊ก สพฐ.-ขรก."?

กลายเป็นปัญหาลุกลามใหญ่โตสำหรับการ "ทุจริต" สอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว12 ที่สอบไปเมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา

หลังจาก "มติชน" ได้รับการร้องเรียน และมีผู้ให้ข้อมูลว่า "พนักงานราชการ" คนหนึ่ง มีรายชื่อผ่านการคัดเลือกใน 2 เขตพื้นที่การศึกษา

ซึ่งตรวจพบภายหลังคือ "นายภานุวัฒน์ ชัยวงค์" พนักงานราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) แห่งหนึ่งใน จ.ชัยภูมิ มีรายชื่อผ่านการคัดเลือกในลำดับที่ 1 กลุ่มวิชาเอกภาษาไทย ที่ สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 และลำดับที่ 15 กลุ่มวิชาเอกทั่วไป ที่ สพป.ขอนแก่น เขต 3

ล่าสุด ผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดที่ "นายพิษณุ ตุลสุข" ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน ซึ่งแต่งตั้งโดย "นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช" รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. ได้ข้อมูลที่ยืนยันถึงขบวนการทุจริตสอบครั้งนี้

และได้ส่งข้อมูลไปให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อสืบสวนขยายผล โดยเฉพาะกรณีพบผู้ที่ผ่านการคัดเลือก และมีคะแนนสูงผิดปกติถึง 486 คน ใน 60 จังหวัดทั่วประเทศ



จากข้อมูลของคณะกรรมการชุดดังกล่าว และการยืนยันของดีเอสไอ โดย "นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์" ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าชุดสอบสวนการทุจริตสอบคัดเลือกครูผู้ช่วย เชื่อว่า "มี" ทุจริตสอบครูผู้ช่วยจริงใน 3 รูปแบบ คือ

1. ให้บุคคลอื่นสอบเข้าแทน

2. นำข้อสอบออกมา และเฉลยข้อสอบเพื่อให้ท่องจำ

และ 3. นำเครื่องมือสื่อสารเข้าในห้องสอบ โดยดีเอสไอจะส่งผลสอบทั้งหมดให้ ศธ. ในวันที่ 18 มีนาคมนี้

นอกจากนี้ ยังพบข้อสงสัยที่อาจเป็นช่องโหว่ของการสอบครูผู้ช่วย อาทิ การส่งข้อสอบไปยังเขตพื้นที่ฯ ทางไปรษณีย์ จากเดิมวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 สพฐ.ได้ทำหนังสือเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการสอบฯ แจ้งไปยังเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ และให้เขตพื้นที่ฯ ส่งรายชื่อคณะกรรมการที่จะมารับข้อสอบในวันที่ 12 มกราคม ที่ส่วนกลาง และวันที่ 14 มกราคม ให้ส่งคืนกระดาษคำตอบหลังสอบเสร็จ 1 วัน แต่ได้ปรับเปลี่ยนให้ส่งข้อสอบทางไปรษณีย์แทน จนทำให้ข้อสอบไปถึงเขตพื้นที่ฯ ก่อนประมาณ 1-2 วัน เป็นต้น

ส่วน "รูปแบบ" การทุจริตที่ประมวลจากผลการสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ ศธ. และดีเอสไอ มีดังนี้

1. ข้อสอบรั่ว 33 ชุดจากส่วนกลาง มีผู้นำข้อสอบชุดที่ 1 ความรู้ทั่วไป (รหัส 101) ชุดที่ 2 ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (รหัส 200) มีวิชาเอก 30 วิชา ชุดที่ 3 ความถนัดและเจตคติต่อวิชาชีพครู (รหัส 301) และชุดที่ 4 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู (รหัส 401) รวม 33 ชุด จากส่วนกลางออกไปให้ขบวนการทุจริตที่อยู่ในเครือข่ายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เพื่อนำไปเฉลย และแจกจ่ายให้ผู้จ่ายเงินทุจริตสอบ

2. เอเย่นต์หาลูกค้า เครือข่ายต่างๆ จะทำหน้าที่เป็นเอเย่นต์ โดยจะโทรศัพท์ไปทาบทามพนักงานฯ ที่สมัครสอบครูผู้ช่วย ซึ่งจะมีรายชื่อพนักงานฯ ในแต่ละเขตพื้นที่ฯ และจะตกลงจ่ายเงินตั้งแต่ 4-7 แสนบาท ขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่ฯ ที่ต้องการบรรจุ หากเป็นเขตพื้นที่ฯ ที่สังกัดอยู่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในอัตราสูงกว่าพื้นที่ไกลออกไป

3. จัดสรรพื้นที่สอบ โดยขบวนการทุจริตจะจัดสรรพนักงานฯ ที่ยินยอมจ่ายเงินทุจริตไปสมัครยังเขตพื้นที่ฯ ต่างๆ เพื่อไม่ให้สอบแข่งขันกันเอง และพนักงานฯ บางคนถูกขอให้สมัครสอบ 2 เขต เพื่อส่ง ""มือปืน" เข้าไปสอบแทนในอีกเขตพื้นที่ฯ

4. อบรมการใช้อุปกรณ์ และการส่งสัญญาณ ก่อนสอบเพียง 1 วัน ขบวนการทุจริตจะนัดแนะผู้จ่ายเงินให้ไปรวมกันที่โรงแรมแห่งหนึ่งที่เป็นจุดนัดพบ เพื่อทดสอบการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์สื่อสารระบบสั่น และโทรศัพท์มือถือ เพื่อรับคำเฉลย เมื่อจะเริ่มเฉลยคำตอบจะส่งสัญญาณยาว 1 ครั้งให้เตรียมตัว จากนั้นถ้าตอบข้อ ก จะส่งสัญญาณสั้น 1 ครั้ง, ตอบข้อ ข ส่งสัญญาณสั้น 2 ครั้ง, ตอบข้อ ค ส่งสัญญาณสั้น 3 ครั้ง และตอบข้อ ง ส่งสัญญาณสั้น 4 ครั้ง เว้นข้อละ 3 วินาที เมื่อจะทบทวนอีกรอบ จะส่งสัญญาณยาวอีกครั้ง รวมถึงนัดแนะกรณีผู้เข้าสอบที่จ้างมือปืนเข้าไปนั่งสอบในห้องสอบด้วย เพื่อส่งสัญญาณเฉลยคำตอบ

5. ส่งเฉลยผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยช่วงกลางคืนก่อนการสอบไม่กี่ชั่วโมง ขบวนการทุจริตจะส่งเฉลยคำตอบผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยส่งเฉลยข้อสอบชุดที่ 1 ให้ก่อน เพื่อท่อง หรือจดเข้าห้องสอบ เมื่อสอบชุดแรกเสร็จ จะส่งเฉลยข้อสอบชุดที่ 2 เข้าโทรศัพท์มือถืออีก ทำจนครบ 4 ชุด หากจำไม่ได้ และใช้วิธีจด จะแบ่งจดเป็น 5 แถว แถวละ 10 ข้อ เรียงจากข้อ 1-10, 11-20, 21-30, 31-40 และ 41-50 ส่วนเฉลยจะใช้เป็นตัวเลขแทนตัวอักษร คือ 1 แทน ก, 2 แทน ข, 3 แทน ค และ 4 แทน ง

และ 6. ส่งมือปืนเข้าสอบเพื่อบอกเฉลย กรณีนี้จะจัดผังห้องสอบให้เอื้อต่อการทุจริต โดยมือปืนจะนั่งอยู่ระหว่างผู้เข้าสอบที่จ่ายเงินให้ขบวนการนี้ และคอยส่งสัญญาณ หากกรรมการคุมสอบรู้เห็นเป็นใจ หรือไม่ใส่ใจ จะทำให้ง่ายต่อการบอก หรือลอกข้อสอบ



ทั้งนี้ เหมือนว่าการทุจริตคราวนี้ยิ่งตรวจสอบก็ยิ่งเจอปม

จากเอกสาร "ลับ" ที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ส่งให้ดีเอสไอ ยังได้ระบุถึงขบวนการทุจริตการสอบครูผู้ช่วยว่ามีความเชื่อมโยงกับผู้บริหารระดับสูง สพฐ. ไปยังนักการเมืองท้องถิ่น และนักการเมืองระดับชาติ ตั้งแต่หน่วยงานออกข้อสอบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

โดยผู้อำนวยการสำนักคนหนึ่งของ สพฐ. ที่น่าจะมีผู้ใหญ่ใน สพฐ. อยู่เบื้องหลัง เชื่อมโยงไปยังผู้อำนวยการโรงเรียนใน จ.นครราชสีมา ผู้อำนวยการโรงเรียนใน จ.ขอนแก่น โยงกับนักการเมืองระดับชาติคนหนึ่งใน จ.ขอนแก่น และมีการตั้งข้อสังเกตว่าการทุจริตครั้งนี้ มีข้อสงสัยว่าน่าจะเชื่อมโยงกับ "ผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ." ด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ผู้บริหาร สพฐ. หลายรายจะถูกตั้งข้อสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการทุจริตสอบครูผู้ช่วย ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง 7 รายได้แก่ ผู้อำนวยการ สพป.ขอนแก่น เขต 3 รองผู้อำนวยการ สพป.ขอนแก่น เขต 3 ที่รับผิดชอบการบริหารงานบุคคล ผู้อำนวยการกลุ่มบุคคลประจำ สพป.ขอนแก่น เขต 3 และผู้ที่ทำหน้าที่คุมสอบอีก 4 คน จากกรณีมีผู้เข้าสอบแทนที่ สพป.ขอนแก่น เขต 3 ตามความเห็นชอบของ "นายชินภัทร ภูมิรัตน" เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ก็ต้องยอมรับว่าจุดนี้เป็นเพียงจุดเล็กๆ ของการทุจริตในครั้งนี้เท่านั้น

ในขณะที่ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เห็นว่าผู้บริหาร สพฐ. ควรจะต้อง "ย้าย" บุคคลที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการทุจริตในส่วนกลางของ สพฐ. ออกไปด้วย เพราะหากยังให้อยู่ใน สพฐ. ต่อไป อาจทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือ หรือมีการขัดขวาง หรือสั่งระงับหลักฐานต่างๆ

บทสรุปของการทุจริตสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้จะออกมาอย่างไร จะมีนักการเมือง ผู้บริหาร สพฐ. และข้าราชการคนใดเข้าไปเกี่ยวข้อง...

คงต้องรอลุ้นผลการสอบสวนของดีเอสไอที่จะส่งถึงมือรัฐมนตรี ศธ. ในวันที่ 18 มีนาคม 2556

"ใคร?" คือ "นายใหญ่" และใคร? กันบ้างที่ร่วมขบวนการทุจริต คงได้รู้กันเร็วๆ นี้!! 

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 18:37:37 น.



ส.ค.ท.ชงคุรุสภา พบใครเอี่ยวทุจริตครู เพิกถอนตั๋วครู
ส.ค.ท.ชงคุรุสภา ร่วมแจมตรวจสอบทุจริตครูผู้ช่วย พบมีเอี่ยว ให้เพิกถอนตั๋วครู 

นายประวิทย์ บึงไสย เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) เปิดเผยถึงผลการประชุม ส.ค.ท.เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้อภิปรายถึงปัญหาการทุจริตจัดสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของวิชาชีพครู และระบบการศึกษา ทั้งยังผิดหลักคุณธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพครูด้วย ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเวลานี้สังคมกำลังตั้งคำถาม และเกิดความไม่มั่นใจเพราะในเมื่อผู้ที่เป็นครูมาโกงเสียเอง แล้วจะตัวอย่างที่ดี สอนลูกศิษย์ให้เป็นคนดีได้อย่างไร ดังนั้น จึงอยากเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และ สพฐ. เร่งดำเนินการนำตัวผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้มาลงโทษทั้งหมด 

พร้อมกันนี้ ส.ค.ท. อยากเรียกร้องให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลครู และพิจารณาอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูลงมาร่วมตรวจสอบด้วยว่าหากพบว่ามีผู้เข้าสอบคนใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต ก็ควรจะพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 มีนาคม 2556

แฉสอบครูได้ที่1แต่ทำงานไม่เป็น

คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วยเผยได้รับข้อมูลการทุจริตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากผู้เข้าร่วมขบวนการ พร้อมตั้งข้อสันนิษฐาน 514 คนที่ทำคะแนนสูงผิดปกติน่าจะอยู่ในขบวนการทุจริต ในขณะที่โรงเรียนเริ่มโวยบรรจุคนสอบได้ที่1เป็นครู แต่กลับทำงานไม่เป็น 

