วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กติกาแบดมินตัน

กติกาแบดมินตัน

กติกาแบดมินตัน
                กติกาแบดมินตันของสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ปี  ค.ศ.  1998  ซึ่งแปลโดยนายสุนทร  สุภาพันธ์  ประธานสภากรรมการผู้ตัดสินสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  กติกาฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  1  สิงหาคม  2541  เป็นต้นไป  โดยมีรายละเอียดดังนี้
                คำนิยาม
                               ผู้เล่น                  บุคคลใดก็ตามที่เล่นแบดมินตัน
                               แมทซ์                ฐานแข่งขันกีฬาแบดมินตันระหว่างฝ่ายตรงข้ามฝ่ายละ  1  หรือ  2  คน
                                เดี่ยว                  การแข่งขันที่มีผู้เล่นหนึ่งคนของแต่ละฝ่ายตรงข้าม
                                คู่                       การแข่งขันที่มีผู้เล่นสองคนของแต่ละฝ่ายตรงข้าม
                                ฝ่ายส่งลูก          ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่งลูก
                                ฝ่ายรับลูก          ฝ่ายตรงข้ามกับฝ่ายส่งลูก
1.       สนามและอุปกรณ์สนาม
1.1         สนามจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากำกับด้วยเส้นกว้าง  40  มิลลิเมตร ตามภาพผัง  ก.
1.2         เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด  และควรทาสีขาวหรือสีเหลือง
1.3         เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้
1.4     เสาตาข่ายจะต้องสูง  1.55  เมตร  จากพื้นสนาม  และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึงตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  1.10  โดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้าไปในสนาม
1.5     เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ตามที่ได้แสดงไว้ในภาพสนามผัง  ก.  โดยไม่ต้องคำนึงว่า  จะเล่นเดี่ยวหรือเล่นคู่
1.6         ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม  และมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า  15  มิลลิเมตร  และไม่เกิน  20  มิลลิเมตร
1.7         ตาข่ายต้องมีความกว้าง  760  มิลลิเมตร   และความยาวอย่างน้อย  6.1  เมตร
1.8     สุดขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสองขนาดกว้าง  75  มิลลิเมตร  ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว
1.9         เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับหัวเสา
1.10     สุดขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นตรงกึ่งกลางสนาม  1.524  เมตร  และ  1.55  เมตรหรือเส้นเขตข้างของประเภทคู่
1.11     ต้องไม่มีช่องว่างสุดปลายตาข่ายกับเสา  ถ้าจำเป็น  ต้องผูกสุดปลายตาข่ายของส่วนกว้างทั้งหมดกับเสา
                                                                       ภาพผัง  ก.
 
2.       ลูกขนไก่
2.1     ลูกขนไก่อาจทำจากวัสดุธรรมชาติ  และ/หรือ  วัสดุสังเคราะห์  ไม่ว่าลูกนั้นจะทำจากวัสดุชนิดใดก็ตาม  ลักษณะวิถีวิ่งทั่วไป  จะต้องเหมือนกับลูกซึ่งทำจากขนบธรรมชาติโดยมีคอร์กเป็นฐานหุ้มด้วยหนังบาง
2.2         ลูกขนไก่ต้องมี  16  อันปักอยู่บนฐาน
2.3     ขนจะวัดจากปลายจนถึงปลายสุดของฐาน  และความยาวของขนในแต่ละลูกจะเท่ากันหมดระหว่าง  62  มม.  และ  70  มม.
2.4         ปลายขนแผ่เป็นรูปวงกลม  มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง  58  มม.  ถึง  68  มม.
