วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

องค์ประกอบศิลป์ ( Composition )

องค์ประกอบศิลป์ ( Composition )

             การนำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์ ดัดแปลง สร้างสรรค์ จัดร่วมเข้าด้วยกัน ตามสัดส่วนรูปร่าง รูปทรงตรงตามคุณสมบัติของสิ่งนั้นๆ เพื่อให้เกิดผลงานที่มี ความเหมาะสมส่วนจะเกิดความงดงาม น่าสนใจหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำเสนอภาพรวมของงาน ว่ามีการสื่อถึงเรื่องราว วัตถุประสงค์ ในงานการออกแบบของเรา

โดยคำนึงถึงปัจจัยที่ใช้ในการออกแบบ ดังนี้

             1. สัดส่วนของภาพ (Proportion)
             2. ความสมดุลของภาพ (Balance)
             3. จังหวะลีลาของภาพ (Rhythm)
             4. การเน้นหรือจุดเด่นของภาพ (Emphasis)
             5. เอกภาพ (Unity)
             6. ความขัดแย้ง (Contrast)
             7. ความกลมกลืน (Harmony)
             สิ่งต่างๆ ที่เราควรนำมาใช้ประกอบเข้าด้วยกัน คือ จุด, เส้น, รูปร่าง– รูปทรง, สี, ลักษณะผิว ส่วนประกอบต่างๆ ของศิลปะนำมาจัดประสานสัมพันธ์กันให้เกิดคุณค่าทางความงามเราเรียกว่า องค์ประกอบศิลป์ (Composition)

รูปแบบการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ

             การจัดองค์ประกอบ เป็นหลักที่สำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใดๆ ก็ตาม ล้วนมีจุดเด่นที่เน้นเป็นหลักใหญ่ๆ อยู่ในตัวดัวยกัน 2 ประการ คือ
             ทางด้านรูปทรง เกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่างๆ ของศิลปะ ได้แก่ เส้น, สี, แสงและเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความงามทางศิลป์ (Art Composition)
             ทางด้านเรื่องราว หรือสาระของผลงานที่ศิลปินผู้สร้างสรรค์ต้องการที่จะแสดงออก ให้ผู้ชมได้สัมผัส รับรู้ โดยอาศัยรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบศิลป์นั่นเองหรืออาจกล่าวได้ว่า ศิลปินจะนำเสนอเนื้อหาเรื่องราว ผ่านรูปลักษณะที่เกิดจากรวมองค์ประกอบทางศิลปะเข้าด้วยกัน ถ้าองค์ประกอบที่จัดขึ้นไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนอ งานศิลปะนั้นๆ ก็จะขาดความงามของเรื่องราวที่จะเสนอถึงเรื่องที่ต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ได้ตรงกับหัวข้อเรื่องหรือชื่อภาพนั้นไป ดังนั้น การจัดองค์ประกอบศิลป์ จึงให้ความสำคัญในการคิด ประยุกต์ ดัดแปลง เพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะให้เกิดความสวยงาม ดึงดูดผู้ชม หรือหน้าสนใจในงานนั้นๆ เพราะจะทำให้

ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์

             องค์ประกอบศิลป์ เป็นเรื่องที่ผู้เรียนศิลปะทุกคนต้องเรียนรู้เป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะนำไปใช้ได้ให้เกิดประสิทธิภาพในการออกแบบโครงสร้างหรือรูปร่างของภาพ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบต่างๆ ได้ เช่น การจัดวางสิ่งของเพื่อตกแต่งบ้าน, การจัดสำนักงาน,การจัดโต๊ะอาหาร, จัดสวน, การออกแบบปกรายงาน, ตัวอักษร, และการจัดบอร์ดกิจกรรมต่างๆ สามารถนำไปใช้กับการออกแบบอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีซึ่งเหล่านี้ เราต้องอาศัยหลักองค์ประกอบศิลป์ทั้งสิ้น

ส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ที่สำคัญ

             ซึ่งจะเป็นส่วนที่เรานำมาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทุกรูปแบบได้ดี ให้น่าสนใจ และมีความสวยงาม ดังนี้

1. จุด ( Point, Dot )