วันนี้(14มี.ค.)นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีปัญหาสอบครูผู้ช่วยชุดที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการแต่งตั้ง เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับข้อมูลกระดาษคำตอบ เฉลยและข้อสอบครูผู้ช่วยและทีมงานฝ่ายสืบสวนเพิ่งได้รับกระดาษที่เป็นเฉลย จากพนักงานราชการที่เข้าร่วมขบวนการ ซึ่งจะนำเฉลยที่ได้รับมาเปรียบเทียบกับเฉลยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ว่าตรงกันหรือไม่ และในขณะเดียวกันต้องเตรียมข้อมูลจำนวนผู้เข้าสอบที่มีคะแนนสูงผิดปกติจำนวน 514 คน ซึ่งมีการสันนิษฐานเบื้องต้นไว้ว่าเป็นผู้เข้าร่วมขบวนการทุจริต โดยต้องไปดูว่ามีกี่คนอยู่จังหวัดไหนและเขตพื้นที่การศึกษาใดบ้าง ทั้งหมดนี้ต้องนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทาง ศึกษา(ก.ค.ศ.)พิจารณาทั้งหมดในการที่จะพิจารณายกเลิกในแต่ละกรณี ซึ่งเป็นอำนาจของก.ค.ศ.ที่จะมีมติและสั่งการไปยังคณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่การศึกษา อย่างไรก็ตามผู้ที่มีคะแนนสูงผิดปกติ 514 คนจะไปดูประวัติว่าต้นสังกัด ภูมิลำเนา อยู่ที่ไหน ซึ่งหมดนี้ตั้งใจจะทำให้เสร็จก่อนการประชุมก.ค.ศ.ในวันที่ 22 มีนาคม 
นายพิษณุ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้เริ่มมีความชัดเจนในผลกระทบที่เกิดจากการสอบครูผู้ช่วย เนื่องจากได้รับการแจ้งจากโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานีว่าผู้ที่สอบได้ที่ 1 ในวิชาเอกคอมพิวเตอร์ซึ่งได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครู แต่ปรากฎว่าทำงานไม่ได้ ฉะนั้นแสดงให้เห็นชัดว่าคนที่สอบได้ไม่ใช่คนที่เก่งจริงและเมื่อดูประวัติก็ พบว่าพนักงานราชการครูดังกล่าวมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเคยสอนอยู่ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาแต่มาสอบบรรจุในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้รับข้อมูลหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการทุจริตเพิ่มมากขึ้น อาทิ เฉลยคำตอบครบ 4 ชุดที่ได้จากผู้เข้าร่วมขบวนการคนหนึ่งที่ไม่ผ่านการคัดเลือก, เฉลยคำตอบที่ผู้เข้าร่วมกระบวนการมีโอกาสที่จะไม่ได้เฉลยเท่ากัน แต่จะมีการแต่งเฉลยคือให้เฉลยมาไม่ครบทั้งหมดและคนที่ให้เฉลยมามีเจตนาที่จะปกปิดจึงให้เฉลยมาไม่ครบ 
"ตอนนี้เริ่มมีการออกมาโจมตีการทำงานของผม เช่น ล่าสุดการแจกใบปลิวโจมตีการทำงานของผมวิ่งหาตำแหน่ง และที่มาตรวจสอบเรื่องนี้เพราะเป็นฝ่ายแค้น ถูกโยกออกมาจากสพฐ.และต้องการจะเอาคืน ซึ่งสิ่งที่โจมตีมานั้นไม่ใช่อย่างแน่นอน โดยอยากจะบอกว่าสาเหตุที่ต้องมารับงานนี้น่าจะเป็นเพราะนายเสริมศักดิ์เห็นว่า เคยเป็นผู้ตรวจราชการศธ.ประจำเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นและอุดรธานีมาก่อน และเคยเป็นผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่นเดิม อีกทั้งยังเคยทำงานด้านบริหารงานบุคคล เคยเป็นผู้อำนวยการสำนักบริหารงานบุคคลและนิติการมาก่อนด้วย "  ประธานคณะกรรมการตรวจสอบฯ กล่าว 

ที่มา เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2556


"พิษณุ" เตรียมส่งข้อสังเกต-สรุปรายชื่อผู้เข้าสอบครูผู้ช่วยทั้งหมดส่ง รมว.ศธ.

“พิษณุ” เล็งสรุปข้อมูลรายชื่อผู้เข้าสอบทั้งหมด แบ่งตามรายเขต รายจังหวัดให้ รมว.ศึกษาฯ สัปดาห์หน้าพร้อมแนบข้อสังเกตจาก คกก.ไปด้วย พร้อมแจงที่ผ่านมาทำงานด้านบุคลากรมาตลอด จนกลายเป็นโลโก้ประจำตัว ไม่ใช่อย่างที่มีบุคคลโจมตีว่าแค้นถูกเด้งจาก รองเลขาฯ กพฐ.มาเป็นผู้ตรวจ

นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงทุจริตสอบครูผู้ช่วย เปิดเผยความคืบหน้าในการตรวจสอบว่า จากการที่ตนและคณะทำงานลงพื้นที่ตรวจสอบในต่างจังหวัดทำให้ขณะนี้ได้ข้อสอบ กระดาษคำตอบ เฉลยข้อสอบหรือโพยข้อสอบมาแล้ว ซึ่งจากนี้ก็จะนำเฉลยดังกล่าวมาทาบเพื่อเปรียบเทียบกับเฉลยคำตอบจริงของ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หรือ จากนั้นคณะกรรมการจะทำรายงานสรุปจำนวนผู้เข้าสอบมีกี่คน จังหวัดและเขตใดบ้าง ส่งให้ รมว.ศึกษาในสัปดาห์หน้า ส่วนการตัดสินใจยกเลิกอย่างไรเป็นอำนาจของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พิจารณาว่ายกเลิกอย่างไร โดยตามกฎหมายกำหนดไว้ว่าให้การยกเลิกเป็นอำนาจของคณะอนุกรรมการ ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ดังนั้น หากจะมีการยกเลิกก็ต้องเป็นมติ ก.ค.ศ.สั่งการหรือมอบหมายให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ดำเนินการ

“จะส่งรายชื่อผู้สอบทั้งหมดกว่า 500 รายชื่อ แบ่งเป็นรายชื่อ รายเขต และได้ขอประวัติของผู้เข้าสอบเหล่านั้นแนบไปด้วย แต่จะไม่พิพากษาว่าเขาทุจริตหรือไม่ทุจริต พร้อมแนบข้อสังเกตแนบไปด้วย ซึ่งหลักการสำคัญต้องไม่กระทบต่อผู้ที่สอบอย่างสุจริต แต่สุดท้ายคนที่ตัดสินใจคือ ก.ค.ศ.ซึ่งจากที่ลงมาตรวจสอบเรื่องนี้ทำให้ได้รับข้อร้องเรียนค่อนข้างมาก ล่าสุดพบเคสหนึ่งที่สอบติดอันดับที่ 1 เอกคอมพิวเตอร์และได้รับการบรรจุที่โรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่งใน จ.ปทุมธานี แต่ปรากฏว่าถึงเวลาทำงานกลับทำไม่ได้ ลูกจ้างเก่าของโรงเรียนเก่งกว่า สะท้อนว่าคนที่สอบมาได้คะแนนสูงๆ ไม่ได้เก่งจริง และจากประวัติเดิมพบว่าทำงานในโรงเรียนประถมศึกษาแต่มาสอบได้โรงเรียนมัธยม มาทำงานก็ทำไม่ได้ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้มาจากที่โรงเรียนบ่นและสะท้อนปัญหามา” นายพิษณุ กล่าว

กรณีที่มีบุคคลส่งหนังสือโจมตีว่าการลงมาทำงานตรวจสอบเรื่องทุจริตสอบครูผู้ช่วย เพราะมีความไม่พอใจที่ถูกโยกย้ายจากตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) มาเป็นผู้ตรวจราชการ ศธ. นายพิษณุ ชี้แจงว่า มีข่าวลักษณะนี้มาแต่แรกว่าการที่ตนมารับงานนี้เพราะต้องการเอาคืนที่ถูกย้าย แต่สาเหตุที่แท้จริงเข้าใจว่า รมว.ศึกษาธิการ เห็นก่อนที่จะมารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ตรวจ ศธ.ดูแลพื้นที่นนทบุรี ปทุมธานี ตนเคยเป็นผู้ตรวจราชการที่ดูแลเขตพื้นที่อุดรธานี ขอนแก่น มาก่อน และเคยเป็นผอ.เขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่นในอดีต และที่สำคัญตนทำงานด้านการบริหารงานบุคคล งานวินัยมาโดยตลอดตั้งแต่เป็น ผอ.สพร. หรือแม้แต่ รองเลขาธิการ ก.ค.ศ.ก็ตาม จึงไม่น่าแปลกใจที่เวลามีงานในลักษณะนี้ไม่ว่าจะเป็นทุจริตครู หรือการสอบสวนข้อเท็จจริงของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ก็จะได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหนังสือกล่าวหาว่าวิ่งหาตำแหน่งไม่เป็นความจริง และไม่ว่าจะอยู่ตำแหน่งใดตนก็มีงานไม่ขาดมือ และพยายามทำงานอย่างเต็มที่

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า การโยกย้ายและสลับตำแหน่งข้าราชการระดับสูง สพฐ.และเขตพื้นที่ที่ผ่านมา ตนไม่ได้ดำเนินการตามกระแสแต่อย่างใด เพราะเดินตามข้อมูลและหลักฐานที่ชี้ว่าบุคคลเหล่านั้นอยู่ในข่ายตกเป็นผู้ต้องสงสัย ดังนั้นเพื่อให้การตรวจสอบเดินหน้าได้อย่างสะดวกและเต็มที่ ตนจึงสั่งการไปอย่างนั้นเพื่อเปิดโอกาสให้เข้ามาตรวจสอบ และเพื่อพิสูจน์การกระทำบุคคลเหล่านั้น 

ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 มีนาคม 2556


ดีเอสไอพบหลักฐานเด็ดยางลบเฉลยข้อสอบครู

"ดีเอสไอ" เดินหน้าลุยทุจริตสอบครูผู้ช่วย ลงพื้นที่ "สพป.ยโสธร" เขต 1 พบหลักฐานยางลบเขียนตัวเลขกำกับ เชื่อเป็นคำเฉลยข้อสอบ พร้อมสอบปากคำ จนท.ที่เกี่ยวข้องระบุหลักฐานดังกล่าวยึดมาจากสตรีผู้เข้าสอบคนหนึ่ง ซุกซ่อนไว้ในเสื้อชั้นในขณะกำลังสอบวิชาที่ 4 ด้านประธานสอบฯ เผยข้อมูล รร.ดังย่านปทุมธานี แฉผู้สอบผ่านอันดับ 1 เอกคอมพิวเตอร์ ทำงานยอดแย่สู้ลูกจ้างทั่วไปไม่ได้ ชี้ได้คะแนนสูงคงไม่ได้เก่งเองแน่ 
ความคืบหน้าคดีทุจริตสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วยภายหลังกระทรวงศึกษาธิการส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ดำเนินการตรวจสอบพบมีขบวนการการทุจริตในพื้นที่จังหวัดภาคอีสาน เชื่อว่าข้าราชการระดับสูงเข้าไปเกี่ยวข้อง หลังเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ลงพื้นที่ จ.อุดรธานี พบหลักฐานในการทุจริตสอบอย่างชัดเจนตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น 
ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษายโสธรเขต 1 เมื่อเวลา10.30 น.วันที่ 14 มี.ค. 56 นายธานินทร์เปรมปรีดิ์รองผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 2 ดีเอสไอ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคดีพิเศษพร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจหาหลักฐานการทุจริตสอบครูผู้ช่วยที่ จ.ยโสธร โดยเจ้าหน้าที่พบหลักฐานเป็นยางลบที่มีหมายเลขจำนวน 50 ข้อ ที่เขียนไว้อยู่ข้างยางลบดินสอ จึงทำการสอบปากคำผู้เกี่ยวข้อง 
นายธานินทร์ กล่าวว่า ในการลงพื้นที่ตรวจสอบในครั้งนี้ เจ้าหน้าที่สามารถตรวจยึดยางลบ ซึ่งเชื่อว่ายางลบที่พบเป็นคำเฉลยคำตอบข้อสอบเนื่องจากมีการเขียนหมายเลข 5 แถวอยู่ข้างยางลบ และจากการสอบคณะกรรมการคุมการสอบท่านหนึ่งทราบว่ามีสุภาพสตรีท่านหนึ่งที่มีพิรุธในการสอบ คณะกรรมการคุมสอบจึงเข้าตรวจสอบพบยางลบก้อนดังกล่าวทางคณะกรรมการคุมสอบจึงยึดไว้ ซึ่งในกรณีนี้ทางเราเชื่อว่าจะมีการทุจริตการสอบเกิดขึ้นจึงได้ยึดยางลบเพื่อนำไปตรวจสอบอีกครั้ง 
ด้านนายวิทย์ ศรีวะรมย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1 กล่าวว่า หลักฐานที่พบกรรมการคุมสอบยึดได้จากสตรีผู้เข้าสอบคนหนึ่ง ซึ่งซุกซ่อนไว้ในเสื้อชั้นใน จึงนำมาเก็บไว้ในตู้เอกสารห้องทำงาน กระทั่งเจ้าหน้าที่ ดีเอสไอ ลงพื้นที่จึงมอบหลักฐานชิ้นนี้นำมาตรวจสอบ 
วันเดียวกัน นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)และในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีทุจริตการสอบบรรจุครูผู้ช่วย กล่าวว่า ขณะนี้คณะทำงานได้รวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ ทั้งกระดาษคำตอบของผู้สอบ, ฐานคะแนนสูงผิดปกติ,เฉลยคำตอบชุดจริง และเฉลยคำตอบชุดของปลอมที่ใช้ในการทุจริตสอบเพื่อดำเนินการตรวจสอบคาดว่าจะเสร็จในวันที่ 18 มี.ค.นี้ 
นายพิษณุ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีโรงเรียนดังแห่งหนึ่งในจ.ปทุมธานี ได้สะท้อนข้อมูลบางอย่างของบุคคลผู้ที่สอบผ่านเป็นอันดับหนึ่งของเอกคอมพิวเตอร์ แต่ปรากฏว่าศักยภาพในการทำงานจริง กลับสู้ลูกจ้างอัตราจ้างทั่วไปไม่ได้ สะท้อนให้เห็นว่าไม่มีความสามารถจริงเหมือนที่สอบบรรจุได้คะแนนสูง อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจคือคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 22 มี.ค.นี้ส่วนผู้ที่มีอำนาจสั่งยกเลิกการบรรจุคือ คณะอนุกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ของเขตพื้นที่ฯ ที่จะดำเนินตามมติ ก.ค.ศ.ต่อไป 
ด้านนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการกพฐ. กล่าวว่า การโยกย้ายและสลับตำแหน่งข้าราชการระดับสูง สพฐ.และเขตพื้นที่ฯ ที่ผ่านมา ไม่ได้ดำเนินการตามกระแสแต่อย่างใด แต่ทำตามข้อมูลและหลักฐานที่ชี้ว่าบุคคลเหล่านั้นอยู่ในข่ายตกเป็นผู้ต้องสงสัยดังนั้นเพื่อให้การตรวจสอบเดินหน้าได้อย่างสะดวกและเต็มที่จึงสั่งการไปเพื่อเปิดโอกาสให้เข้ามาตรวจสอบและเพื่อพิสูจน์การกระทำบุคคลเหล่านั้น

'สอบครู'โผล่อีก 18 คะแนนสูงผิดปกติ ย้ายแล้ว'ผอ.สพร.'