2.5         ขนต้องมัดให้แน่นด้วยเส้นด้ายหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม
2.6         ฐานของลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง  25    มม.  ถึง  28  มม.  และส่วนล่างมนกลม 
2.7         ลูกขนไก่จะมีน้ำหนักตั้งแต่  4.74  ถึง  5.50  กรัม 
2.8         ลูกขนไก่ที่ไม่ใช้ขนธรรมชาติ
                                    2.8.1  ขอบประกบโคนหรือขนปลอม  ทำจากวัสดุสังเคราะห์แทนขนธรรมชาติ
                                    2.8.2  ฐานลูก  ดังที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  2.6
                                    2.8.3  ขนาดและน้ำหนักของลูกต้องไปตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  2.3,  2.4  และข้อ  2.7  อย่างไรก็ตามความแตกต่างของความถ่วงจำเพาะ  และคุณสมบัติของวัสดุสังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบกับขนธรรมชาติย่อมให้มีความแตกต่างได้ถึง  10%
2.9     เนื่องจากมิได้กำหนดความแตกต่างในเรื่องลักษณะทั่วไป  ความเร็วและวิถีวิ่งของลูกอาจมีการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นได้โดยการอนุมัติจากองค์กรแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง
                                    2.9.1  ในที่ซึ่งสภาพความกดความสูงหรือสภาพดินฟ้าอากาศ  เป็นเหตุให้ลูกขนไก่ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม  หรือ
                                    2.9.2  ในสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ  ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพื่อประโยชน์ของเกม
3.       การทดสอบความเร็วของลูก
3.1     การทดสอบ  ให้ยืนเหนือเส้นเขตหลังแล้วตีลูกใต้มืออย่างสุดแรง  โดยจุดสัมผัสลูกอยู่เหนือเส้นเขตหลังลูกจะพุ่งเป็นมุมสูง  และอยู่ในวงแนวขนานกับเส้นเขตข้าง
3.2     ลูกที่มีความเร็วถูกต้อง  จะตกห่างจากเส้นเขตหลังของอีกด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า  530  มม.  และไม่มากกว่า  990  มม.  (ภาพผัง  ข.)

 
4.       ไม้แร็กเก็ต
4.1         ส่วนต่าง ๆ ของไม้แร็กเก็ตได้อธิบายไว้ในกติกาข้อ  4.11  ถึง  4.17  และได้แสดงไว้ในภาพผัง  ค.
                                    4.1.1  ส่วนสำคัญของไม้แร็กเก็ตคือ  ด้าม, พื้นที่ขึงเอ็น, หัว, ก้าน, คอและเฟรม
                                    4.1.2  ด้ามจับ  เป็นส่วนของไม้แร็กเก็ตที่ผู้เล่นใช้จับ
                                    4.1.3  พื้นที่ขึงเอ็น  เป็นส่วนของไม้แร็กเก็ตที่ผู้เล่นใช้ตีลูก
                                    4.1.4  หัว  บริเวณที่ใช้ขึงเอ็น
                                    4.1.5  ก้าน  ต่อจากด้ามถึงหัว  (ขึ้นอยู่กับกติกาข้อ  4.1.6)
                                    4.1.6  คอ  (ถ้ามี)  ต่อก้านกับขอบหัวตอนล่าง
                                    4.1.7  เฟรม  เป็นชื่อเรียกรวมของ  หัว, คอ, ก้านและด้ามจับของไม้แร็กเก็ต
4.2         เฟรมของไม้แร็กเก็ตยาวทั้งหมดไม่เกิน  680  มม.  และกว้างทั้งหมดไม่เกิน  230  มม.
                                                                      ภาพผัง  ค.
 
4.3         พื้นที่ขึงเอ็น
                                    4.3.1  พื้นที่ขึงเอ็นต้องแบนราบ  การร้อยเอ็นเส้นขวางร้อยขัดกับเส้นยืนแบบการขึงเอ็นโดยทั่วไป  และโดยพื้นที่ตอนกลาง  ไม่ควรทึบน้อยกว่าตอนอื่น ๆ
                                    4.3.2  พื้นที่ขึงเอ็นต้องยาวทั้งหมดไม่เกิน  280  มม.  และกว้างทั้งหมดไม่เกิน  220  มม.
                                    4.3.3  อย่างไรก็ตาม  อาจขึงไปถึงคอเฟรมหากความกว้างที่เพิ่มของพื้นที่ขึงเอ็นนั้นไม่เกิน  35  มม.  และความยาวทั้งหมดของพื้นที่ขึงเอ็นต้องไม่เกิน  330  มม.
