วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ด้วงกว่าง or แมงคาม


ลักษณะทางกายภาพ

แมลงกว่างหรือด้วงกว่างเป็น แมลงปีกแข็ง ตัวค่อนข้างใหญ่ ลักษณะคล้ายด้วงแรดมะพร้าว ลำตัวแข็งและนูน สีดำเป็นมัน รูปร่างรูปไข่ ขามีปล้องเล็กๆ 5 ปล้อง หนวดเป็นแบบแผ่นใบไม้ มี 3-4 ปล้อง ปล้องสุดท้ายมีลักษณะคล้ายใบไม้ 3-4 แผ่น รวม กันกลายเป็นลูกกลม จำนวนปล้องหนวดมีทั้งหมด 8 – 11 ปล้อง และตามผิวมีส่วนที่เป็นหนามใหญ่ ตัวผู้มีเขาใหญ่ยื่นตรงออกมาจากหัว ใช้สำหรับต่อสู้ศัตรู เมื่อพบศัตรู ซึ่งมักเป็นกว่างตัวผู้ด้วยกัน ก็จะเดินเข้าหากันใช้เขาดันกันไปมา ตัวไหนสู้ไม่ได้ก็ถอยไป ถือว่าเป็นฝ่ายแพ้ตัวอ่อน หรือตัวหนอน สีขาวตัวอ้วน ตัวงอเป็นรูปเหมือนตาขอ

แหล่งที่พบ

ด้วงกว่างอาศัยอยู่ในดิน กินมูลของซากพืชหรือซากสัตว์ ตัวหนอนด้วงอาศัยอยู่ในดิน ระยะแรกก็อยู่ตามเศษซากพืชทับถมในบริเวณที่ร่มที่มีความชื้นสูง ระยะถัดมาขุดดินฝังตัวอยู่ลึกประมาณ 7.5 – 15.0 เซนติเมตร ระยะหนอนด้วงใช้เวลาประมาณ 58 – 95 วัน มี 3 ระยะ คือ ระยะก่อนเข้าดักแด้ 3 – 6 วัน แล้วจึงลอกคราบเปลี่ยนเป็นดักแด้ ซึ่งในระยะนี้ใช้เวลา 11 – 14 วัน ต่อมาก็ออกเป็นตัวเต็มวัย ออกหากินในเวลาตั้งพลบค่ำเป็นต้นไป และพบมากในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันก็หลบซ่อนตัวอยู่ในดินมากกว่าที่อื่น ระยะตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียประมาณ 18 และ 28 วัน ตามลำดับ
ประโยชน์และความสำคัญ
ส่วนมากชาวบ้านนิยมนำด้วงกว่างมารับประทานโดยการจี่ ให้ด้วงกว่างมีความกรอบ แล้วนำมารับประทานกับข้าวเหนียว จ้ำน้ำพริก

วงจรชีวิตของกว่าง

กว่าง มีวงจรชีวิตประมาณ 1 ปี คือช่วงต้นฤดูฝน ในระยะที่เป็นตัวหนอนหรือ ตัวด้วงจะมีสีขาว ตัวโต มีความยาวประมาณ 5 - 6 เซนติเมตร และเส้นรอบวง ประมาณ 1 นิ้ว ในช่วงนี้จะอยู่ในดินชอบกินเศษใบไม้ผุ ตอไม้ หรือต้นไม้ที่ผุ เป็นการช่วยธรรมชาติใ นการย่อยสลายใบไม้ ต้นไม้ ให้กลายเป็นปุ๋ยแก่ดินได้เป็นอย่างดี

ต่อมากลายเป็นดักแด้ และตัวเต็มวัยเป็นวัยเจริญพันธุ์พร้อมสืบเผ่าพันธุ์ได้ ในช่วงที่เป็นตัวหนอนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 1 - 2 เดือน ก่อนที่จะถึงฤดูฝน เมื่อฝนตกลงมาทำให้ดินอ่อน ด้วงกว่างที่เจริญเติบโตเต็มที่ก็จะดันดินออกมาสู่โลกภายนอก เพื่อหาแหล่งอาหารใหม่ และเพื่อการผสมพันธุ์ กว่างตัวผู้ที่แข็งแรงเท่านั้นที่มีโอกาสรอดเพื่อการผสมพันธุ์ โดยกว่างจะต่อสู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย และฝ่ายที่ชนะก็จะได้รับรางวัลได้ผสมพันธุ์กับตัวเมีย เป็นการคัดเลือกสายพันธ์ที่ดีตามธรรมชาติ ใช้วงจรชีวิตช่วงนี้ประมาณ 4 เดือน พอเข้าในฤดูหนาว กว่างตัวเมียหลังจากผสมพันธุ์ ก็จะขุดดินแล้ววางไข่ ส่วนตัวเองก็จะตาย ไข่ก็ฟักเป็นตัวหนอน เป็นดักแด้อาศัยอยู่ใต้ผิวดิน จนถึงต้นฤดูฝนก็จะขุดดินขึ้นมาผสมพันธุ์ดำรงชีวิตสืบลูกหลานต่อไป