          'เลขาฯกพฐ.'สั่งโยก'ผอ.สพร.'สลับตำแหน่ง อ้างเปิดทางตรวจสอบข้อมูลทุจริตสอบครูผู้ช่วย ชี้ไม่ได้สรุปว่าบกพร่องพัวพันทุจริต เผยคะแนนสอบสูงผิดปกติเพิ่มอีก 18 ราย เตรียมเสนอ'ก.ค.ศ.'ฟัน
          จากกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ตรวจสอบการทุจริตการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครู ในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว12 ครั้งที่ผ่านมาอย่างเต็มที่ ขณะที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. เสนอให้นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ย้ายผู้ที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องในส่วนกลางออก เพื่อเปิดทางให้การตรวจสอบทำได้ง่ายขึ้น ขณะที่นายหน้า และพนักงานราชการ ที่ร่วมขบวนการทุจริตรวม 3 รายเข้าให้รายละเอียด ด้านกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) บุกไปตรวจค้นรีสอร์ตใน จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นจุดนัดพบของขบวนการติวข้อสอบนั้น



สพฐ.สั่งย้ายรายวัน! "ไกร เกษทัน" พ้น สพร.เปิดทางสอบทุจริตครูผู้ช่วย


   สพฐ.โยก “ไกร” พ้น สพร.อ้างเปิดทางสอบทุจริตครูผู้ช่วย “ชินภัทร” ย้ำยังไม่มีประเด็นบ่งชี้ว่ามีส่วนเอี่ยวด้วย

       

       นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ตนได้ลงนามคำสั่งเมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา สั่งย้ายนายไกร เกษทัน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบจัดสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว 12 ครั้งนี้ไปดำรงตำแหน่งผอ.สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สตผ.) และสลับนายพิธาน พื้นทอง ผอ.สตผ. ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพร. แทน

       

       “การย้ายครั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า สพฐ. เปิดกว้างในการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีสอบทุจริตครูผู้ช่วยที่เกิดขึ้น เพื่อให้การตรวจสอบข้อมูลดำเนินการได้อย่างโปร่งใส โดยเฉพาะให้การขอเอกสารจาก สพร. ไม่เกิดอุปสรรค ดังนั้น สพฐ.จึงตัดสินใจย้าย นายไกร ออกแต่เป็นการสลับชั่วคราวเท่านั้น และการย้ายครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า นายไกร นั้นมีความผิดขณะเดียวกันยังไม่มีประเด็นใด ๆ ทั้งสิ้นที่ชี้ว่า นายไกร เกี่ยวข้องกับการทุจริตสอบครูผู้ช่วย”นายชินภัทร กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ในขั้นนี้ยังไม่มีการตั้งกรรมการสอบวินัย นายไกร แต่อย่างใด


ที่มา : http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000031004

สพฐ.สอบ 7 ขรก.โกงครูผู้ช่วย

          กรณีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ส่งเอกสารลับให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ดำเนินการกรณีทุจริตสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วย ว 12 ซึ่งเชื่อมโยงขบวนการตั้งแต่ผู้บริหารระดับผอ.สำนักฯ ถึงนักการเมืองระดับชาตินั้น เมื่อวันที่ 12 มี.ค. นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ รองผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 2 ในฐานะผอ.ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคดีพิเศษ นำหมายเรียกพยานเอกสารและพยานบุคคล กรมสอบสวนคดีพิเศษ วันที่ 12 มี.ค. โดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 24 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.2477 มาตรา 52 และมาตรา 132 มายังนายปรเมศ ปรเมศสกุล อายุ 30 ปี ผู้จัดการชุดาปาร์ครีสอร์ต แอนด์ โฮเต็ล จ.ขอนแก่น ซึ่งมีการเช่าสถานที่ในการกระทำความผิดวันที่ 10-11 มี.ค.ที่ผ่านมา
          ด้านนายธานินทร์เปิดเผยว่า ดีเอสไอได้หลักฐานมาว่ามีการเปิดอบรมเรื่องการสอนใช้โทรศัพท์ทำข้อสอบในการทุจริตสอบครั้งที่ผ่านมา ซึ่งนายปรเมศยืนยันว่ามีกลุ่มบุคคลเข้ามาใช้ห้องประชุมและมีพฤติการณ์ที่ผิดปกติอย่างมาก
          โดยเจ้าหน้าที่ได้โทรศัพท์ในการทุจริตครูผู้ช่วยครั้งนี้หลายอย่าง พร้อมหลักฐานสำคัญคือ โทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง การทุจริตสอบครั้งนี้พยานหลักฐานชี้ชัดว่ามีมากกว่า 200 คนขึ้นไป ดีเอสไอทราบมาว่ามีการประชุมลักษณะ  เหมือนที่จ.ขอนแก่น คือ จ.อุดรธานี ชัยภูมิ เลย ยโสธร บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ โดยการทุจริตจะส่งสัญญาณโทรศัพท์นอกห้องสอบ คือ เสียงยาว 2 ครั้ง เตรียมตัว เสียงดัง 1 ครั้ง ข้อ ก. 2 ครั้งข้อ ข. เรียงไป และเสียงยาว 1 ครั้ง เตรียมตัวทวนข้อสอบ
          นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สพฐ.ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง 7 ราย ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตสอบครูผู้ช่วย ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ขอนแก่น เขต 3 แล้ว มีนายพะโยม ชินวงศ์ ผอ.การศึกษาพิเศษ สพฐ. เป็นประธาน และมีคำสั่งให้ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 3 เข้ามาช่วยราชการที่สพฐ. รองผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 3 ที่รับผิดชอบการบริหารงานบุคคล ไปช่วยราชการที่สพป.ขอนแก่น เขต 1 และผอ.กลุ่มบุคคลประจำสพป.ขอนแก่น เขต 3 ไปช่วยราชการที่สพป.นครราชสีมา เขต 1 เปิดทางให้คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงได้เข้าไปทำหน้าที่

          ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

เปิดชื่อ 'สพป.-สพม.'คะแนนสอบครู ผช.สูงผิดปกติ

          หมายเหตุ- ต่อไปนี้เป็นรายชื่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ใน 58 จังหวัดทั่วประเทศ ที่พบความผิดปกติ และมีแนวโน้มว่าเป็นเขตพื้นที่ที่ส่อว่ามีการทุจริตสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว 12 ครู ผู้ช่วย โดยพบข้อมูลผู้ที่มีคะแนนสูงสุดผิดปกติตั้งแต่ ร้อยละ 90 ขึ้นไป จำนวน 486 คน และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีปัญหาการสอบครูผู้ช่วยชุดที่ นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน ได้มอบให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ไปตรวจสอบ "มติชน" ขอนำเสนอรายละเอียด ดังกล่าว จำแนกจำนวนตามเขตพื้นที่ดังนี้

          1.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 58 จังหวัด

          ภาคตะวันตก ได้แก่ สพป.กาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 1 คน, สพป.เพชรบุรี เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.ตาก เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.ราชบุรี เขต 1 จำนวน 1 คน, สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 จำนวน 3 คน, สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 2 คน

          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สพป.ขอนแก่น เขต 1 จำนวน 1 คน, สพป.ขอนแก่น เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.ขอนแก่น เขต 3 จำนวน 3 คน, สพป.ขอนแก่น เขต 4 จำนวน 3 คน, สพป.ขอนแก่น เขต 5 จำนวน 1 คน, สพป.ชัยภูมิ เขต 1 จำนวน 8 คน, สพป.ชัยภูมิ เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.ชัยภูมิ เขต 3 จำนวน 6 คน, สพป.บึงกาฬ จำนวน 12 คน, สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 จำนวน 3 คน, สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 3 คน, สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 จำนวน 3 คน, สพป.ยโสธร เขต 1 จำนวน 2 คน, สพป.ยโสธร เขต 2 จำนวน 4 คน

          สพป.สกลนคร เขต 1 จำนวน 4 คน, สพป.สกลนคร เขต 2 จำนวน 11 คน, สพป.สกลนคร เขต 3 จำนวน 3 คน, สพป.หนองบัวลำภู เขต 1 จำนวน 2 คน, สพป.อุดรธานี เขต 1 จำนวน 5 คน, สพป.อุดรธานี เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.อุดรธานี เขต 3 จำนวน 5 คน, สพป.อุดรธานี เขต 4 จำนวน 2 คน, สพป.อุบลราชธานี เขต 1 จำนวน 3 คน, สพป. อุบลราชธานี เขต 2 จำนวน 6 คน, สพป.อุบลราชธานี เขต 3 จำนวน 4 คน, สพป.อุบลราชธานี เขต 5 จำนวน 13 คน, สพป.นครพนม เขต 1 จำนวน 3 คน, สพป.นครพนม เขต 2 จำนวน 3 คน

          สพป.มหาสารคาม เขต 1 จำนวน 2 คน, สพป.มหาสารคาม เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 2 คน, สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.หนองคาย เขต 1 จำนวน 3 คน, สพป.หนองคาย เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.อำนาจเจริญ จำนวน 4 คน, สพป.เลย เขต 1 จำนวน 12 คน, สพป.เลย เขต 2 จำนวน 4 คน, สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 จำนวน 2 คน, สพป.ศรีสะเกษ เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 จำนวน 4 คน, สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 จำนวน 1 คน, สพป.สุรินทร์ เขต 1 จำนวน 8 คน, สพป.สุรินทร์ เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.สุรินทร์ เขต 3 จำนวน 7 คน,

          สพป.นครราชสีมา เขต 1 จำนวน 8 คน, สพป.นครราชสีมา เขต 2 จำนวน 6 คน, สพป.นครราชสีมา เขต 3 จำนวน 8 คน, สพป.นครราชสีมา เขต 4 จำนวน 3 คน, สพป.นครราชสีมา เขต 5 จำนวน 1 คน, สพป.นครราชสีมา เขต 6 จำนวน 3 คน, สพป.นครราชสีมา เขต 7 จำนวน 5 คน, สพป.มุกดาหาร จำนวน 6 คน, สพป.นครพนม เขต 1 จำนวน 3 คน, สพป.นครพนม เขต 2 จำนวน 3 คน

          ภาคเหนือ ได้แก่ สพป.เชียงใหม่ เขต 5 จำนวน 8 คน, สพป.แพร่ เขต 1 จำนวน 1 คน, สพป.แพร่ เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 1 คน, สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.น่าน เขต 1 จำนวน 9 คน, สพป.น่าน เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.นครสวรรค์ เขต 1 จำนวน 4 คน, สพป.นครสวรรค์ เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.เชียงใหม่ เขต 5 จำนวน 8 คน

          ภาคกลาง ได้แก่ สพป.ปทุมธานี เขต 1 จำนวน 7 คน, สพป.ปทุมธานี เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.สระบุรี เขต 1 จำนวน 4 คน, สพป.สระบุรี เขต 2 จำนวน 4 คน, สพป.ลพบุรี เขต 1 จำนวน 5 คน, สพป.สิงห์บุรี จำนวน 2 คน, สพป.ชัยนาท จำนวน 5 คน, สพป.นนทบุรี เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.กำแพงเพชร เขต 1 จำนวน 4 คน, สพป.กำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.นครปฐม เขต 1 จำนวน 3 คน, สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.พิจิตร เขต 2 จำนวน 3 คน, สพป.พิษณุโลก เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.พิษณุโลก เขต 3 จำนวน 1 คน, สพป.อุทัยธานี เขต 2 จำนวน 5 คน, สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 จำนวน 2 คน, สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 จำนวน 4 คน
          ภาคตะวันออก ได้แก่ สพป.ปราจีนบุรี เขต 1 จำนวน 2 คน, สพป.ระยอง เขต 1 จำนวน 4 คน, สพป.ระยอง เขต 2 จำนวน 4 คน, สพป.จันทบุรี เขต 2 จำนวน 3 คน, สพป.ชลบุรี เขต 1 จำนวน 1 คน, สพป.ชลบุรี เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.ชลบุรี เขต 3 จำนวน 7 คน, สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 1 คน
          ภาคใต้ ได้แก่ สพป.ยะลา เขต 2 จำนวน 1 คน, สพป.ปัตตานี เขต 1 จำนวน 1 คน, สพป.สงขลา เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.ตรัง เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวน 1 คน, สพป.นราธิวาส เขต 2 จำนวน 2 คน, สพป.นราธิวาส เขต 3 จำนวน 1 คน, สพป.สตูล จำนวน 4 คน, สพป.พัทลุง เขต 2 จำนวน 3 คน
          2.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) จำนวน 27 เขต
          ภาคเหนือ ได้แก่ สพม.เขต 37 แพร่-น่าน จำนวน 1 คน
          ภาคกลาง ได้แก่ สพม.เขต 2 กรุงเทพ มหานคร จำนวน 2 คน, สพม.3 นนทบุรีพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1 คน, สพม.เขต 4 ปทุมธานี-สระบุรี จำนวน 5 คน, สพม.เขต 10 เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 2 คน, สพม.เขต 7 นครนายก-สระแก้ว จำนวน 1 คน, สพม.เขต 9 สุพรรณบุรี-นครปฐม จำนวน 2 คน, สพม.เขต 41 กำแพงเพชร-พิจิตร จำนวน 1 คน, สพม.เขต 40 เพชรบูรณ์ จำนวน 3 คน
          ภาคตะวันออก ได้แก่ สพม.เขต 6 ฉะเชิงเทรา จำนวน 1 คน, สพม.เขต 18 ชลบุรี ระยอง จำนวน 5 คน
          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สพม.เขต 19 เลย หนองบัวลำพู จำนวน 11 คน, สพม.เขต 20 อุดรธานี จำนวน 4 คน, สพม.เขต 21 หนองคาย จำนวน 8 คน, สพม.เขต 22 นครพนม-มุกดาหาร จำนวน 2 คน, สพม.เขต 23 สกลนคร จำนวน 2 คน, สพม.เขต 24 กาฬสินธุ์ จำนวน 6 คน, สพม.เขต 25 ขอนแก่น จำนวน 6 คน, สพม.เขต 26 มหาสารคาม จำนวน 1 คน, สพม.เขต 27 หนองคาย จำนวน 2 คน, สพม.เขต 28 ศรีสะเกษ-ยโสธร จำนวน 1 คน, สพม.เขต 29 อุบลราชธานี จำนวน 3 คน, สพม.เขต 30 ชัยภูมิ จำนวน 4 คน, สพม.เขต 31 นครราชสีมา จำนวน 13 คน, สพม.เขต 32 บุรีรัมย์ จำนวน 3 คน, สพม.เขต 33 สุรินทร์ จำนวน 5 คน
          ภาคใต้ ได้แก่ สพม.เขต 12 นครศรีธรรมราชพัทลุง จำนวน 1 คน และสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 1 คน
          ทั้งนี้ ดีเอสไอจะสรุปผลการตรวจสอบเบื้องต้น เสนอให้กับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยกเลิกผลการสอบในพื้นที่ที่พบหลักฐานการทุจริตชัดเจน ภายในวันที่ 18 มีนาคม โดย ดีเอสไอจะจำแนกกลุ่มคนต้องสงสัยว่ามีกลุ่มใด รายชื่อใครบ้างและพื้นที่ใดบ้าง เพื่อไม่ต้องการยกเลิกทั้งหมดเกรงจะเกิดผลกระทบ เนื่องจากมีการบรรจุผู้สอบผ่านเป็นครูผู้ช่วยไปหมดแล้ว
          อีกทั้งตามข้อกฎหมายของ สพฐ.หากพบหลักฐานการทุจริตก็ยังสามารถปลดออกได้ในภายหลัง โดยใช้ดุลพินิจของนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ ศธ. เป็นผู้พิจารณาต่อไป

          ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

"ปลด"สพฐ.พ้นจัดสอบครู ให้มหา'ลัยทำแทน"พงศ์เทพ"เชื่อมีปัญหาน้อยกว่า/แก้กติกาสมัครปิดทางทุจริต

   "พงศ์เทพ" ตัดสินใจให้สถาบันอุดมศึกษาดูแลจัดสอบครูผู้ช่วยทั่วไปเดือน เม.ย.นี้แทน สพฐ. เชื่อมีปัญหาน้อยแน่และตัดหนทางโกง โดยเปิดให้สมัครสอบได้หลายที่ แต่ต้องเลือกว่าจะไปสอบสนามไหนเพียงแห่งเดียว หากไม่มีการยืนยันจะถูกตัดสิทธิ์ทันที ยันหากผลสอบดีเอสไอชี้ชัดใครผิดฟันไม่เว้นแม้นักการเมืองพรรคเดียวกัน

    ผลสืบเนื่องจากการทุจริตสอบบรรจุครูผู้ช่วย เหตุจำเป็นพิเศษ (ว12) ทำให้นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงการจัดสอบครูผู้ช่วยทั่วไปของสำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่สอบประมาณเดือน เม.ย.56 รูปแบบการสอบนั้น ได้มีการพูดคุยกับนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศธ. และนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) แล้ว เห็นว่าจะต้องมุ่งเน้นให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมมากที่สุด อาจจะต้องมีการปรับปรุงรูปแบบการจัดสอบให้มหาวิทยาลัยมาออกข้อสอบและดำเนิน การจัดสอบ เพราะน่าจะมีปัญหาน้อยกว่าการที่ สพฐ.จะเป็นผู้ดำเนินการเอง เบื้องต้นมอบหมายให้นายชินภัทรเป็นผู้ไปจัดหาสถาบันอุดมศึกษาที่รับทำเรื่อง นี้มาเสนอ

    นอกจากนี้ จะมีการกำหนดให้ชัดเจนไปเลยว่าผู้ที่จะสมัครสอบสามารถสมัครได้กี่แห่ง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการสมัครสอบหลายที่ แล้วมีการให้บุคคลอื่นไปนั่งสอบแทน ซึ่งวิธีการหนึ่งที่มีการพูดถึงก็คือ อาจจะเปิดโอกาสให้สมัครได้หลายที่ แต่ก่อนถึงวันสอบผู้สมัครสอบจะต้องแจ้งว่าจะเลือกสอบที่เขตพื้นที่การศึกษา ใด เพื่อที่ระบบจะได้ตัดรายชื่อออกจากเขตพื้นที่ฯ อื่นๆ ที่ไปสมัครไว้ หากใครไม่แจ้งเขตพื้นที่ฯ ที่จะเข้าสอบตามวันเวลาที่กำหนด ระบบก็จะตัดสิทธิ์ในการเข้าสอบทันที ซึ่งวิธีการนี้ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจ และน่าจะสามารถป้องกันการวิ่งลอกสมัครสอบและให้บุคคลอื่นไปสอบแทนได้

    ส่วนกรณีที่ดีเอสไอจะเรียกผู้ที่สอบได้คะแนนสูง 486 รายที่สอบบรรจุครูผู้ช่วย เหตุจำเป็นพิเศษ (ว12) มาสอบปากคำนั้น ก็ถือเป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้รู้ว่ามีความผิดปกติอย่างไร แต่ก็ต้องสอบในประเด็นอื่นๆ ที่คิดว่าน่าจะเป็นองค์ประกอบในการจูงใจให้เกิดการทุจริตสอบด้วย เช่น เหตุใดมีภูมิลำเนาอยู่อีกที่หนึ่ง แต่กลับไปสมัครข้ามเขต ซึ่งลักษณะเช่นนี้บางคนอาจจะมีเหตุผลที่พอฟังได้ หรือบางคนอาจจะฟังแล้วน่าจะเป็นเรื่องที่ผิดปกติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การจะยกเลิกผลการสอบดังกล่าวหรือไม่นั้น ต้องรอฟังผลสรุปของดีเอสไอในวันที่ 18 มี.ค. หากมีข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้าน ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) นัดพิเศษ ก็น่าจะพิจารณาในบางประเด็นได้

    "ถ้าผลสอบดีเอสไอออกมา ใครเข้ามามีเอี่ยวด้วย จะเป็นข้าราชการระดับสูง หรือนักการเมืองระดับชาติคนใดก็ตาม ร่วมกันกระทำความผิด ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด แม้จะเป็นนักการเมืองพรรคเดียวกันก็ไม่ละเว้น ยิ่งมีกระแสข่าวว่า มีการแอบอ้างว่าทุจริตหาเงินมาให้ รมว.ศธ. ทางดีเอสไอยิ่งต้องตรวจสอบให้ละเอียด จะได้ชัดเจนกันไปเลย และจะได้รู้ด้วยว่าใครเป็นคนเอาชื่อรัฐมนตรีไปแอบอ้างทำเรื่องแย่ๆ แบบนี้ ซึ่งก็ต้องมีการดำเนินการทั้งวินัยและอาญา".

ที่มา : 
ไทยโพสต์

คอลัมน์: สถานี ก.ค.ศ.: การบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีประวัติเคยถูกดำเนินคดีอาญา

         ในช่วงนี้มีข่าวคราวเรื่องการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ในกรณีพบการทุจริตในการสอบ ซึ่งก็ถือว่าเป็นข่าวที่สะเทือนถึงความเป็นวิชาชีพชั้นสูงไม่น้อยเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ในทุกที่ทุกองค์กรย่อมมีทั้งคนดี และคนไม่ดี ก็ต้องแยกแยะกันเป็นเรื่องๆ ไป ในวันนี้จึงหยิบยกกรณีการบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วยมาเป็นความรู้กันอีกกรณีหนึ่ง นั่นคือได้ผ่านการสอบคัดเลือกมาแล้ว เมื่อได้รับการบรรจุเข้ารับราชการกลับพบว่า มีประวัติเคยถูกดำเนินคดีอาญา
          โดยเรื่องมีอยู่ว่า นายแสน (นามสมมุติ) ซึ่งได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย พบว่ามีประวัติเคยถูกดำเนินคดีอาญา โดยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมในข้อหามียาบ้าไว้ในความครอบครอง จำนวน 5 เม็ด และศาลจังหวัดได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี โดยให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือน กำหนด 1 ปี ปัจจุบันคดีถึงที่สุดแล้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเห็นว่า นายแสนยังไม่เคยต้องรับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก จึงยังไม่ขาดคุณสมบัติสำหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 30(10) แต่มีปัญหาว่าจะขาดคุณสมบัติ ในกรณีไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีสำหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา 30(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 หรือไม่ จึงได้ขอหารือมายังสำนักงาน ก.ค.ศ.

          เรื่องดังกล่าว ก.ค.ศ. โดย อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ศาลมีคำพิพากษาว่า นายแสนมีความผิดตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และลงโทษตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ถือได้ว่า ศาลได้วินิจฉัยว่า นายแสนเป็นเพียงผู้เสพเท่านั้น มิใช่เป็นผู้จำหน่ายตามมาตรา 15 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เนื่องจากกรณีที่จะถือว่าเป็นผู้จำหน่ายนั้น จะต้องมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป แต่ในกรณีนายแสนมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครอง จำนวน 5 เม็ด ศาลได้พิเคราะห์แล้วว่าคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม เมื่อนายแสนเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติดตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2546 แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0504/ ว 208 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2546 ให้ถือว่าไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี ประกอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 รวมทั้งใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาล ซึ่งได้ออกให้นายแสนที่ได้เคยไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ปรากฏว่าไม่พบสารเสพติด มีสุขภาพแข็งแรงดี อันเป็นการแสดงว่าได้ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพจนร่างกายกลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว นายแสนจึงไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา 30(7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547

          ที่หยิบยกมานี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า สังคมได้ให้โอกาสกับผู้เคยกระทำผิด แต่หากไม่กระทำผิดเลยจะดีกว่า เพราะหากเราต้องเป็นแม่พิมพ์ของชาติ ก็ต้องเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดี จะได้ปฏิบัติงานด้วยความสุข มีความเจริญในหน้าที่การงานสืบไป



          ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

ครูผช.ข้อสอบรั่ว 33 ชุดโยง 3 บิ๊กสพฐ. ศธ.ชี้โกงล้านเปอร์เซ็นต์แฉพบทุจริต 60 จว.ทั่วปท.เล็งยกเลิกรายเขตพื้นที่

          พบข้อสอบครูผู้ช่วยรั่วไหล 33 ชุดวิชามาจากส่วนกลาง ระบุเชื่อมโยง 3 บิ๊ก สพฐ.ร่วมขบวนการทุจริต 'เสริมศักดิ์'ย้ำชัดโกงล้านเปอร์เซ็นต์ แฉภาคอีสานทุจริตสอบหนักกว่าใคร

          กรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบเบื้องต้นพบหลักฐานชี้ชัดว่ามีการทุจริตสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว 12 ครั้งที่ผ่านมาจริงรวมทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ 1.ให้บุคคลอื่นสอบแทน 2.นำข้อสอบไปเฉลยเพื่อท่องจำก่อนเข้าห้องสอบ และ 3.นำเครื่องมือสื่อสารเข้าห้องสอบ โดยจะสรุปผลการสืบสวนเบื้องต้นส่งให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ใช้พิจารณาว่าจะยกเลิกการสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยครั้งที่ผ่านมาหรือไม่ในวันที่ 18 มีนาคมนี้ และเตรียมเรียกกลุ่มผู้มีคะแนนสูงผิดปกติในการสอบ 486 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 60 จังหวัดทั่วประเทศ และกรณีพบทุจริตสอบครูผู้ช่วยอีก 2 ราย ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ยโสธร เขต 1 เขียนเฉลยคำตอบบนยางลบ และ สพป.อุดรธานี เขต 3 ดูเฉลยจากโทรศัพท์มือถือ แต่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ปกปิดเป็นความลับ จึงไม่ได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ทุจริตทั้ง 2 ราย นั้นศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ปกปิดเป็นความลับ จึงไม่ได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ทุจริตทั้ง 2 ราย นั้น

          เมื่อวันที่ 7 มีนาคม นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. เปิดเผยว่า การสอบครูผู้ช่วยครั้งที่ผ่านมา มีความชัดเจนว่าทุจริต และมีข้อสอบรั่วจากส่วนกลาง อยู่ระหว่างให้ดีเอสไอสอบสวนเรื่องนี้อยู่ จากข้อมูลที่มีอยู่ค่อนข้างชัดเจนว่าโกงล้านเปอร์เซ็นต์แน่นอน แต่ทั้งหมดต้องรอให้ดีเอสไอสอบสวนและสรุปอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ ในส่วนข้อมูลของผู้ที่ได้คะแนนสูง และได้คะแนนเต็มในส่วนของการสอบ (ภาค ก.) ในบางวิชา จากทั้งหมด 4 วิชา จำนวน 486 คนนั้น มีรายชื่อหมดแล้ว กำลังรอดีเอสไอตรวจสอบ เมื่อดูตามข้อเท็จจริง ในการสอบต่อให้เก่งมากแค่ไหน ก็ไม่น่าทำคะแนนได้เต็ม เพราะใน 4 วิชา บางคนได้คะแนนเต็มถึง 3 รายวิชาๆ ละ 50 คะแนน ส่วนอีกวิชาหนึ่งได้เกือบเต็ม รวม 4 วิชา 200 คะแนน ได้ถึง 198 คะแนน เมื่อเปิดดูกระดาษคำตอบของคนกลุ่มนี้แล้ว จะกาคำตอบเหมือนกันหมด อย่างไรก็ตาม ในเร็วๆ นี้ จะเร่งให้ดีเอสไอมาเปิดดูกระดาษคำตอบที่ได้สั่งอายัดเอาไว้ เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ

          "กรณีพบผู้ทุจริตที่ สพป.ยโสธร เขต 1 และ สพป.อุดรธานี เขต 3 ในวันที่สอบ แต่ สพฐ.ให้ปิดเป็นความลับ และไม่ให้แจ้งความเพราะเกรงจะเกิดปัญหานั้น ปกติแล้วต้องแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่เข้าสอบแต่เมื่อไม่ดำเนินการอะไร ก็เป็นข้อมูลที่ต้องให้ดีเอสไอไปตรวจสอบด้วย ถือว่าไม่ถูกต้องหาก สพฐ.สั่งให้ปกปิดเรื่องนี้ ผมมองว่าการสอบครูผู้ช่วยคราวนี้กระทบคนจำนวนมาก ขณะนี้มีผู้ที่ให้ข้อมูลเยอะมาก ที่สำคัญทุกคนจะรู้กันว่าใครสอบได้และสอบไม่ได้ เพราะทุกคนจะรู้ว่ามีข่าวเสียเงินเสียข้อมูลเยอะมาก ที่สำคัญทุกคนจะรู้กันว่าใครสอบได้และสอบไม่ได้ เพราะทุกคนจะรู้ว่ามีข่าวเสียเงินเสียทอง และหากไม่แก้ไขปัญหานี้แล้ว ทั้งชาติก็สอบบรรจุไม่ได้แน่ แม้บางคนจะเป็นพนักงานราชการมา 10 กว่าปี ฉะนั้น ถ้าพบว่าบุคคลใดเกี่ยวข้องกับการทุจริตครั้งนี้ จะต้องถูกลงโทษอย่างแน่นอน" นายเสริมศักดิ์กล่าว