4.4         ไม้แร็กเก็ต
                                    4.4.1  ต้องปราศจากวัตถุอื่นติดอยู่  หรือยื่นออกมานอกเหนือจากส่วนที่เจาะจงใช้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะหรือเป็นพิเศษ  เพื่อจำกัดหรือป้องกันการชำรุดเสียหายหรือการสั่นสะเทือน  หรือการกระจายน้ำหนัก  หรือการพันด้ามให้กระชัยมือผู้เล่นและมีความเหมาะสมทั้งขนาด  และการติดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว  และ
                                    4.4.2  ต้องปราศจากสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้เล่นเปลี่ยนรูปทรงของไม้แร็กเก็ต
5.       การยอมรับอุปกรณ์
สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ  จะกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับปัญหาเกี่ยวกับไม้แร็กเก็ต  ลูกขนไก่  หรืออุปกรณ์ต้นแบบ  ซึ่งใช้ในการเล่นแบดมินตันให้เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ กฎเกณฑ์ดังกล่าวอาจเป็นการริเริ่มของสหพันธ์เอง  หรือจากการยื่นความจำนงของคณะบุคคลที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างแท้จริงกับผู้เล่น  ผู้ผลิต  หรือองค์กรแห่งชาติ  หรือสมาชิกขององค์การนั้น ๆ
6.       การเสี่ยง
6.1  ก่อนเริ่มเล่น  จะต้องทำการเสี่ยง  ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์เลือกตามกติกาไม่ว่าจะเป็นข้อ  6.1.1  หรือ  6.1.2
6.1.1  ส่งลูกหรือรับลูกก่อน
6.1.2  เริ่มเล่นจากสนามข้างใดข้างหนึ่ง
6.2  ฝ่ายที่แพ้การเสี่ยง  มีสิทธิ์ที่เหลือจากการเลือก
7.       ระบบการนับคะแนน
7.1  แมทซ์หนึ่ง  ต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน  3  เกม  เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
7.2  ในประเภทคู่และประเภทชายเดี่ยว  ฝ่ายที่ได้  15  คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น  ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  7.4 
7.3  ในประเภทหญิงเดี่ยว  ฝ่ายที่ได้  11  คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น  ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  7.4
7.4  ถ้าได้  14  คะแนนเท่ากัน  (10  คะแนนเท่ากันในประเภทหญิงเดี่ยว)  ฝ่ายที่ได้  14  (10)  คะแนนก่อนมีสิทธิ์เลือกในกติกาข้อ  7.4.1  หรือ  7.4.2
7.4.1  ต่อเกมนั้นถึง  15  (11)  คะแนน,  กล่าวคือ  ไม่เล่นต่อ  ในเกมนั้น  หรือ
7.4.2  เล่นต่อ  เกมนั้นถึง  17  (13)  คะแนน
7.5  ฝ่ายชนะ  เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมต่อไป
7.6  ฝ่ายส่งลูกก่อนเป็นฝ่ายได้คะแนน  (ดูกติกาข้อ  10.3  หรือ  11.4)
8.       การเปลี่ยนข้าง
8.1    ผู้เล่นจะเปลี่ยนข้าง
8.1.1          หลังจากจบเกมที่  1
8.1.2          ก่อนเริ่มเล่นเกมที่  3  (ถ้ามี)  และ
8.1.3          ในเกมที่  3  หรือในการแข่งขันเกมเดียว  เมื่อคะแนนนำถึง
-  6  คะแนน  สำหรับเกม  11  คะแนน
-  8  คะแนน  สำหรับเกม  15  คะแนน
8.2  ถ้ามีผู้เล่นลืมเปลี่ยนข้างตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ  8.1  ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้ตัวและลูกไม่อยู่ในการเล่น  และให้นับคะแนนต่อจากคะแนนที่ได้ในขณะนั้น
9.       การส่งลูก
9.1    ในการส่งลูกที่ถูกต้อง
9.1.1  ทั้งสองฝ่ายต้องไม่ประวิงเวลาให้เกิดความล่าช้าในการส่งลูกทันที่ที่ผู้ส่งลูกและรับลูกอยู่ในท่าพร้อมแล้ว
9.1.2  ผู้ส่งลูกและผู้รับลูก  ต้องยืนในสนามส่งลูกทแยงลูกมุมตรงข้ามโดยเท้าไม่เหยียบเส้นเขตของสนามส่งลูก
9.1.3  บางส่วนของเท้าทั้งสองของผู้ส่งลูกและผู้รับลูกต้องแตะพื้นสนามในท่านิ่งตั้งแต่เริ่มส่งลูก  (กติกาข้อ  9.4)  จนกว่าส่งลูกแล้ว  (กติกาข้อ  9.6)
9.1.4  จุดสัมผัสแรกของไม้แร็กเก็ตผู้ส่งต้องตีที่ฐานของลูก
9.1.5  ทุกส่วนของลูกจะอยู่ต่ำกว่าเอวของผู้ส่งลูกขณะที่ไม้แร็กเก็ตสัมผัสลูก
9.1.6  ก้านไม้แร็กเก็ตของผู้ส่งลูกในขณะตีลูก  ต้องชี้ลงต่ำจนเห็นได้ชัดว่า  ส่วนหัวทั้งหมดของไม้แร็กเก็ตอยู่ต่ำกว่าทุกส่วนของมือที่จับไม้แร็กเก็ตของผู้ส่งลูก  (ภาพผัง  ง.)