ข้อมูลการเลี้ยง
วัสดุอุปกรณ์การเลี้ยง 
1.กล่องพลาสติกหรือตู้ปลาเก่าๆสภาพพอใช้ที่มีฝาปิดสักหนึ่งใบ (ควรสูงอย่างน้อย1ฟุตและกว้างอย่างน้อย6นิ้วกำลังดี)
2.
ดินก้ามปู หรือจะใช้ไม้บดสูตรเฉพาะสำหรับเพาะด้วงกว่างซึ่งผลิตขึ้นจากวัตถุดิบจากธรรมชาติซึ่งตรงนี้ทางเว็ปของเรามีบริการท่านอยู่ 
3.
ท่อนไม้หรือเปลือกไม้ชิ้นเล็กๆสักอันไว้ให้ด้วงเกาะ(หากด้วงหงายตัวไม่ได้ก็จะดิ้นจนตาย)  
 
 

ขั้นตอนการเพาะ
1.
นำดินก้ามปูหรือ วัสดุรองพื้นมาผสมน้ำเล็กน้อย เอาให้ชื้นให้แฉะเพียงเล็กน้อย
2.
แบ่งตู้เพาะเลี้ยงเป็น2ชั้น โดยชั้นแรกให้อัดวัสดุปูพื้นจนแน่นให้หนาประมาณ8 - 10 เซนติเมตร และชั้นที่2ก็ปูวัสดุปูพื้นตามปกติโดยให้สูง3 - 4 นิ้ว 
3.
นำเปลือกหรือขอนไม้มาวางไว้ตรงส่วนกลางของตู้เพื่อให้ด้วงเกาะ
4 .
จากนั้นจึงปล่อยพ่อ - แม่พันธุ์ลงไป
5. 
จากนั้นคอยสังเกตดูทุกๆ17 - 25 วันรอดูว่ามีหนอนตัวเล็กๆอยู่ในตู้หรือไม่โดยปกติแล้วพวกหนอนจะอาศัยกินวัสดุปูพื้นหรือไม้บดอยู่บริเวณส่วนล่างสุดของตู้เพาะ    
 

การให้อาหาร 
     โดยปกติแล้วจะให้อ้อยแต่การปลอกอ้อยที่ดีนั้นผมเองผมแนะนำว่าให้ตัดแค่หัวกับปลายเท่านั้นเพราะถ้าปลอกหมดมดขึ้นแน่หรือไม่ก็เก็บไว้ได้ไม่นานเพราะโดยปกติแล้วสังเกตุไหมครับว่าแค่ปลอกทิ้งไว้5วัน จะมีสีส้มๆหรือราขึ้นแต่วิธีตัดหัวกับปลายจะช่วยประหยัดอาหารไปอีกนิดหน่อย แต่ก็ถือว่าเป็นการดีเพราะถึงจะยืดเวลาการใช้อ้อยจากเดิมไปได้ไม่นานก็จริง แต่!!! ก็ลดเงินค่าอาหารด้วงไปได้อีกเยอะพอสมควร           
 

เลี้ยงแบบเรียนรู้ทำได้อย่างไร 
การเลี้ยงด้วงที่ดีผู้เลี้ยงควรมีการจดบันทึกระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงของวงจรชีวิตด้วงตั้งแต่ 
ระยะตัวเต็มวัย > ไข่ตัวหนอน > ดักแด้ > ตัวเต็มวัยรุ่นต่อไป 

ข้อควรจำสำหรับการเลี้ยงด้วง
1.การได้หนอนของมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยเป็นตัวกำหนด เช่น สภาพอากาศ อุณหภูมิ วิธีการเลี้ยงดู
2.ด้วงที่เกิดจากครอกเดียวกันไม่ควรนำมาผสมซ้ำกันเกิน2รุ่น เพราะหากยิ่งใช้รุ่นเดียวกันผสมกันไปหลายรุ่นยีนส์ด้อยจะยิ่งเด่นชัดมากขึ้น เท่านั้น 



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น