          นายเสริมศักดิ์กล่าวอีกว่า ส่วนการเลื่อนการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ออกไปจากที่กำหนดไว้เป็นวันที่ 13 มีนาคม เพื่อรอผลสรุปจากดีเอสไอนั้น ได้หารือกับนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการ ศธ.แล้ว นายพงศ์เทพเห็นด้วย เช่นเดียวกับการเสนอให้ยกเลิกการสอบนั้น มีแนวโน้มยกเลิกเป็นรายเขตพื้นที่ฯ และรายวิชาเอก

          นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า กรณีมีผู้ระบุว่ามีพนักงานราชการที่อายุงานไม่ถึง 3 ปี ตามหลักเกณฑ์คุณสมบัติให้สมัครสอบคัดเลือก ได้ติดสินบนให้ผู้อำนวยการโรงเรียนทำเอกสารรับรองว่าทำงานครบ 3 ปี หากเป็นเช่นนั้นจริงถือว่าทุจริตและมีความผิดทั้งในส่วนของผู้ที่สมัครสอบคัดเลือก และในส่วนของผู้อำนวยการโรงเรียน ในฐานะที่ทำเอกสารทางราชการปลอม นอกจากนี้ เขตพื้นที่ฯ ที่รับคนเหล่านี้เข้าไปบรรจุก็มีความบกพร่องและมีความผิดด้วย เพราะก่อนบรรจุต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานให้ถูกต้องและชัดเจนก่อน อย่างไรก็ตาม หากใครมีข้อมูลในส่วนนี้ แจ้งมาได้ที่ สพฐ. แต่ สพฐ.จะยังไม่ลงไปตรวจสอบ เนื่องจากเป็นคนละส่วนกับการทุจริตการสอบครูผู้ช่วยที่กำลังตรวจสอบกันอยู่

          นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการ ศธ.ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ กล่าวว่า วันนี้นายเสริมศักดิ์ได้ลงนามคำสั่งถึงเลขาธิการ กพฐ.เพื่อสั่งการให้ สพฐ.ให้ข้อมูลเอกสาร และหลักฐานที่เกี่ยวกับการสอบครูผู้ช่วยแก่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ที่ผ่านมาการขอเอกสาร หลักฐาน และข้อมูลจากพนักงาน และเจ้าหน้าที่ สพฐ.ทั้งในส่วนกลาง และเขตพื้นที่ฯ มีปัญหามากอ้างว่าไม่สามารถให้ข้อมูลได้ เพราะต้องรอการสั่งการจากผู้บริหาร สพฐ.ก่อน

          แหล่งข่าวจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดของนายพิษณุ กล่าวว่า พบผู้ผ่านการคัดเลือกที่มีคะแนนสูงและเข้าข่ายทุจริต 468 คน แบ่งเป็น ผู้เข้าสอบใน สพป. 388 คน ดังนี้ ภาคตะวันตก 4 คน 4 จังหวัด ภาคอีสาน 252 คน 22 จังหวัด ภาคเหนือ 35 คน 6 จังหวัด ภาคกลาง 26 คน 13 จังหวัด ภาคตะวันออก 26 คน 5 จังหวัด และภาคใต้ 17 คน 8 จังหวัด ส่วนอีก 98 คน เป็นผู้เข้าสอบในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 98 คน แบ่งเป็น กรุงเทพมหานคร 2 คน ภาคเหนือ 1 คน ภาคกลาง 15 คน ภาคตะวันออก 6 คน ภาคอีสาน 72 คน ภาคใต้ 1 คน และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 1 คน

          แหล่งข่าวระดับสูงคนหนึ่ง กล่าวว่า จากผลการสอบขณะนี้ มีความชัดเจนว่ามีข้อสอบรั่วไหลจำนวน 33 ชุด แบ่งเป็น ข้อสอบชุดที่ 1 ความรู้ทั่วไป (รหัส 101) ชุดที่ 2 ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (รหัส 200) มีวิชาเอก 30 วิชา ชุดที่ 3 ความถนัดและเจตคติต่อวิชาชีพครู (รหัส 301) และชุดที่ 4 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู (รหัส 401) จากส่วนกลาง คือจากคนใน สพฐ.โดยมีผู้บริหารเกี่ยวข้องกับปัญหาข้อสอบรั่ว 3 ราย เชื่อมโยงกับผู้บริหารระดับผู้อำนวยการคนหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง และผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ.อีก 2 ราย อาจเข้าข่ายการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และบกพร่องในการบริหารงาน อาจจะมีความผิดในคดีอาญา และความผิดทางวินัยด้วย แต่ทั้งหมดนี้ต้องรอผลการสอบสวนของดีเอสไอมาประกอบ
          ด้านนายประเวศ รัตนะบุรี ผอ.สพป.อุดรธานี เขต 3 อ.หนองหาน จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า การสอบครูผู้ช่วยที่ สพป.3 เมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมานั้น มีผู้เข้าสอบเพียง 100 คนเศษ ขณะที่สอบผู้ควบคุมห้องสอบตรวจพบผู้เข้าสอบเป็นชาย 1 คน นำโทรศัพท์มือถือเข้าไปในห้องสอบผิดระเบียบชัดเจน ล่อแหลมต่อการทุจริต แต่ยังไม่พบการทุจริต ผู้ควบคุมห้องสอบจึงยึดโทรศัพท์มือถือ และรายงานให้คณะกรรมการควบคุมการสอบทราบ
          "คณะกรรมการได้เชิญผู้เข้าสอบออกจากห้อง ตรวจสอบพบแผ่นเอกสาร 1 ฉบับ มีลักษณะเป็นตัวอักษรและตัวเลข แต่ระบุไม่ได้ว่าเป็นตัวเลขอะไร จึงตรวจยึดเอกสารไว้อีก และทำบันทึกถ้อยคำไว้เป็นหลักฐานและไม่ให้ชายคนดังกล่าวเข้าสอบ พร้อมกันนั้นได้รายงานทางโทรศัพท์ให้ สพฐ.รับทราบ ซึ่งคำสั่งให้เดินทางเข้ารายงาน สพฐ.ด้วยตนเอง ก็ได้เดินทางไปในวันรุ่งขึ้น หลังจากรายงานด้วยวาจาแล้วทำรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมสำเนาเอกสารที่ยึดไปด้วย"
          ผอ.สพป.อุดรธานี เขต 3 อ.หนองหาน จ.อุดรธานี กล่าวต่อว่า ชายที่เข้าสอบพร้อมโทรศัพท์มือถือดังกล่าว มีโทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง เครื่องแรกได้ฝากไว้กับผู้คุมห้องสอบ แต่อีกเครื่องนำเข้าไปในห้องสอบด้วยซึ่งมีลักษณะเป็นเครื่องเก่าแต่ "ซิม" ใหม่ เพราะไม่มีข้อมูลใดๆ ที่ถูกบันทึกไว้ในโทรศัพท์ และเครื่องที่เอาเข้าห้องสอบยังเก็บรักษาไว้ที่ สพป.อุดรธานี 3 โดยได้ไปแจ้งความเป็นหลักฐาน ที่ สภ.หนองหาน อุดรธานี แต่แจ้งความดำเนินคดีไม่ได้ เพราะไม่ใช่นิติบุคคล ต้องให้ สพฐ.มอบอำนาจก่อน
          นายประเวศกล่าวอีกว่า ได้รายงานให้ส่วนกลางรับทราบทันทีที่เหตุการณ์เกิดขึ้น ทั้ง รมช.ศธ. และ เลขาฯสพฐ. รับทราบทั้งหมดแล้ว เพราะจากนั้นได้มีคณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรเพื่อการศึกษา (กกศ.) เดินทางมาสอบสวน และตนก็พร้อมให้ความร่วมมือกับดีเอสไอที่จะเดินทางมา สอบสวนด้วยในเร็วๆ นี้

          ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

ดีเอสไอฟันธงทุจริตครูผู้ช่วย ส่งผลสรุปให้ ศธ.ยกเลิกการสอบ 18 มี.ค. พบทุจริตโผล่อีก 2 ราย