9.1.7  การเคลื่อนไม้แร็กเก็ตของผู้ส่งลูกไปข้างหน้า  ต้องต่อเนื่องจากการเริ่มส่งลูก  (กติกาข้อ  9.4)  จนกระทั่งได้ส่งลูกแล้ว  และ
9.1.8  วิถีลูกจะพุ่งขึ้นจากไม้แร็กเก็ตของผู้ส่งลูกข้ามตาข่ายและถ้าปราสจากการสกัดกั้นลูกจะตกลงพื้นสนามส่งลูกของผู้รับลูก  (กล่าวคือ  บนหรือภายในเส้นเขต)
9.2   ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้องตามกติกาข้อ  9.1.1  ถึง  9.1.8  ถือว่าฝ่ายทำผิด  เสีย  (กติกาข้อ  13)
9.3   ถือว่า  เสีย  ถ้าผู้ส่งลูกพยายามจะส่งถูก  โดยตีไม่ถูกลูก
9.4   เมื่อผู้เล่นอยู่ในท่าพร้อมแล้ว  การเคลื่อนไม้แร็กเก็ตไปข้างหน้าของผู้ส่งลูกถือว่า  เริ่มส่งลูก
9.5   ผู้ส่งลูกจะส่งลูกไม่ได้ถ้าผู้รับลูกยังไม่พร้อม  แต่ถือว่า  ผู้รับลูกพร้อมแล้วถ้าพยายามตีลูกที่ส่งมากลับไป
9.6   ถือว่าได้ส่งลูกแล้ว  (กติกาข้อ  9.4)  ถ้าไม้แร็กเก็ตของผู้ส่งสัมผัสลูกหรือพยายามส่งลูก  แต่ตีไม่ถูกลูก
9.7   ในประเภทคู่  คู่ขาจะยืน  ณ  ที่ใดก็ได้  โดยไม่บังผู้ส่งลูกและผู้รับลูก
 10.   ประเภทเดี่ยว
10.1  สนามส่งลูก
10.1.1  ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านขวา  เมื่อผู้ส่งลูกทำคะแนนไม่ได้  หรือคะแนนที่ได้เป็นเลขคู่ในเกมนั้น
10.1.2  ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านซ้าย  เมื่อผู้ส่งลูกได้คะแนนเป็นเลขคี่ในเกมนั้น
10.2  ผู้ส่งลูกและผู้รับลูกจะตีโต้ถูกจนกว่าจะเกิด  เฮีย  หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น
10.3  คะแนนและการส่งลูก
10.3.1  ถ้าผู้รับลูกทำ  เฮีย  หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้รับลูกผู้ส่งลูกได้  1  คะแนน  ผู้ส่งลูกยังได้ส่งลูกต่อไปในสนามส่งลูกอีกข้างหนึ่ง
10.3.2  ถ้าผู้ส่งลูกทำ  เฮีย  หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้ส่งลูกผู้ส่งลูกหมดสิทธิ์ส่งลูก และผู้รับลูกก็จะได้เป็น ผู้ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน
11.   ประเภทคู่
11.1  เมื่อเริ่มเล่นแต่ละครั้ง  ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่งลุกต้องเริ่มส่งลูกจากสนามส่งลูกด้านขวา
11.2  ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป  ถ้าลูกถูกตัวหรือคู่ขาของผู้รับลูกถือว่า  เฮีย  ผู้ส่งลูกได้  1  คะแนน
11.3  ลำดับการเล่นและตำแหน่งยืนในสนาม
11.3.1  หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว  ผู้เล่นของฝ่ายส่งลูกคนหนึ่งคนใดตีลูกกลับไป  และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายรับลูกโต้ตอบกลับมา  เป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าลูกไม่อยู่ในการเล่น
11.3.2  หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว  ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจะตีโต้ลูกจากที่ใดก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น