             คือ ส่วนประกอบที่เล็กที่สุดเป็นส่วนเริ่มต้นไปสู่ส่วนอื่นๆ เช่น การนำจุดมาเรียงต่อกันตามตำแหน่งที่เหมาะสม และซ้ำๆ กัน จะทำให้เรามองเห็นเป็น เส้น รูปร่าง รูปทรง ลักษณะผิว และการออกแบบที่น่าตื่นเต้นได้ จากจุดหนึ่ง ถึงจุดหนึ่งมีเส้นที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่เห็นได้ด้วยจินตนาการ เราเรียกว่า เส้นโครงสร้าง นอกจากจุดที่เรานำมาจัดวางเพื่อการออกแบบ เราสามารถพบเห็นลักษณะการจัดวางจุดจากสิ่งเป็นธรรมชาติ ที่อยู่รอบๆ ตัวเราได้ เช่น ข้าวโพด รวงข้าว เมล็ดถั่ว ก้อนหิน เปลือกหอย ใบไม้ ลายของสัตว์นานาชนิด ได้แก่ เสือ ไก่ นก สุนัข งู ม้าลาย และแมว เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ธรรมชาติได้ออกแบบไว้อย่างสวยงาม มีระเบียบ มีการซ้ำกันอย่าง มีจังหวะและมีอิทธิพลต่อความคิดของมนุษย์เราเป็นอย่างมาก เช่น การออกแบบลูกคิด ลูกบิดประตู การร้อยลูกปัด สร้อยคอ และเครื่องประดับต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากจุดทั้งสิ้น

2. เส้น ( Line)

             เกิดจากจุดที่เรียงต่อกันหรือเกิดจากการลากเส้นไปยังทิศทางต่างๆ มีหลายลักษณะ เช่น ตั้ง นอน เฉียง โค้ง ฯลฯ เส้น เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด หรือถ้านำจุดมาวางเรียงต่อๆ กันก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้นเส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขตของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง สี น้ำหนัก รวมทั้งเป็นแกนหลักโครงสร้างของรูปร่างรูปทรงต่างๆ
             เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดงความรู้สึกและอารมณ์ด้วย การสร้างเป็นรูปทรงต่างๆ ขึ้น เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง (Straight Line) และ เส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่างๆ กันและให้ความหมาย ความรู้สึก ที่แตกต่างกันออกไปด้วย

ลักษณะของเส้น

             เส้นมีจุดเด่นที่นำมาใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ทำให้เกิดรูปร่างรูปทรงต่างๆ มากมาย เพื่อต้องการสื่อให้เกิดความรู้สึกทางด้านอารมณ์ จากการสร้างสรรค์ของงาน
             1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่นเป็น สัญลักษณ์ของความซื่อตรง
             2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
             3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง
             4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็นจังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
             5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพอ่อน โยน นุ่มนวล
             6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่ หมุนวน ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด
             7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทางที่ รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง
             8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด

ความสำคัญของเส้น

             - ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วนๆ
             - กำหนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา
             - กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึ้น
             - ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ ของแสดงและเงา หมายถึง การแรเงาด้วยเส้น
             - ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ

3. รูปร่างและรูปทรง ( Shape and Form)

             รูปร่าง คือ พื้นที่ๆ ล้อมรอบด้วยเส้นที่แสดงความกว้าง และความยาว รูปร่างจึงมีสองมิติรูปทรง คือ ภาพสามมิติที่ต่อเนื่องจากรูปร่าง โดยมีความหนา หรือความลึก ทำให้ภาพที่เห็นมี ความชัดเจน และสมบูรณ์

รูปร่างและรูปทรงแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ คือ

             รูปเรขาคณิต (Geometric Form) 
    มีรูปร่างรูปทรงที่แน่นอน มาตรฐาน สามารถวัดหรือคำนวณได มีกฎเกณฑ์ เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี ห้าเหลี่ยม หกเหลี่ยม พีระมิด เป็นต้น รูปเรขาคณิตเป็นโครงสร้างพื้นฐานของรูปทรงต่างๆ ดังนั้น การสร้างสรรค์รูปอื่นๆ ควรศึกษารูปเรขาคณิตให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อน
             รูปทรงธรรมชาติ (Nature Form) 
    เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ นำรูปทรงที่มีอยู่ตามธรรมชาติรอบตัวเรา เช่น ดอกไม้, ใบไม้, สัตว์ต่างๆ , สัตวน้ำ, แมลง, มนุษย์ เป็นต้น มาใช้เป็นแม่แบบในการออกแบบและสร้างสรรค์ โดยยังคงให้ความรู้สึกและรูปทรงที่เป็นธรรมชาติอยู่ส่วนผลงานบางชิ้น ที่ล้อเลียนธรรมชาติ โดยใช้รูปทรงเช่น ตุ๊กตาหมี, การ์ตูน, อวัยวะของร่างกายเรา เป็นต้น ยังคงเป็นรูปทรงตามธรรมชาติ ให้เห็นอยู่ บางครั้งได้มีการนำวัสดุที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ เช่น เปลือกหอย, กิ่งไม้, ขนนก ฯลฯ นำมาออกแบบ ดัดแปลง สร้างสรรค์ผลงาน รูปทรงก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก
             รูปทรงอิสระ (Free Form) 
    เป็นรูปแบบโครงสร้างที่ไม่แน่นอน ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว เลื่อนไหล ให้ความอิสระ และได้อารมณ์ ความเคลื่อนไหวเป็นอย่างดี รูปอิสระอาจเกิดจากรูปเรขาคณิตหรือรูปธรรมชาติ ที่ถูกกระทำจนมีรูปลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิมจนไม่เหลือสภาพเดิม