      จาก กรณีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยอมรับว่าการทุจริตสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว 12 ครั้งที่ผ่าน น่าจะทุจริตจากส่วนกลาง เพราะมีผู้สอบได้คะแนนเต็มถึง 480 คน ขณะที่นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) พบพิรุธในการจัดผังที่นั่งสอบ โดยพบว่าเขตพื้นที่การศึกษาได้ปรับผังที่นั่งใหม่ ไม่เป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนด และกรณีพนักงานราชการแฉผู้อำนวยการโรงเรียนรับเงินแลกกับการออกเอกสารปลอม เพื่อรับรองการทำงานของพนักงานราชการที่ยังทำงานไม่ครบ 3 ปีนั้น      เมื่อ เวลา 10.00 น. วันที่ 6 มีนาคม ที่ สพฐ.ศธ.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ รอง ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 2 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พร้อมเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ประมาณ 10 คน เข้าขอข้อมูลและสอบปากคำเจ้าหน้าที่ สพฐ.ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดสอบครูผู้ช่วย โดยมีนายสุเทพ ชิตยวงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.และเจ้าหน้าที่ สพฐ.ประมาณ 5 คนเข้าให้ปากคำ และนำเอกสารต่างๆ มาชี้แจง ซึ่งเจ้าหน้าที่ดีเอสไอใช้เวลาสอบปากคำประมาณ 3 ชั่วโมง       นายธานินทร์เปิดเผยภายหลังว่า ดีเอสไอจะนำเอกสารต่างๆ ที่ได้ในวันนี้ไปตรวจสอบว่าเอกสารเหล่านี้ว่ามีกระบวนการที่ถูกต้องตาม กฎหมายหรือไม่ ซึ่งเอกสารมีจำนวนมาก ทำให้พนักงานสอบสวนต้องขอกลับไปรวบรวมก่อน โดยมีประเด็นที่ต้องพิจารณามากขึ้น เช่น กระบวนการสอบ การส่งข้อสอบ และการทุจริตการสอบที่ต้องดูเอกสารว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลหรือไม่ ทั้งนี้ จากข้อมูลของ สพฐ.ที่แจ้งว่าพบผู้ผ่านการสอบบางคนมีคะแนนสูงผิดปกติ ทำให้ชี้จุดได้ว่าลักษณะของการทุจริตเป็นอย่างไร และกลุ่มที่เข้าข่ายทุจริตเป็นกลุ่มไหนบ้าง โดยข้อมูล สพฐ.ระบุว่ามีผู้ผ่านการคัดเลือกที่คะแนนสูงผิดปกติตั้งแต่ร้อยละ 90-100 ประมาณ 400 คน โดยคะแนนเฉลี่ยของผู้เข้าสอบครั้งนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 80      "ดังนั้น พนักงานสอบสวนจะประเมินว่าคะแนนส่วนไหนที่มีปัญหา อาจต้องคัดกรอง และเชิญผู้เข้าสอบที่มีคะแนนสูงผิดปกติมาสอบปากคำว่าทำได้จริงหรือไม่ ซึ่งจะต้องชี้เป็นรายคน โดยการคัดกรองกลุ่มที่คะแนนสูงผิดปกติ และเข้าข่ายในลักษณะการใช้เครื่องมือ หรือการพกโพยคำตอบเข้าไป อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่คะแนนสูงผิดปกติอาจมีส่วนในการทุจริตครั้งนี้ แต่ต้องตรวจสอบก่อน เพราะบางคนที่เก่งจริงก็อาจสอบได้คะแนนสูง และทั้งหมดต้องขึ้นกับพยานหลักฐาน" นายธานินทร์กล่าว      นายธานินทร์ กล่าวว่า ส่วนกระดาษคำตอบที่อายัดไว้ จะต้องทำหนังสือถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.เพื่อขออนุญาตนำกระดาษคำตอบส่งให้ดีเอสไอ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับพยานหลักฐานที่ได้ ส่วนผู้อำนวยการโรงเรียนและอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งดีเอสไอเชิญมาให้ข้อมูลนั้น ไม่ใช่ผู้ทุจริต แต่เป็นผู้ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับกระบวนการทุจริต ดังนั้น จึงต้องเรียกมาให้ข้อมูล เพื่อจะได้สาวไปถึงตัวการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะใช้เวลาสอบ 3 วัน และสัปดาห์หน้าพนักงานสอบสวนจะลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบอีกครั้ง      "ข้อมูล ที่ได้ในวันนี้เป็นประโยชน์มาก ทำให้ตีวงแคบมากขึ้นในการหาตัวผู้ทุจริต ซึ่งอาจไม่ได้ตีวงกว้างทั่วประเทศ อาจจะมีเฉพาะจุด และขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่จะตรวจสอบ โดยวันที่ 18 มีนาคม จะสรุปผลสอบเบื้องต้นว่ากลุ่มที่กระทำความผิดมีใครบ้าง และต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป" นายธานินทร์กล่าว      นายธานินทร์กล่าว อีกว่า ขณะนี้พนักงานสอบสวนได้หลักฐานเบื้องต้นจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงชุด ที่นายเสริมศักดิ์แต่งตั้งนำมามอบให้ และยังมีพยานหลักฐาน เครื่องมือสื่อสาร โพยคำตอบต่างๆ ที่นำเข้าห้องสอบ ซึ่งพนักงานสอบสวนต้องตรวจสอบว่ามีการใช้เครื่องมือสื่อสารจริงหรือไม่ และโพยคำตอบที่นำเข้าห้องสอบตรงกับคำตอบที่ถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็แสดงว่ามีข้อมูลชัดว่าทุจริตจริง อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ดีเอสไอจะดำเนินการมี 2 ประเด็น คือ 1.ต้องชี้ว่ากรณีดังกล่าวมีการทุจริตจริงหรือไม่ เพื่อให้ ศธ.พิจารณาว่าควรยกเลิกผลสอบบางจุด หรือยกเลิกทั้งหมด โดยจะให้เสร็จภายในวันที่ 18 มีนาคม และ 2.ผู้กระทำผิดมีกระบวนการอย่างไร และมีใครบ้าง เมื่อได้หลักฐานพอสมควรแล้ว จะนำเสนอคณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อบรรจุให้กรณีทุจริตนี้เป็นคดีพิเศษ จะทำให้มีอำนาจสอบสวนเต็มที่ เพื่อจะได้หาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษทางกฎหมาย      ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้สรุปได้หรือไม่ว่าข้อสอบครูผู้ช่วยรั่วในขั้นตอนใด นายธานินทร์กล่าวว่า ตอบยาก เพราะทุกๆ จุดมีช่องโหว่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของบริษัทที่ทำข้อสอบ หน่วยงานที่ส่งข้อสอบ คณะกรรมการรับข้อสอบ และคณะกรรมการเปิดข้อสอบ ฉะนั้น พนักงานสอบสวนต้องแยกเป็นประเด็น และดูว่าตรงไหนมีจุดโหว่มากที่สุด       นายเสริมศักดิ์กล่าวว่า การตรวจสอบในขณะนี้พบผู้สอบกลุ่มที่มีคะแนนสูงผิดปกติ 486 คน กระจายตัวใน 60 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งสันนิษฐานเบื้องต้นได้เลยว่าผู้เข้าสอบกลุ่มนี้ตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่า ทุจริตการสอบ โดยเฉพาะกรณีข้อสอบรั่วที่ทำให้ผู้เข้าสอบบางคนมีคะแนนสูงผิดปกติ อย่างไรก็ตาม กรณีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ ศธ.จะนัดประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) นัดพิเศษ ในวันที่ 13 มีนาคม เพื่อพิจารณาว่าจะยกเลิกผลการสอบครูผู้ช่วยหรือไม่นั้น จะหารือนายพงศ์เทพเพื่อขอให้เลื่อนการประชุมคณะกรรมการ ก.ค.ศ.ออกไปปลายเดือนมีนาคม เพื่อรอผลการตรวจสอบจากฝ่ายต่างๆ ก่อน       นายพงศ์เทพกล่าวว่า ขอยืนยันอีกครั้งว่าจะจัดการกับผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตสอบครู ผู้ช่วยครั้งนี้ขั้นเด็ดขาด และเท่าที่ได้ดูกราฟข้อมูลคะแนนของผู้เข้าสอบที่นายชินภัทรนำมารายงานให้ ทราบ พบว่ามีความผิดปกติของคะแนนผู้เข้าสอบมาก ส่วนที่มีผู้ทุจริตสอบใช้เครื่องมือสื่อสารระบบสั่นเข้าห้องสอบในพื้นที่ สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา (สพป.) อุดรธานี เขต 3 แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่ทุจริตนั้น ต้องดำเนินการให้ถึงที่สุด หากเป็นข้าราชการก็ต้องดำเนินการทั้งวินัยและอาญา หากเป็นบุคคลทั่วไปก็ต้องดำเนินการทางอาญา จะไม่ปล่อยให้เกิดกรณีของมวยล้มต้มคนดูแน่ เพราะนายเสริมศักดิ์เดินหน้าตรวจสอบเรื่องนี้เต็มที่อยู่แล้ว      นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ตนให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการสอบครั้งนี้ ให้ข้อมูลกับดีเอสไอเต็มที่ รวมถึงเตรียมเอกสารข้อมูล 4 ส่วนไว้ให้ตามที่ดีเอสไอขอมา คือ 1.หลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบคัดเลือก 2.จำนวนเขตพื้นที่การศึกษา และรายชื่อเขตพื้นที่ฯ 3.จำนวนผู้เข้าสอบ ผลการสอบ และรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก และ 4.วิธีการจัดส่งข้อสอบ การเก็บข้อสอบ และการประกาศผลสอบ ส่วนที่นายเสริมศักดิ์จะขอให้เลื่อนการประชุม ก.ค.ศ.ออกไป เพื่อรอผลการสอบสวนจากดีเอสไอนั้น แล้วแต่ความเหมาะสม ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญ เพราะข้อมูลจากดีเอสไอน่าจะมีน้ำหนักต่อการตัดสินใจว่าจะออกมาในลักษณะใด ส่วนตนยังไม่ได้รับการติดต่อจากดีเอสไอเพื่อขอสอบปากคำ แต่ถ้าติดต่อมาก็พร้อมให้ความร่วมมือ       ผู้สื่อข่าวถามว่า เท่าที่ดูข้อมูลจาก สพฐ.มีน้ำหนักมากพอที่จะทำให้ยกเลิกการสอบเป็นบางเขตพื้นที่ฯหรือไม่ นายชินภัทรกล่าวว่า ยังขอไม่ให้ความเห็นเรื่องนี้ เพราะน่าจะปรึกษาหารือกับผู้บริหารระดับนโยบายก่อน ดังนั้น สพฐ.คงทำไปตามขั้นตอน และขั้นตอนหนึ่งคือช่วงของการตรวจสอบข้อเท็จจริง ทุกฝ่ายก็ดำเนินการไป และนำข้อมูลจากทุกส่วนมารวมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด กรณีมีผู้กล่าวหาว่ามีคนในของ สพฐ.เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยนั้น คิดว่าเอาหลักฐาน และพยานมาพูดกันดีกว่า เพราะการตั้งข้อสงสัย และวิจารณ์เกินเลยไป ไม่ส่งผลดี ควรจะทำให้ทุกอย่างกระจ่างชัดด้วยพยานหลักฐานจะดีที่สุด      วันเดียวกัน ที่ดีเอสไอ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวในการแถลงผลการตรวจสอบการทุจริตสอบครูผู้ช่วยว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบหลักฐานชี้ว่ามีทุจริตสอบครูผู้ช่วยจริง โดยจะสรุปผลการสืบสวนเบื้องต้นส่งให้ ศธ.นำไปประกอบการพิจารณายกเลิกการสอบหรือไม่ ภายในวันที่ 18 มีนาคมนี้ สำหรับประเด็นที่ต้องสืบสวนให้ได้ข้อเท็จจริงต่อไปคือทุจริตเฉพาะพื้นที่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) หรือเกิดการทุจริตทั่วประเทศ เพื่อให้ ศธ.พิจารณาว่าจะยกเลิกการสอบทั้งหมด หรือยกเลิกการสอบเพียงบางพื้นที่ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการจัดสอบแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก      นายธานินทร์กล่าวเพิ่มเติมว่า เบื้องต้นจากการตรวจสอบเชื่อว่ามีทุจริตครูผู้ช่วยเกิดขึ้นจริง โดยมี 3 รูปแบบ คือ 1.การให้บุคคลอื่นเข้าสอบแทน 2.การนำข้อสอบออกมา และเฉลยข้อสอบ เพื่อให้นำไปท่องจำก่อนเข้าสอบ และ 3.การนำเครื่องมือสื่อสารเข้าไปในห้องสอบ เนื่องจากการสืบสวนพบมีหลักฐานชี้ชัด โดยเฉพาะพยานบุคคลที่ให้การว่าก่อนถึงวันสอบ 2 วัน มีการอบรมการใช้เครื่องมือสื่อสารเพื่อเฉลยข้อสอบ      "นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานโพยข้อสอบซึ่งจะนำไปตรวจสอบว่าตรงกับกระดาษคำตอบของ สพฐ.หรือไม่ และยังพบโทรศัพท์มือถือในห้องสอบด้วย อย่างไรก็ตาม ภายในสัปดาห์หน้าจะลงพื้นที่ภาคอีสานเพื่อสอบปากคำพยาน จากนั้นจะสรุปผลการสืบสวนส่งให้ ศธ.ในวันที่ 18 มีนาคม เพื่อดำเนินการต่อไป" นายธานินทร์กล่าว      แหล่งข่าวจากคณะกรรมการตรวจ สอบข้อเท็จจริงชุดที่นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการ ศธ.เป็นประธาน กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบของคณะกรรมการฯ พบว่าในการสอบครูผู้ช่วยวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา มีผู้เข้าสอบนำเครื่องมือสื่อสารที่เป็นโทรศัพท์มือถือเข้าไปในห้องสอบเพื่อ ดูเฉลยที่สนามสอบใน สพป.อุดรธานี เขต 3 และนำยางลบที่เขียนเฉลยคำตอบวิชาที่สองไว้ เข้าห้องสอบที่ สพป.ยโสธร เขต 1 เมื่อกรรมการคุมสอบพบเข้า จึงเกิดการยื้อแย่งยางลบกัน กระทั่งผู้เข้าสอบวิ่งหนีออกจากห้องสอบ แต่ไม่ได้มีการดำเนินการ หรือแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ทุจริตทั้ง 2 ราย และเมื่อสอบถามมายัง สพฐ.ได้รับคำตอบว่าให้ปิดเรื่องนี้ไว้ เพราะเกรงว่าจะกลายเป็นข่าว และกลายเป็นปัญหา      พนักงานราชการคนหนึ่งในภาคอีสาน เปิดเผยกับ "มติชน" ว่า สำหรับการจ่ายเงินให้กับขบวนการทุจริตสอบครูผู้ช่วยในครั้งนี้ ไม่ได้จ่ายที่อัตรา 400,000 บาทเท่านั้น เพราะในกรณีที่ต้องการบรรจุในเขตพื้นที่ฯ ที่ปฏิบัติงานอยู่ เพราะไม่ต้องการไปบรรจุในจังหวัด และภาคอื่นๆ จะต้องจ่ายเงินสูงสุดประมาณ 700,000 บาท โดยเฉพาะใน จ.ขอนแก่น ที่มีการจ่ายเงินในจำนวนที่สูงสุด
(ที่มา:ข่าวหน้า1 มติชนรายวัน 7 มี.ค.2556)

รมว.ศึกษาธิการแจ้งกำหนดสอบบรรจุครูผู้ช่วย 2556


 ศึกษาธิการ - นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมี  นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยผู้บริหารฝ่ายการเมือง คือ นายสุวัฒน์ ตันติพัฒน์/นางฉวีวรรณ คลังแสง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประแสง มงคลศิริ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  ศาสตราจารย์ ธเนศวร์ เจริญเมือง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ดร.วรกร คำสิงห์นอก ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารองค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้



 
  • รับทราบสรุปวงเงินและคำของบประมาณรายจ่ายฯ ปี ๒๕๕๗ ของ ศธ. ๖๕๓,๘๗๔ ล้านบาท
     ที่ประชุมรับทราบสรุปวงเงินและคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่ง ศธ.ได้เสนอวงเงินไปให้สำนักงบประมาณพิจารณาในภาพรวมแล้ว เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ จำนวนทั้งสิ้น ๖๕๓,๘๗๔.๔๓๖๗ ล้านบาท ประกอบด้วยงบประมาณรายจ่ายจำนวน ๖๔๔,๔๙๐.๓๓๔๓ ล้านบาท และงบประมาณกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน จำนวน ๙,๓๘๔.๑๐๒๔ ล้านบาท เพื่อการดำเนินงาน ตามภารกิจหลักสำคัญที่เป็นความจำเป็นพื้นฐาน นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง นโยบายการศึกษาของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ประเทศของรัฐบาล และจุดเน้นการขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาของ ศธ. ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ ของรัฐบาล


     งบประมาณรายจ่าย ๖๔๔,๔๙๐.๓๓๔๓ ล้านบาท ประกอบด้วย

     - สป. ๖๖,๙๙๔ ล้านบาท

     - สกศ. ๓๕๒ ล้านบาท

     - สพฐ. ๓๕๕,๑๔๖ ล้านบาท

     - สอศ. ๒๗,๕๗๓ ล้านบาท

     - สกอ. ๑๘๘,๒๔๘ ล้านบาท

     หน่วยงานในกำกับฯ และองค์การมหาชน ๖,๑๗๓ ล้านบาท คือ 

     - สสวท.๒,๕๘๐ ล้านบาท  
     - สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๓๕๘ ล้านบาท   
     - สกสค. ๑,๐๘๕ ล้านบาท   
     - โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ๓๔๖ ล้านบาท   
     - สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ๙๗ ล้านบาท   
     - สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ๑,๖๗๘ ล้านบาท

  
     งบประมาณกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน ๙,๓๘๔.๑๐๒๔ ล้านบาท


     ทั้งนี้ รมว.ศธ.ได้ย้ำให้ทุกส่วนราชการ หน่วยงานในกำกับฯ และองค์การมหาชน บันทึกข้อมูลรายละเอียดและวงเงินคำขอดังกล่าวลงในระบบคำของบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ e-Budgeting ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ ระดับกระทรวง และระดับกรมด้วย เพื่อนำส่งข้อมูลไปยังสำนักงบประมาณต่อไป
  •   รับทราบปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ พ.ศ.๒๕๕๗
     ที่ประชุมรับทราบปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ ตามมติ ครม. ๒๑ มกราคม ๒๕๕๖ ดังนี้
     ๙ เมษายน ๒๕๕๖  ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณ พร้อมหลักเกณฑ์การปรับปรุงงบประมาณ ปี ๒๕๕๗

     ๑๐-๑๗ เมษายน ๒๕๕๖  ทุกส่วนราชการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณ ตามหลักเกณฑ์ที่ ครม.ให้ความเห็นชอบ และส่งสำนักงบประมาณ
     ๓๐ เมษายน ๒๕๕๖  ครม.ให้ความเห็นชอบการปรับปรุงงบประมาณ

     ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖  ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณและเอกสารประกอบงบประมาณเพื่อนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร

     ๒๙-๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖  สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ วาระที่ ๑

     ๑๔-๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖  สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ วาระที่ ๒ และ ๓

     ๒ กันยายน ๒๕๕๖  วุฒิสภาสภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ

     ๙ กันยายน ๒๕๕๖  สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ ขึ้นทูลเกล้าถวายฯ เพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