11.4  คะแนนและการส่งลูก
11.4.1  ถ้าฝ่ายรับลูกทำ  เสีย  หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น  เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายรับลูก  ฝ่ายส่งลูกได้  1  คะแนน  และผู้ส่งลูกยังคงได้ส่งลูกต่ออีก
11.4.2  ถ้าฝ่ายส่งลูกทำ  เสีย  หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น  เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายส่งลูก  ผู้ส่งลูกหมดสิทธิ์ส่งลูก  โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน
11.5  สนามส่งลูกและรับลูก
11.5.1  ผู้เล่นมีสิทธิ์ส่งลูกตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม  จะส่งลูกหรือรับลูกในสนามส่งลูกด้านขวาเมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน  หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่  และในสนามส่งด้านซ้ายมือเมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
11.5.2  ผู้เล่นที่เป็นผู้รับลูกตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม  จะรับลูกหรือส่งลูกในสนามส่งลูกด้านขวาเมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน  หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่  และในสนามส่งด้านซ้ายมือเมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
11.5.3  ให้คู่ขาของผู้เล่นปฏิบัติในทางกลับกัน
11.6  การส่งลูกทุกครั้ง  ต้องส่งจากสนามส่งลูกทแยงมุมตรงข้าม  ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  12  และ  14
11.7  ในการเริ่มต้นเกมใดก็ตาม  ผู้ มีสิทธิ์ส่งลูกคนแรกส่งลูกจากสนามด้านขวาไปยังผู้รับลูกคนแรกและจากนั้นไป ยังคู่ขาของผู้รับลูกตามลำดับไปจนกระทั่งเสียสิทธิ์และเปลี่ยนส่งไปให้ฝ่าย ตรงข้ามที่จะต้องเริ่มส่งจากสนามด้านขวา  (กติกาข้อ  11.5)  จากนั้นจะให้คู่ขาส่ง  จะเป็นเช่นนี้ตลอด
11.8  ห้ามผู้เล่นส่งลูกก่อนถึงเวลาตนเป็นผู้ส่ง  หรือรับลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้รับ  หรือรับลูกติดต่อกันสองครั้งในเกมเดียวกัน  ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  12 และ  14
11.9  ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายชนะ  จะเป็นผู้ส่งลูกก่อนในเกมต่อไปก็ได้และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายแพ้จะเป็นผู้รับลูกก่อนก็ได้
12.   ความผิดในสนามส่งลูก
12.1  ความผิดในสนามส่งลูกเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่น
12.1.1  ส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง
12.1.2  ส่งลูกจากสนามส่งลูกที่ผิด  หรือ
12.1.3  ยืนผิดสนามและได้เตรียมพร้อมที่จะรับลูกที่ส่งมา
12.2  ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกหลังจากได้ส่งลูกครั้งต่อไปแล้วจะไม่มีการแก้ไขความผิดนั้น