ขอบคุณเว็บไซต์  http://www.gotoknow.org/posts/417795

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567

ASUS เข้า bios ไม่ได้

 1. กดปุ่ม Windows - R

2. ป้อนคำสั่ง shutdown /s /t 0 <<< ตัวสุดท้ายคือเลข 0

3. เปิดเครื่องครั้งต่อไปก็เรียก BIOS ได้

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

แก้ปัญหาเข้า Remote Desktop ไม่ได้

ปัญหา Remote Desktop ไม่ได้ ทั้งใน Windows 7 หรือ Windows 10 ที่เรากำลังจะทำการ remote ไปยังเครื่องปลายทาง โดยเราสามารถแก้ไขได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนด้านล่าง ได้เลย
1.ให้ทำการกด Windows + R แล้วให้พิมพ์ gpedit.msc จากนั้นให้กด OK
2.ไปที่ Computer Configuration > Administrative Templates > System > Credentials delegation > เลือกที่ Encryption Oracle Remediation ปรับให้เป็น Enable > เลือก Vulnerable และ จากนั้นกด OK
จากนั้นให้เราทำการ Remote Desktop ใหม่อีกครั้ง ก็จะสามารถทำการ Remote ได้ปกติ

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

pfsense opt1 no internet

 

Add Rules on OPT1 this picture.

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563

dcp-t500w หมึกสีไม่ออก

 


วิธีล้างแก้หัวพิมพ์ตัน เครื่อง brother DCP-T500W


0. เปิดจุกสีที่ต้องการล้างหัวพิมพ์ กรณีของผม ผมเปิดจุกสี Magenta ตัวเดียวแล้วเอาฝางับไว้
1. กดปุ่ม Menu 1 ครั้ง
2. กดปุ่ม Mono 1 ครั้ง
3. กดปุ่ม Menu 1 ครั้ง เพื่อเข้าเมนู maintenance
4. กดปุ่มลูกศรขึ้นจนหน้าจอเลื่อนเปลี่ยนเป็นเลข 7
5. กดปุ่ม OK หน้าจอจะเปลี่ยนเป็น 07
6. กดปุ่มลูกศรขึ้นจนหน้าจอเลื่อนเปลี่ยนเป็นเลข 6
7. กดปุ่ม OK หน้าจอจะเปลี่ยนเป็น 076 Cleaning All
8. กดปุ่มลูกศรขึ้นให้หน้าจอเปลี่ยนเป็น รูปลูกศรชี้ขวา
9. กดปุ่ม OK 1 ครั้ง หน้าจอจะแสดงข้อความ Cleaning Black
10. กดปุ่มลูกศรขึ้นให้หน้าจอเปลี่ยนเป็น รูปลูกศรชี้ขวา
11. กดปุ่ม OK 1 ครั้ง หน้าจอจะแสดงข้อความ Cleaning Magenta
12. กดปุ่มลูกศรขึ้นให้หน้าจอเปลี่ยนเป็นเลข 3 Power_P
13. กดปุ่ม Mono 1 ครั้งเพื่อสั่งล้างหัวพิมพ์


วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

วุฒิทางลูกเสือ ที่ได้รับจากการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ


วุฒิทางลูกเสือ  ที่ได้รับจากการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ

           1. ขั้นความรู้ทั่วไป (General Information Course) ระยะเวลาอบรม 1 วัน  ได้รับวุฒิบัตร ไม่แยกประเภท ไม่มีตัวอักษรย่อ 
           2.  ขั้นความรู้เบื้องต้น  ระยะเวลาอบรม  3 วัน  2 คืน  ได้รับวุฒิบัตร  และห่วงกิลเวลล์ (Gillwell Woggle)  หากอบรมก่อนปี พ.ศ. 2522  ใช้ตัวอักษรย่อ  P.T.C.  ในปัจจุบัน  ใช้ตัวอักษรย่อ  B.T.C. (Basic Unit Leader Training Course) แยกเป็น  4 ประเภท  คือ 
  • ผู้กำกับลูกเสือสำรอง  C.B.T.C. 
  • ผู้กำกับลูกเสือสามัญ  S.B.T.C. 
  • ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  S.S.B.T.C. 
  • ผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ  R.B.T.C. 
           3.  ขั้นความรู้ชั้นสูง  ระยะเวลาอบรม  7วัน 6 คืน  หรือ  8 วัน 7 คืน  ได้รับวุฒิบัตร ใช้ตัวอักษรย่อ  A.T.C. (Advance Unit Leader Training Course) แยกเป็น  4 ประเภท (ยังไม่ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 2 ท่อน  และผ้าผูกคอกิลเวลล์) คือ 
  • ผู้กำกับลูกเสือสำรอง  C.A.T.C. 
  • ผู้กำกับลูกเสือสามัญ  S.A.T.C. 
  • ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  S.S.A.T.C. 
  • ผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ  R.A.T.C.                                                
          4.  ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 2 ท่อน  โดยปฏิบัติงานในกองลูกเสือตามประเภทที่ผ่านการฝึกอบรมขั้นความรู้ชั้นสูง  ไม่น้อยกว่า 4 เดือน  ไม่เกิน 2 ปี  และผ่านการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล  จากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก็จะได้รับวุฒิบัตรให้มีสิทธิ์ประดับเครื่องหมายวูดแบดจ์  2 ท่อน  มีสิทธิ์ใช้ผ้าผูกคอกิลเวลล์  ใช้ตัวอักษรย่อ  W.B.  แยกเป็น  4 ประเภท  คือ 
  • ผู้กำกับลูกเสือสำรอง  C.W.B.  
  • ผู้กำกับลูกเสือสามัญ S.W.B.   
  • ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ S.S.W.B.   
  • ผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ R.W.B. 
           5.  การฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  ขั้นผู้ช่วยผู้ให้การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ  ระยะเวลาอบรม 7 วัน  6 คืน  ได้รับวุฒิบัตร  ไม่แยกประเภท  ใช้ตัวอักษรย่อ  A.L.T.C. (Assistance Leader Trainers Course)  (ยังไม่ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 3 ท่อน)    
หมายเหตุ   A.L.T.C./A.L.T.( สำเร็จการอบรมหลักสูตรผู้ช่วยผู้ให้การฝึกอบรม - กรณีจะไปเป็นวิทยากร/ผู้อำนวยการฝึกขั้น B.T.C.)

         6.  ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 3 ท่อน  หลังจากฝึกอบรม ไม่น้อยกว่า 1 ปี  มีผลงานเป็นวิทยากรฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ  6 ครั้ง  อนุโลมให้ใช้ผลงานการฝึกอบรมลูกเสือได้  3 ครั้ง  นำเสนอผลการปฏิบัติงาน ได้รับวุฒิบัตรให้มีสิทธิ์ประดับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 3 ท่อน  ใช้ตัวอักษรย่อ  A.L.T.
         7.  การฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ขั้นหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ  อบรม 7 วัน  6 คืน  ได้รับวุฒิบัตร  ไม่แยกประเภท  ใช้ตัวอักษรย่อ  L.T.C. (Leader Trainers Course) (ยังไม่ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 4 ท่อน)
หมายเหตุ  L.T.C./L.T. (สำเร็จการอบรมหลักสูตรผู้ให้การฝึกอบรม - กรณีจะไปเป็นวิทยากร/ ผู้อำนวยการฝึกอบรมทุกหลักสูตร)     
         8.  ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 4 ท่อน  หลังจากฝึกอบรม ไม่น้อยกว่า 1 ปี  มีผลงานเป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบื้องต้น  2 ครั้ง  และเป็นวิทยากรฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้ชั้นสูง  4 ครั้ง  นำเสนอผลการปฏิบัติงาน ได้รับวุฒิบัตรให้มีสิทธิ์ประดับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 4 ท่อน  ใช้ตัวอักษรย่อ  L.T.
         9. สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นผู้นำสนใจและส่งเสริมกิจการลูกเสือ (หลักสูตรผู้นำ Adult Lesder Training Course) ได้รับวุฒิบัตร ผ่านการสอบสัมถาษณ์ ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ ๒ ท่อน ( W.B )
       วุฒิที่มีการอบรมมีเท่านี้ นอกจากนั้นก็เป็นวิชาพิเศษอื่นๆ เช่น ระเบียบแถว บุกเบิก แผนที่-เข็มทิศ การจัดการค่าย การบันเทิง ซึ่งจะมีเข็มแสดงวิทยฐานะตามประเภท