  •   รับทราบรายงานความก้าวหน้าโครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน รุ่นที่ ๔
         ที่ประชุมรับทราบ สป.ศธ.ได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามโครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน รุ่นที่ ๔ ซึ่งมติ ครม.เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๖ ได้เห็นชอบในหลักการให้จัดสรรทุนเป็น ๒ ประเภท คือ ทุนประเภท ๑ สำหรับผู้ที่เรียนดี มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับ ม.ปลาย ไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ มีความประพฤติดี แต่มีรายได้น้อย ครอบครัวมีรายได้ไม่เกิน ๒ แสนบาทต่อปี จำนวน ๙๒๘ ทุน ให้ไปศึกษาใน ๓๕ ประเทศ และทุนประเภท ๒ สำหรับผู้ที่เรียนดี มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับ ม.ปลาย ไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ มีความประพฤติดี ให้ไปศึกษาในสาขาวิชาที่ขาดแคลนด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน ๙๒๘ ทุน
       จากการรับสมัครผู้รับทุนทั้ง ๒ ประเภท ระหว่างวันที่ ๒๘ มกราคม - ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ มีผู้สมัครรับทุนรวมทั้ง ๒ ประเภทจำนวนประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน แบ่งเป็นทุนประเภท ๑ มีผู้สมัครจำนวน ๖,๕๘๒ คน และทุนประเภท ๒ จำนวนกว่า ๑๔,๐๐๐ คน (รอรับรายงานเพิ่มอีก ๓ เขตพื้นที่การศึกษา) โดยกลุ่มนักเรียนที่สมัครสอบส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง ตามลำดับ
      การดำเนินงานขั้นตอนต่อไป จะมีการสอบข้อเขียนในวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖ ซึ่งจะจัดสอบในศูนย์สอบแต่ละจังหวัดๆ ละ ๑ แห่ง ยกเว้นบางจังหวัด คือ  กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และตาก มีศูนย์สอบ ๒ แห่ง โดยจะประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียนในวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๖ สอบสัมภาษณ์ในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๖ และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับทุนในวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖ จากนั้นจะมีการปฐมนิเทศระหว่างวันที่ ๑๙-๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖  และการเตรียมความพร้อมของผู้รับทุนด้านภาษาและวัฒนธรรมของประเทศที่ผู้รับทุนเลือกไปศึกษาในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ๒๕๕๖ ซึ่งผู้รับทุนทุกรายจะเริ่มเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๕๖ เป็นต้นไป

  • รับทราบผลการประชุมระดับภูมิภาคด้านการศึกษาเพื่อปวงชน ครั้งที่ ๑๓
     ที่ประชุมรับทราบ สป.ศธ.ได้รายงานผลการประชุมระดับภูมิภาคผู้ประสานงานระดับชาติด้านการศึกษาเพื่อปวงชน ครั้งที่ ๑๓ (13thRegional Meeting of National EFA Coordinators : The Big Push) จัดโดยสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๒๖-๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ 
  •   รับทราบข้อมูลการประเมินระดับนานาชาติของ PISA ปี ๒๕๕๕ 
     ที่ประชุมรับทราบ สพฐ.ได้นำเสนอข้อมูลที่ธนาคารโลกได้สรุปผลวิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะข้อมูล จากผลการประเมินในระดับนานาชาติของประเทศไทย คือ PISA (2000-2009) และ TIMSS (1999-2007) ออกเผยแพร่ในเดือนมกราคม ๒๕๕๕ โดยใช้ชื่อเรื่องLearning Outcomes in Thailand, What Can We Learn from International Assessments? ซึ่งผลคะแนนระดับนานาชาติจะมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ภาครัฐ ประชาชน และระบบการศึกษาของประเทศ ต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของประเทศอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนขาดทักษะที่จำเป็นในการแข่งขันทางสังคมและประชาคมระหว่างประเทศ 

นอกจากนี้ รมว.ศธ.และ รมช.ศธ. ได้ฝากให้ที่ประชุมรับทราบและดำเนินการในประเด็นต่างๆ คือ
  •   การสอบบรรจุครูผู้ช่วย  ซึ่งจะต้องรอผลสอบสวนจาก DSI ให้เสร็จสิ้นก่อน จึงเห็นควรเลื่อนการ ประชุม ก.ค.ศ.ในวันที่ ๑๓ มีนาคมนี้ออกไปก่อน อย่างไรก็ตาม รมว.ศธ.ย้ำว่าการสอบบรรจุครูผู้ช่วยควรจะต้องดำเนินการจัดสอบให้เสร็จสิ้น โดยเร็วภายในเดือนเมษายน ๒๕๕๖ เพื่อไม่ให้โรงเรียนเอกชนประสบปัญหาการขาดแคลนครู กรณีที่ครูเอกชนได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วย โดยจะมีการให้มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของสังคม มาดำเนินการจัดสอบ โดย รมว.ศธ.ย้ำว่าต้องป้องกันการทุจริตในกระบวนการสอบแข่งขันอย่างรัดกุมมากขึ้น ไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก 
  • กองทุนตั้งตัวได้  หลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานเปิดตัวโครงการกองทุนตั้งตัวได้ไปแล้ว ขอให้ สกอ.เร่งดำเนินการ โดยเชิญคณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งตัวได้ มาร่วมประชุมเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนกองทุน พร้อมทั้งให้ สกอ.รายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการเป็นระยะด้วย
  •  เชิญข้าราชการ นักเรียนนักศึกษา และประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมชมนิทรรศการ Thailand 2020 "ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก การลงทุนของประชาชน...เพื่อประชาชน" ระหว่างวันที่ ๘-๑๒ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ อาคาร B (อาคารรัฐประศาสนภักดี) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะ จ.นนทบุรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีรับเชิญเป็นประธานเปิดงานในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๗.๓๐ น. โดยมีกิจกรรมสำคัญในงาน เช่น การสัมมนาหัวข้อ "ยุทธศาสตร์การลงทุนเพื่ออนาคตประเทศไทย" และ "การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ๒ ล้านล้าน... ประเทศชาติและประชาชน ๔ ภาคได้อะไร" พร้อมทั้งมีการจำหน่ายสินค้า OTOP ระดับ ๕ ดาว ร้านธงฟ้าราคาประหยัด เป็นต้น
  •  การจัดงานรำลึกคุรุวีรชนชายแดนใต้ ครั้งที่ ๕ ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี ในวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๖ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
  •  มาตรการประหยัดพลังงาน  รมว.ศธ.ย้ำให้ทุกท่านได้ใส่ใจดูแลเรื่องการประหยัดพลังงาน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประเทศแล้ว จะช่วยรักษาด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
  •  การลงโทษนักเรียนโดยใช้ไม้เรียวเฆี่ยนตีนักเรียน  ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้นำคลิปวีดิโอให้ รมว.ศธ.ดูกรณีที่ครูผู้ช่วยรายหนึ่งใน จ.ชลบุรี ทำโทษนักเรียนโดยใช้ไม้เรียวตีเด็กนักเรียนอย่างรุนแรง จากการที่นักเรียนรายนั้นไม่ได้ทำรายงานส่งตามเวลาที่กำหนด ซึ่งมีการออกข่าวทางโทรทัศน์ช่อง ๗ ด้วยว่า ครูรายนั้นได้รับการว่ากล่าวตักเตือนจากสถานศึกษา และรายงานให้เขตพื้นที่การศึกษาทราบเท่านั้น จึงขอให้ สพฐ.ได้พิจารณาดำเนินการกรณีดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้ครูกระทำรุนแรงต่อนักเรียน ซึ่งสถานศึกษาหรือหน่วยงานต้นสังกัดไม่ควรปล่อยปละละเลยกรณีครูกระทำการลงโทษนักเรียนด้วยวิธีการที่รุนแรง และยุติเรื่องเพียงแค่ว่ากล่าวตักเตือนครูเท่านั้น

    ที่มา กระทรวงศึกษาธิการ

ดีเดย์ปลายเดือนสั่งโมฆะสอบครู


          เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวถึงกรณีที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ยื่นเรื่องให้ดีเอสไอตรวจสอบการทุจริตการสอบคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า จากการสอบสวนเบื้องต้นพบหลักฐานชี้ว่ามีการทุจริตสอบครูผู้ช่วยจริง โดยหลังจากนี้จะเร่งสรุปผลการสืบสวนส่งให้กระทรวงศึกษาธิการนำไปประกอบการพิจารณายกเลิกการสอบหรือไม่ได้ภายในวันที่ 18 มี.ค.นี้ สำหรับประเด็นที่ต้องสืบสวนให้ได้ข้อเท็จจริงคือมีการทุจริตเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือเกิดการทุจริตทั่วประเทศ เพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาว่าจะยกเลิกการสอบทั้งหมดหรือยกเลิกการสอบเพียงบางพื้นที่เท่านั้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการจัดสอบแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก

          ด้านนายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ รอง ผบ. สำนักคดีอาญาพิเศษ 2 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริต กล่าวว่า จากการตรวจสอบเชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง โดยมี 3 ลักษณะ คือ การให้บุคคลอื่นเข้าสอบแทน  การนำข้อสอบออกมาและเฉลยข้อสอบ การนำโพยข้อสอบไปท่องจำ และการนำเครื่องมือสื่อสารเข้าไปในห้องสอบ เนื่องจากในการสืบสวนพบมีหลักฐานชี้ชัด โดยเฉพาะพยานบุคคลที่ให้การว่าก่อนจะสอบ 2 วันได้มีการอบรมการใช้เครื่องมือสื่อสาร เพื่อเฉลยข้อสอบ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเป็นโพยข้อสอบ ซึ่งจะนำไปตรวจสอบว่าตรงกับกระดาษคำตอบของ สพฐ.หรือไม่ ที่สำคัญยังมีการพบโทรศัพท์มือถือในห้องสอบด้วย อย่างไรก็ตาม คดีการทุจริตสอบอยู่ในบัญชีแนบท้าย พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ ดังนั้นจึงต้องเสนอให้คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) มีมติรับเป็นคดีพิเศษก่อนจึงจะสามารถดำเนินการต่อไปได้

          ขณะที่นายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้พบผู้สอบกลุ่มที่มีคะแนนสูงผิดปกติจำนวน 486  คน กระจายตัวใน 60 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งสันนิษฐานเบื้องต้นได้ก่อนเลยว่าผู้สอบกลุ่มนี้ตกเป็นผู้ต้องสงสัยทุจริตการสอบ โดยเฉพาะกรณีข้อสอบรั่วที่ทำให้ผู้สอบบางคนมีคะแนนสูงจนผิดปกติ ส่วนที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศธ.จะนัดประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) นัดพิเศษ ในวันที่ 13 มี.ค.นี้ เพื่อพิจารณาว่าจะยกเลิกหรือไม่ยกเลิกผลการสอบ ตนจะขอคุยกับ รมว.ศธ.ก่อน เพื่อขอให้เลื่อนไปเป็นช่วงปลายเดือน มี.ค.นี้ เพราะอยากให้ทุกฝ่ายได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเสียก่อน.

          ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

พงศ์เทพเล็งเลื่อนสอบครูผู้ช่วย รอให้ผลเชือดขบวนการโกงออกมาก่อน/ดีเอสไอลงอีสานหาข้อมูลเพิ่ม




          กรุงเทพฯ * โกงสอบครูผู้ช่วยพิเศษ กระทบการสอบครูผู้ช่วยทั่วไป "พงศ์เทพ" เห็นด้วยเลื่อนสอบออกไปก่อนจากกำหนดเดิมเดือน เม.ย. ชี้ควรรอให้การสอบสวนขบวนการโกงสอบครูผู้ช่วยสุดฉาวเสร็จสิ้น ส่วนการจัดสอบใหม่ต้องกำจัดจุดอ่อน หาวิธีที่รัดกุมโปร่งใสยิ่งขึ้น ด้านดีเอสไอลงพื้นที่อีสานหาข้อมูลเพิ่ม เจาะลึกขบวนการโกงใครเอี่ยวบ้าง

          วันที่ 3 มีนาคม 2556 นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงกรณีการตรวจสอบพบทุจริตการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นพิเศษหรือเหตุพิเศษ หรือ ว12 ซึ่งตรวจพบว่าอาจมีผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เกี่ยวข้อง ขณะที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ เตรียมเสนอให้เลื่อนการสอบบรรจุข้าราชการครูทั่วไปในเดือน เม.ย.นี้ออกไปก่อน ว่า แนวคิดของนายเสริมศักดิ์เป็นเรื่องที่ดี เพราะต้องตรวจสอบการทุจริตกรณีที่เกิดขึ้นนี้ให้เรียบร้อยก่อน เพื่อจะได้ดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีจุดบกพร่องที่ใด จะได้อุดจุดบอดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก และจัดระบบการสอบครั้งใหม่ให้รัดกุมโปร่งใส เพื่อไม่ให้มีใครได้เปรียบเสียเปรียบหรือมีใครรู้ข้อสอบก่อน อย่างไรก็ตามตนขอรอการตรวจสอบจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก่อน ซึ่งคิดว่าอีกไม่นาน

          รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า สำหรับข้อซักถามว่าในส่วน ศธ.จะตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีที่เกิดขึ้นหรือไม่ กรณีอาจมีผู้บริหารระดับสูงเข้าไปเกี่ยวข้องนั้น ขณะนี้ดีเอสไอเป็นองค์กรจากภายนอกที่ตรวจสอบอยู่ และเราก็เชื่อว่าข้อมูลจากดีเอสไอเป็นกลางที่สุด หากให้ ศธ.หรือ สพฐ.ตรวจสอบเอง สาธารณชนอาจเกิดความคลางแคลงใจ

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในสัปดาห์นี้ดีเอสไอนำโดยนายธานิน เปรมปรีดิ์ รอง ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 2 ดีเอสไอ พร้อมชุดสอบสวนจะลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดต่างๆ ที่มีการเปิดสอบครูผู้ช่วย เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานให้ชัดเจนทั้ง 3 ประเด็น ทั้งการให้ท่องเฉลยข้อสอบการเข้าห้องสอบ การใช้เครื่องมือสื่อสารติดต่อส่งคำตอบ และการเข้าสอบแทน แต่จะทำกันทุกเขตทุกพื้นที่หรือไม่ต้องสืบหาขบวนการในเชิงลึกต่อไป และตรวจสอบเส้นทางการเงินในส่วนของการเรียกรับเงินจากผู้เข้าสอบหัวละ 500,000 บาท.



          ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

"พงศ์เทพ" แย้มยกเลิกสอบครูผู้ช่วยเฉพาะพื้นที่มีปัญหา "บิ๊ก ศธ." แฉเหตุสมัครสอบซ้ำ


                           

ความคืบหน้ากรณีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิชรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)เข้าพบนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อขอให้ขยายผลการสอบสวนการทุจริตสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วยครั้งที่ผ่านมา หลังตรวจพบมีพนักงานราชการในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 2 รายมีชื่อแต่ละรายเข้าสอบที่สนามสอบ 2 เขตพื้นที่การศึกษาในวันและเวลาเดียวกัน และทั้ง 2 รายมีชื่อเข้าสอบที่ สพป.ขอนแก่น เขต 3 เหมือนกันด้วย โดยรายแรกคือ นายภานุวัฒน์ ไชยวงศ์พนักงานราชการสังกัด สพป.ใน จ.ชัยภูมิ สอบติดลำดับที่ 1 กลุ่มวิชาเอกภาษาไทย ที่สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 และปฏิเสธไม่ได้ไปสอบที่สพป.ขอนแก่น เขต 3 ทั้งที่มีชื่อสอบผ่านลำดับที่15 กลุ่มวิชาเอกทั่วไป ส่วนรายล่าสุดสอบติดลำดับที่ 1 กลุ่มวิชาเอกประถมศึกษา ที่สพป.นครปฐม เขต 1 ซึ่งเจ้าตัวยอมให้ข้อมูลกับกรรมการสืบสวนของ ศธ.เกี่ยวกับกระบวนการทุจริตครั้งนี้ โดยอ้างว่ามีข้าราชการระดับสูงในศธ.ร่วมขบวนการด้วย จึงถูกกันไว้เป็นพยานและมีแนวโน้มว่า ศธ.จะสั่งยกเลิกการสอบบรรจุครูผู้ช่วยครั้งนี้กว่า 2 พันอัตรานั้น 
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ตรวจสอบว่า ผู้มีรายชื่อขึ้นบัญชีซ้ำกันที่ สพป.ขอนแก่น เขต3 และ สพป.นครปฐม เขต 1 ดังกล่าว ได้รับการบรรจุไปหรือยัง ซึ่งปรากฏว่าได้รับการบรรจุที่สพป.นครปฐม เขต 1 ไปแล้ว จึงต้องหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป ทั้งนี้ ในกรณีที่คนหนึ่งคนไปสอบ 2 ที่หากดูตามหลักฐานเบื้องต้นต้องคิดว่า เจ้าตัวส่อว่ามีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วย เพราะคนหนึ่งคนจะไปสอบ 2 ที่พร้อมกันไม่ได้แน่นอน ซึ่งได้มอบหมายให้นายเสริมศักดิ์ไปตรวจสอบว่ามีกระบวนการที่ไม่ชอบมาพากลหรือไม่ 
นายพงศ์เทพกล่าวต่อว่า ถ้าดีเอสไอชี้มูลว่ากระบวนการจัดสอบมีการทุจริตจริง จะต้องยกเลิกการสอบทั้งหมดหรือไม่นั้น ตนเห็นว่าเรื่องนี้ต้องดูกระบวนการทั้งหมดก่อนว่าอะไรที่ไม่ถูกต้อง เช่น มีคนเอาข้อสอบออกไปเผยแพร่ก่อนสอบ ก็ต้องตรวจสอบว่าเป็นพื้นที่ใด หากเป็นจริงก็หมายความว่า พื้นนั้นๆ มีปัญหา ต้องแก้ไขเป็นจุดๆ เพราะพื้นที่ใดจัดสอบแบบตรงไปตรงมาก็ไม่ควรได้รับผลกระทบ ซึ่งต้องรอข้อมูลการสอบสวนจากดีเอสไอก่อน ทั้งนี้ ถ้ามีเหตุผลก็ยกเลิกได้ แต่ถ้าไม่มีเหตุผลและไปยกเลิกทั้งหมดคนที่สอบตามกระบวนการอย่างถูกต้องจะต้องโต้แย้งผ่านศาลปกครองแน่นอน 
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกระแสข่าวว่าขบวนการทุจริตนำเอาข้อสอบออกไปจัดติวก่อนสอบมีผู้บริหารระดับสูงใน ศธ.เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยนายพงศ์เทพกล่าวว่า ต้องรอข้อมูลจากดีเอสไอก่อน อย่างไรก็ตาม ตนจะรายงานเรื่องที่เกิดขึ้นต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ทราบด้วย 
นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวว่า กำลังรอหารือนายพงศ์เทพในการนัดประชุมคณะกรรมการ ก.ค.ศ.วาระพิเศษในเร็วๆ นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาการสอบบรรจุครูผู้ช่วยครั้งนี้ หลังพบว่ามีพนักงานราชการรายที่ 2 ล่าสุดมีชื่อโผล่เข้าสอบที่สพป.ขอนแก่น เขต 3 และ สพป.นครปฐมเขต 1 รวมทั้งจะนำข้อมูลจากการลงพื้นที่ของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีนายภานุวัฒน์มาพิจารณาด้วย ส่วนกรณีที่นายเสริมศักดิ์ระบุว่า หากดีเอสไอสรุปว่าการสอบบรรจุครูผู้ช่วยครั้งนี้มีการทุจริตจริง จะยกเลิกการสอบบรรจุครูผู้ช่วยครั้งนี้ทั้งหมดนั้น การยกเลิกในภาพรวมถือเป็นอำนาจของที่ประชุมก.ค.ศ.ดำเนินการได้ แต่ต้องพิจารณาข้อมูลหลักฐานต่างๆ อย่างรอบคอบ 
แหล่งข่าวระดับสูงใน ศธ.คนหนึ่งกล่าวว่าขณะนี้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงชุดใหญ่ของศธ.ได้ส่งรายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้นให้นายเสริมศักดิ์แล้ว ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับขบวนการทุจริต โดยในรายงานระบุถึงสาเหตุที่พนักงานราชการทั้ง 2 ราย ดังกล่าวสมัครสอบไว้2 เขตพื้นที่ฯแต่เข้าสอบได้เขตพื้นที่ฯเดียว ส่วนอีกเขตพื้นที่ฯจะมีตัวแทนเข้าสอบแทน คือที่สพป.ขอนแก่น เขต 3 นั้น จากการนำผังห้องสอบมาตรวจดูพบว่า จุดประสงค์ของการเข้าสอบแทนก็เพื่อบอกข้อสอบแก่ผู้ที่เข้าสอบที่สพป.ขอนแก่น เขต 3 อีก 2 ราย ซึ่งอยู่ในขบวนการติวข้อสอบ เพราะเมื่อตรวจสอบผลการสอบคัดเลือกแล้วพบว่า ผู้เข้าสอบที่นั่งอยู่ด้านหน้าคนที่เข้าสอบแทน สอบได้ในลำดับที่ 1 และผู้ที่นั่งด้านหลังคนที่เข้าสอบแทน สอบได้ในลำดับที่ 2 
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ นายธาริตกล่าวว่าภายหลังดีเอสไอได้รับคำร้องให้ตรวจสอบกรณีดังกล่าว ในวันเดียวกันนี้ได้ออกหนังสือประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อขอรายละเอียดจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดที่ทาง สพฐ.ตั้งขึ้น ขณะเดียวกันตนได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ โดยมีนายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ รอง ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 2 เป็นหัวหน้าชุดสืบสวน ทั้งนี้ สำหรับประเด็นที่ต้องตรวจสอบมี 3 ประเด็น คือ 1.มีการนำกระดาษคำตอบไปเปิดเผยก่อนสอบหรือไม่ 2.มีการสอบแทนกันหรือไม่ และ 3.มีการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทุจริตสอบหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลา 15 วัน น่าจะมีความชัดเจน จากนั้นดีเอสไอจะส่งผลสอบให้ ศธ.พิจารณาว่าจะยกเลิกการสอบครั้งนี้หรือไม่ 
นายธานินทร์กล่าวว่า ข้อมูลที่ดีเอสไอต้องการคือ พื้นที่ที่พบว่ามีการทุจริต เพราะดีเอสไอคงไม่สามารถไปตรวจสอบได้ทั่วประเทศและต้องนำข้อมูลที่คณะกรรมการตรวจสอบฯของ สพฐ.ไปตรวจสอบมาแล้ว มาตรวจสอบต่อในเชิงลึก เพื่อระบุให้ชัดเจนว่ามีการทุจริตในรูปแบบใด และเกี่ยวข้องกับบุคคลใดบ้าง ซึ่งขณะนี้ได้รับการประสานจากคณะกรรมการตรวจสอบฯของ สพฐ.แล้ว เบื้องต้นพบข้อมูลความผิดปกติหลายประเด็น เช่น การส่งข้อสอบทางไปรษณีย์ก่อนสอบ 2 วัน จากนั้นส่งกระดาษคำตอบกลับมายัง สพฐ.ทางไปรษณีย์ เช่นเดียวกับผลการสอบก็ส่งทางไปรษณีย์ไปให้เขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ ประกาศ 
ด้านนายสมพงษ์ โรจน์ภัทรพงศ์ ผู้อำนวยการ (ผอ.) สพป.ขอนแก่น เขต 3 กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากทาง สพฐ.ว่า มีกรณีพนักงานราชการอีกรายหนึ่งที่มีชื่อเข้าสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยใน 2 เขตพื้นที่ฯคือที่ สพป.ขอนแก่น เขต 3 และสพป.นครปฐม เขต 1 จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนแล้ว และจะเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในวันที่ 1 มีนาคมนี้ด้วย 
แหล่งข่าวใน สพป.นครปฐม เขต 1 กล่าวว่า สพป.นครปฐม เขต 1 มีหน้าที่รับสมัครและจัดสนามสอบตามคำสั่งของส่วนกลาง เมื่อจัดสอบเสร็จต้องส่งข้อสอบและกระดาษคำตอบทั้งหมดให้ส่วนกลางดำเนินการตรวจ และประกาศผลสอบเอง ทาง สพป.นครปฐม เขต 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่ทราบด้วยว่าผู้สมัครสอบรายใดได้คะแนนเท่าไหร่ และในกรณีที่มีชื่อบุคคลเดียวกันเข้าสอบ 2 สนามสอบในวันและเวลาเดียวกันนั้น ทาง สพป.นครปฐม เขต 1 ก็ไม่สามารถรู้ได้ โดยมีการตรวจสอบผู้สมัครเข้าสอบตามขั้นตอน และไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ 
สำหรับความคืบหน้าทางคดีกรณีมีบุคคลแอบอ้างเข้าสอบแทนนายภานุวัฒน์ที่สพป.ขอนแก่น เขต 3 ซึ่งเจ้าตัวยอมรับว่าไปสมัครสอบจริง แต่ไม่ได้ไปสอบ และยืนยันว่าไม่รู้เรื่องการเข้าสอบแทน ตนเองไปสอบเฉพาะที่ สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 และสอบติดในลำดับที่1 ในกลุ่มวิชาเอกภาษาไทยนั้น พ.ต.อ.ออมสินตรารุ่งเรือง ผกก.สภ.พล จ.ขอนแก่น เปิดเผยว่าหลังจากรับแจ้งความจากทาง สพป.ขอนแก่นเขต 3 ให้ดำเนินคดีเอาผิดกับผู้แอบอ้างเข้าสอบแทนนายภานุวัฒน์ ขณะนี้คดีมีความคืบหน้าไปส่วนหนึ่งแล้ว ทางตำรวจไม่ได้นิ่งนอนใจพยายามติดตามตัวบุคคลดังกล่าวอยู่ คาดว่าไม่นานคงได้ตัว ทั้งนี้ ได้ขอกำลังไปยังตำรวจฝ่ายสืบสวนสอบสวนภาค 4 เข้ามาช่วยติดตามอีกทางด้วย 
ทางด้านครราชสีมานายอดิศร เนาวนนท์ อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.)สพป.น เขต 7 เปิดเผยว่า เมื่อช่วงปลายปี 2554 สพป.นครราชสีมา เขต 7 ได้จัดสอบบรรจุตำแหน่งพนักงานธุรการปฏิบัติงานพบขบวนการทุจริต โดยผู้สมัครสอบ 8 คน ได้เปลี่ยนชื่อตัวเองให้มีพยัญชนะนำหน้าชื่อขึ้นต้นด้วย "ปรา" เพื่อให้นั่งสอบใกล้กับชื่อผู้เข้าสอบที่ทำหน้าที่เป็นมือปืนรับจ้างบอกคำตอบให้ในลักษณะใช้ท่าทาง โดยพบข้อสอบ 100 ข้อของทั้ง 8 คน เลือกข้อถูกผิดเหมือนกัน ที่สำคัญเป็นผู้ที่สอบได้ในลำดับที่ 1-8 ด้วย ทาง อ.ก.ค.ศ.จึงมีมติให้ทั้ง 8 คนสอบตก พร้อมกับแจ้งความเอาผิดกับขบวนการดังกล่าว ซึ่งมีที่มาเป็นกลุ่มติวเตอร์หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมากเพียงแต่ไม่มีพยานหลักฐาน 
นายอดิศรกล่าวต่อว่า สำหรับกรณีการสอบบรรจุครูผู้ช่วยครั้งนี้ ถ้าตรวจพบทุจริตในเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้ลงโทษทางวินัยและอาญากับผู้เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง และน่าเชื่อว่าขบวนการทุจริตไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ สพป.ขอนแก่นเขต 3 สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 และสพป.นครปฐม เขต 1 เท่านั้น เพราะช่วงก่อนการสอบที่ สพป.นครราชสีมา เขต 7 ได้ทราบเบาะแสมีการเรียกเก็บเงินจากผู้สมัครรายละ 4-7 แสนบาท จึงเป็นไปได้ที่จะมีการเผยแพร่คำตอบจากขบวนการทุจริตโดยออนไลน์ไปยังผู้เข้าสอบรายอื่นๆ ในสนามสอบเขตพื้นที่การศึกษาอื่นๆ ทั่วประเทศด้วย จึงขอเรียกร้องให้สพฐ.และเจ้าหน้าที่ตำรวจจัดการอย่างจริงจังเพื่อกำจัดขบวนการเหล่านี้ให้สิ้นซาก และหากพบมีการกระจายคำตอบข้อสอบจริง ต้องประกาศยกเลิกผลการสอบทั้งหมดด้วย
นอกจากนี้ ขอให้ สพฐ.คืนอำนาจการจัดสอบให้กับอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา เพราะใน พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 47 บัญญัติไว้ชัดว่า "ให้อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา" 



ที่มา --มติชน ฉบับวันที่ 2 มี.ค. 2556 (กรอบบ่าย)