12.3  ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกก่อนส่งลูกครั้งต่อไป
12.3.1  หากทั้งสองฝ่ายทำความผิดด้วยกัน  ให้  เอาใหม่
12.3.2  หากฝ่ายหนึ่งทำความผิดและชนะในการตีโต้ให้  เอาใหม่
12.3.3  หากฝ่ายหนึ่งทำความผิดและแพ้ในการตีโต้  ไม่มีการแก้ไขความผิด
12.4  ถ้ามีการ  เอาใหม่  เพราะความผิดในสนามส่งลูก  ให้เล่นใหม่พร้อมกับแก้ไข
12.5  ถ้าไม่มีการแก้ไขความผิดในสนามส่งลูก  ให้เล่นต่อไปโดยไม่มีการเปลี่ยนสนามส่งลูกใหม่ของผู้เล่น  (ให้เปลี่ยนลำดับใหม่ของการส่งลูกในกรณีเดียวกัน)
13.   การทำ  เสีย
ถือว่า  เสีย
13.1  ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง  (กติกาข้อ  9.1)  หรือตามกติกาข้อ  9.3  หรือ  11.2
13.2  ถ้าในขณะเล่น  ลูกขนไก่
13.2.1  ตกลงบนพื้นสนามนอกเส้นเขตสนาม  (กล่าวคือ  ไม่อยู่บนหรือภายในเส้นเขตสนาม)
13.2.2  ลอดผ่านหรือลอดใต้ตาข่าย
13.2.3  ไม้ข้ามตาข่าย
13.2.4  ถูกเพดาน  หรือฝาผนัง
13.2.5  ถูกตัวผู้เล่น  หรือเครื่องแต่งกายผู้เล่น
13.2.6  ถูกวัสดุหรือตัวบุคคลภายนอกที่อยู่ใกล้เคียงล้อมรอบสนาม  (ในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวอาคาร  ผู้มีอำนาจเกี่ยวกับแบดมินตันท้องถิ่น  อาจวางกฎเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกถูกสิ่งกีดขวางได้  ทั้งนี้  ย่อมแล้วแต่สิทธิความเห็นชอบของภาคีสมาชิก)
13.3  ถ้าในระหว่างการเล่น  ผู้เล่นตีถูกลูกก่อนที่ลูกข้ามตาข่ายมาในเขตสนามของตัวเอง  (อย่างไรก็ดี  ผู้ตีอาจใช้ไม้แร็กเก็ตตามลูกข้ามตาข่ายในระหว่างตีลูก)
13.4  ถ้าลูกอยู่ในระหว่างการเล่น  ผู้เล่น
13.4.1  ถูกตาข่ายหรืออุปกรณ์ที่ขึง  ด้วยไม้แร็กเก็ต  ด้วยตัว  หรือด้วยเครื่องแต่งกาย
13.4.2  ล้ำบนตาข่ายเขาไปในเขตสนามของคู่แข่งขัน  ด้วยไม้แร็กเก็ตด้วยตัว  ยกเว้นตามที่อนุญาตไว้ในกติกาข้อ  13.3
13.4.3  ล้ำใต้ตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่แข่งขันด้วยไม้แร็กเก็ตหรือด้วยตัวจนเป็นการกีดขวางหรือทำลายสมาธิคู่แข่งขัน
13.4.4  กีดขวางคู่แข่งขัน  กล่าวคือ  กันไม่ให้คู่แข่งขันตีลูกที่ข้ามตาข่ายมาอย่างถูกต้องตามกติกา
13.5  ถ้าในระหว่างการเล่น  ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจงใจทำลายสมาธิคู่แข่งขันด้วยการกระทำต่าง ๆ เช่น  ร้องตะโกน  หรือแสดงท่าทาง
13.6  ถ้าระหว่างการเล่น  ลูกขนไก่
13.6.1  ติดอยู่ในไม้แร็กเก็ต  แล้วถูกเหวี่ยงออกไปในระหว่างตีลูก
13.6.2  ถูกตีสองครั้งติดต่อกันโดยผู้เล่นคนเดียวกัน
13.6.3  ถูกตีโดยผู้เล่นคนหนึ่ง  และคู่ขาของผู้เล่นคนนั้นติดต่อกันหรือ
13.6.4  ถูกไม้แร็กเก็ตของผู้เล่นคนหนึ่ง  แล้วลอยไปทางท้ายสนามด้านหลังของผู้เล่นคนนั้น
13.7  ถ้าผู้เล่นทำผิดอย่างโจ่งแจ้ง  ซ้ำแล้วซ้ำอีก  หรือผิดอยู่ตลอด  ตามกติกาข้อ  16.
13.8  ถ้าหลังจากส่งลูกแล้ว  ลูกไปติดแล้วค้างอยู่บนตาข่าย  หรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่าย
14.   การ  เอาใหม่
14.1  การ  เอาใหม่  จะขานโดยกรรมการผู้ตัดสิน  หรือโดยผู้เล่น  (ถ้าไม่มีกรรมการผู้ตัดสิน)  ขานให้หยุดเล่น
14.2  ให้  เอาใหม่  สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน  หรือโดยบังเอิญ
14.3  ให้  เอาใหม่  ถ้าลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่าย  หรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดข้างอยู่ในตาข่ายยกเว้นในการส่งลูก
14.4  ให้  เอาใหม่  ถ้าในระหว่างการส่งลูก  ผู้รับลูกและผู้ส่งลูก  เสีย  พร้อมกันทั้งสองฝ่ายในเวลาเดียวกัน
14.5  ให้  เอาใหม่  ถ้าผู้ส่งลูก  ส่งลูกโดยที่ผู้รับลูกยังไม่พร้อม
14.6  ให้  เอาใหม่  ถ้าในระหว่างการเล่น  ลูกขนไก่แตกแยกเป็นส่วน ๆ และฐานแยกออกจากส่วนที่เหลือของลูกโดยสิ้นเชิง
14.7  ให้  เอาใหม่  ถ้ากรรมการผู้กำกับเส้นมองไม่เห็น  และกรรมการผู้ตัดสินไม่สามารถตัดสินใจได้
14.8  การ  เอาใหม่  อาจมีขึ้นโดยสืบเนื่องจากความผิดในการส่งลูกถูกกติกาข้อ  12.3
14.8  เมื่อมีการ  เอาใหม่  การเล่นหลังจากการส่งลูกครั้งสุดท้ายถือเป็นโมฆะ  และผู้เล่นที่ส่งลูกจะได้ส่งลูกอีกครั้งหนึ่ง  ยกเว้นหากเป็นไปตามกติกาข้อ  12.
15.   ลูกไม่อยู่ในการเล่น
ลูกไม่อยู่ในการเล่น  เมื่อ
15.1  ลูกชนตาข่ายแล้วติดอยู่ที่ตาข่าย  หรือค้างอยู่บนขอบตาข่าย
15.2  ลูกชนตาข่ายหรือเสาตาข่ายแล้วตกลงบนพื้นสนามในด้านของผู้ตีลูก
15.3  ลูกถูกพื้นสนาม  หรือ
15.4  เกิดการ  เสีย  หรือการ  เอาใหม่
16.   การเล่นต่อเนื่อง  เสีย  หรือการ  เอาใหม่
16.1  การเล่นต้องต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มส่งลูกครั้งแรกจนสิ้นสุดการแข่งขัน  ยกเว้นตามที่ได้อนุญาตไว้ในกติกาข้อ  16.2  และ  16.3
16.2  พักระหว่างจบเกมที่  1  และเริ่มเกมที่  2  ได้ไม่เกิน  90 วินาที  และไม่เกิน  5  นาที  ระหว่างจบเกมที่  2  และเริ่มเกมที่  3  อนุญาตสำหรับทุกแมทช์ของการแข่งขันดังต่อไปนี้
16.2.1  ในการแข่งขันระหว่างชาติ
16.2.2  ในการแข่งขันที่ได้อนุมัติรับรองโดยสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ  และ
16.2.3  ในการแข่งขันอื่น ๆ (ถ้าหากภาคีสมาชิกได้ประกาศการตัดสินใจแจ้งก่อนการแข่งขันว่าจะไม่พักตามกติกา)  (ในการแข่งขันที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์กรรมการผู้ชี้ขาดอาจตัดสินใจก่อนเริ่มการแข่งขันว่า  การพักตามกติกาข้อ  16.2  อยู่ในอาณัติและเวลากำหนด)
16.3  พักการเล่น
16.3.1  เมื่อ มีความจำเป็นจากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่นกรรมการ ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่นชั่วคราวตามที่กรรมการผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าจำ เป็น
16.3.2  ภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ  กรรมการผู้ชี้ขาดอาจสั่งให้กรรมการผู้ตัดสินพักการแล่น
16.3.3  ถ้ามีการพักการเล่น  คะแนนที่ได้จะอยู่คงเดิม  และจะเริ่มใหม่จากคะแนนนั้น
16.4  ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น  ห้ามถ่วงเวลาการเล่นเพื่อให้ผู้เล่นฟื้นคืนกำลังหรือหายเหนื่อย
16.5  คำแนะนำและการออกนอกสนาม
16.5.1  ห้ามมิให้ผู้เล่นรับคำแนะนำระหว่างการแข่งขัน  ยกเว้นการพักตามกติกาข้อ  16.2  และ  16.3
16.5.2  ห้ามผู้เล่นเดินออกจากนอกสนามระหว่างการแข่งขันโดยมิได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสิน  ยกเว้นระหว่างพัก  5  นาที  ตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ  16.2 
16.6  กรรมการผู้ตัดสินจะวินิจฉัยความล่าช้าในการเล่นแต่เพียงผู้เดียว
16.7  ผู้เล่นต้องไม่
16.7.1  จงใจถ่วงเวลา  หรือพักการเล่น
16.7.2  จงใจแปลงหรือทำลายลูกเพื่อเปลี่ยนความเร็วและวิถี
16.7.3  แสดงกิริยาก้าวร้าว  หรือ
16.7.4  กระทำผิดนอกเหนือกติกา
16.8  กรรมการผู้ตัดสินจะต้องดำเนินการกับความผิดตามกติกาข้อ  16.4, 16.5 หรือ 16.7  โดย
17.1  กรรมการผู้ชี้ขาดเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการแข่งขันทั้งหมด
17.2  กรรมการผู้ตัดสิน  หากมีความแต่งตั้ง  มีหน้าที่ควบคุมการแข่งขันสนาม  และสิ่งแวดล้อมกรรมการผู้ตัดสินต้องรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาด
17.3  กรรมการผู้กำกับการส่งลูกเป็นผู้ขาน  เสีย  สำหรับการส่งลูกที่ผู้ส่งลูกเป็นผู้กระทำ  (กติกาข้อ  9)
17.4  กรรมการผู้กำกับเส้นเป็นผู้ขานลูก  ดี  หรือ  ออก  ในเส้นเขตที่ได้มอบหมาย
17.5  การตัดสินใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั้งหมดของกรรมการสนามที่รับผิดชอบถือว่าสิ้นสุด
17.6  กรรมการผู้ตัดสินจะต้อง
17.6.1  ควบคุมการแข่งขันให้ดำเนินไปภายใต้กฎกติกาอย่างเคร่งครัด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาน  เสีย  หรือ  เอาใหม่  เมื่อมีกรณีเกิดขึ้น
17.6.2  ตัดสินคำอุทธรณ์เกี่ยวกับการโต้แย้ง  ซึ่งมีขึ้นก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป
17.6.3  แน่ใจว่า  ผู้เล่นและผู้ชมได้ทราบถึงความคืบหน้าของการแข่งขัน
17.6.4  แต่งตั้งหรือถอยถอนกรรมการผู้กำกับเส้น  หรือกรรมการผู้กำกับการส่งลูก  หลังจากได้ปรึกษากับกรรมการผู้ชี้ขาดแล้ว
17.6.5  หากไม่มีการแต่งตั้งกรรมการสนามคนอื่น  จะต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นให้เรียบร้อย
17.6.6  หากกรรมการสนามที่ได้รับการแต่งตั้งมองไม่เห็น  ต้องดำเนินการในหน้าที่ของกรรมการนั้น  หรือให้  เอาใหม่
17.6.7  บันทึกและรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาดทุกเรื่องที่เกี่ยวกับกติกาข้อ  16  และ
17.6.8  เสนอคำอุทธรณ์ที่ไม่พึงพอใจในปัญหาเกี่ยวกับกติกาเท่านั้นต่อกรรมการผู้ชี้ขาด  (คำอุทธรณ์ดังกล่าวจะต้องเสนอก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป  หรือเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงก่อนที่ฝ่ายอุทธรณ์จะเดินออกจากสนาม)
อ้างอิงจาก : http://blog.eduzones.com/phobanthit/33849

2 ความคิดเห็น: